คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

25.09.2019

การปฏิบัติตามวิธีการเตรียมนมและเทคนิคการจัดเก็บนมแม่อย่างปลอดภัยนั้น จะช่วยให้คุณแม่ให้นมบุตรและพี่เลี้ยงเด็กสามารถรักษาคุณภาพของนมแม่ที่ปั๊มออกมาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อยค่ะ

headphones

PLAYING: คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

อ่าน 3 นาที

คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารนะคะ เพราะน้ำนมที่ลูกน้อยได้รับ ล้วนมาจากสิ่งที่แม่บริโภคโดยตรง ดังนั้น ในระหว่างที่ให้นมลูก ร่างกายคุณแม่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าและพลังงานไม่น้อยไปกว่าขณะตั้งครรภ์เลยค่ะ โดยคุณแม่มือใหม่หลังคลอดควรรับประทานอาหาร ให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ในแต่ละมื้อในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเพื่อสร้างน้ำนมให้กับลูกน้อย 

ผัก 5 ชนิดและเมนูอาหารเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ให้นมลูก ดังนี้

  1. ขิง มีคุณสมบัติช่วยขับเหงื่อขับลม ไล่ความเย็น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยให้เจริญอาหาร ซึ่งในช่วงหลังคลอด คุณแม่จะยังมีน้ำคาวปลาอยู่ การกินขิงช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมนูอาหารแนะนำ ได้แก่ มันต้มขิง ปลาผัดขิง หรือ กระเพาะหมูผัดขิง เป็นต้น
  2. ใบกะเพราอุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เส้นใยอาหารสูง โดยความร้อนจากใบกะเพรา จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม และยังมีคุณสมบัติแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุ และเพิ่มน้ำนม เมนูอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยใบกะเพรา ได้แก่ ผัดกะเพราหมู/ ไก่/ ปลา ต้มจืดใบกะเพราใส่หมูสับ เป็นต้น
  3. ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ตัวอย่างเมนูเพิ่มน้ำนมหลังคลอดจากฟักทอง ได้แก่ แกงเลียง ฟักทองนึ่ง ฟักทองผัดไข่ แกงบวดฟักทอง เป็นต้น 
  4. กุยช่ายอุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี มีคุณสมบัติช่วยขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ สามารถทานได้ทั้งต้นและใบ ตัวอย่างเมนูคุณแม่ให้นมลูกด้วยกุยช่าย ได้แก่ ผัดกุยช่ายกับตับ ผัดไทย หรือขนมกุยช่าย
  5. ตำลึงมีโปรตีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินบีสาม วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก เส้นใยอาหารในปริมาณมาก คุณสมบัติช่วยบำรุงน้ำนม ทำให้มีน้ำนมมาก และยังช่วยบำรุงเลือด บำรุงกระดูก สายตา ผม และประสาท คุณแม่มือใหม่ อาจจะนำตำลึงมาทำแกงเลียง หรือต้มจืดใบตำลึงใส่เลือดหมู

คุณแม่ฉลาดรู้ 

คุณแม่มือใหม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูป อาทิ อาหารบรรจุสำเร็จรูป ขนมเค้ก คุ้กกี้ เพราะอาหารประเภทนี้มีสัดส่วนของไขมันทรานส์ (Trans-fatty acid) ในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งอาจมีผลทำให้เอนไซม์บางชนิดของร่างกายทำงานได้ลดลง รวมทั้งไปรบกวนการสร้างไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยด้วย

อ้างอิง

  1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข https://anamai.moph.go.th/th
  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) www.thaihealth.or.th
  3. เว็บไซต์หมอชาวบ้าน www.doctor.or.th

บทความแนะนำ

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส อาการแพ้แลคโตสทารก มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการภูมิแพ้ ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่ คุณแม่จะมีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

ทารกแพ้อาหาร ภูมิแพ้อาหารในเด็ก หนึ่งในอาการเด็กแพ้อาหารของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

อาการลูกแพ้นมวัว เมื่อลูกแพ้นมวัวและมีอาการแพ้แสดงออกมา คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กอาการแพ้ของลูกน้อย เพื่อดูว่าลูกแพ้อาหารทั่วไปหรือลูกแพ้นมวัวกันแน่ พร้อมวิธีป้องกัน