เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

บทความ
พ.ย. 20, 2024
8นาที

ทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อาจไม่ใช่วิธีหายใจตามธรรมชาติ แต่ก็อาจช่วยทำให้ทารกนั้นหายใจได้สะดวกขึ้น การหายใจทางปากเป็นครั้งคราว มักไม่ส่งผลอันตราย แต่การหายใจทางปากบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางการหายใจและปัญสุขภาพของลูกในอนาคต คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

สรุป

  • โดยปกติแล้วเด็กทารกจะหายใจผ่านทางจมูก ทารกที่หายใจทางปาก นอนอ้าปาก มักเกิดจากการหายใจทางจมูกไม่สะดวก การวิจัยระบุว่า การหายใจทางปากของทารกที่นอนหลับ อาจมีสาเหตุมาจากการอุดตันทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เป็นหวัด คัดจมูก ผนังกั้นจมูกคด ต่อมทอนซิลโต ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ภาวะอ้วน โรคหัวใจ
  • การนอนของลูกเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเอาใจใส่ เพราะจะส่งผลกระทบถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกได้ในอนาคต ทารกนอนอ้าปาก นอนกรนเป็นประจำ หรือนอนกรนเป็นบางช่วงของการนอนหลับ ร่วมกับการหายใจเสียงดัง หายใจสะดุด อาจเสี่ยงต่อ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของลูก
  • หากลูกนอนอ้าปาก หายใจทางปาก นอนกรน หายใจไม่สะดวกตอนนอน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็กอาการอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีและเหมาะสม เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพต่าง ๆ ของลูกที่จะเกิดในอนาคตได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • ทารกนอนอ้าปาก เกิดจากอะไร
  • ลูกนอนหายใจทางปาก จะมีอาการอย่างไร
  • ทารกนอนอ้าปาก มีเสียงกรน บอกอะไร
  • ลูกนอนหายใจทางปาก มีผลเสียยังไงบ้าง
  • อาการร่วมทารกนอนอ้าปาก ที่ควรไปพบแพทย์
  • วิธีป้องกันทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก

 

ทารกนอนอ้าปาก เกิดจากอะไร

โดยปกติแล้วเด็กทารกจะหายใจผ่านทางจมูก เว้นแต่ว่า โพรงจมูกของทารกจะมีการอุดตัน ซึ่งทำให้ทารกหายใจทางจมูกไม่สะดวก ทารกจะมีการพัฒนาปฏิกิริยาตอบสนองในการหายใจทางปาก เมื่อมีอายุ 3-4 เดือน การวิจัยระบุว่า การหายใจทางปากของทารกที่นอนหลับ อาจมีสาเหตุมาจากการอุดตันทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เป็นหวัด คัดจมูก ผนังกั้นจมูกคด ต่อมทอนซิลโต ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ภาวะอ้วน โรคหัวใจ และสาเหตุอื่น ๆ เช่น

1. เป็นหวัด คัดจมูก

ทารกนอนอ้าปากอาจเกิดจากการเป็นหวัด ทารกจะมีอาการคัดจมูก เพราะรูจมูกนั้นอุดตันไปด้วยน้ำมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก ไม่สามารถหายใจทางจมูกได้ ต้องหายใจทางปาก จึงทำให้นอนอ้าปาก

 

2. ผนังกั้นจมูกคด

ทารกนอนอ้าปาก อาจเป็นความผิดปกติของกระดูกอ่อนและกระดูกที่คั่นระหว่างรูจมูกของทารก ซึ่งเป็นปัญหาทางกายวิภาคที่พบบ่อย ทำให้นอนอ้าปาก ผนังกั้นจมูกอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บขณะที่ทำการคลอด ทำให้ทารกหายใจทางจมูกยาก จึงทำให้ทารกต้องหายใจทางปากแทน

 

3. เคยชินกับการหายใจทางปาก

ทารกนอนอ้าปาก อาจเป็นเพราะเคยมีปัญหาการเจ็บป่วยทางการหายใจทางจมูก หายใจทางจมูกไม่ได้ จึงหายใจทางปากแทนจนเริ่มคุ้นเคย และติดเป็นนิสัย

 

4. ต่อมทอลซินโต

ทารกนอนอ้าปาก อาจเป็นเพราะทารกมีต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิลบวม ซึ่งจะทำให้อุดทางเดินหายใจบางส่วนไว้ ทำให้ทารกหายใจไม่สะดวก จึงต้องอ้าปาก หายใจทางปากขณะที่นอนหลับ

 

5. ภาวะอ้วน

ลูกนอนอ้าปาก หายใจทางปาก อาจเป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะที่หลับ ซึ่งมักพบสาเหตุมาจากโรคอ้วน

 

6. ภูมิแพ้

ทารกนอนอ้าปาก อาจเป็นเพราะโรคภูมิแพ้ ทารกแพ้อาหาร ทำให้ทารกมีน้ำมูกซึ่งส่งผลอุดตันโพรงจมูกของทารกได้ จึงทำให้ทารกต้องนอนอ้าปาก เพราะหายใจลำบาก

 

7. ไซนัสอับเสบ

ไซนัสอักเสบจะทำให้มีอาการคัดจมูกเรื้อรังจนทำให้หายใจทางจมูกไม่สะดวก

 

8. โรคหัวใจโต

ทารกนอนอ้าปาก อาจเกิดจากปัญหาโรคหัวใจโต ซึ่งจะทำให้เลือดคั่งในปอด ทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิจากอากาศที่เปลี่ยนไม่สะดวก อาจมีอาการเหมือนหายใจไม่ค่อยออก

 

ลูกนอนหายใจทางปาก จะมีอาการอย่างไร

เมื่อทารกนอนอ้าปาก หายใจทางปาก จะส่งผลให้มีอาการปากแห้ง มีกลิ่นปาก มีน้ำลายเลอะบนหมอน ส่งผลต่อพัฒนาการทางใบหน้า และส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้

1. ปากแห้ง

ทารกนอนอ้าปาก จะทำให้ปาก และริมฝีปากแห้ง เมื่อทารกหายใจผ่านทางปากขณะนอนหลับ จะทำให้น้ำลายระเหยและแห้งอย่างรวดเร็ว ทำให้ปาก และริมฝีปากแห้ง

 

2. น้ำลายไหลบนหมอน

น้ำลายที่อยู่ในปากของลูกจะไหลออกมาเลอะหมอน จากการนอนอ้าปาก

 

3. ดันลิ้น

ทารกนอนอ้าปาก หายใจทางปากอาจมีแนวโน้มที่จะดันลิ้นไปที่ฟันหน้า ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า อาการลิ้นยื่น การนอนอ้าปาก หายใจทางปากซ้ำ ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อปากและลิ้นอ่อนแรงลง รวมถึงฟันเก

 

4. มีกลิ่นปาก

ทารกนอนอ้าปาก การหายใจทางปาก ส่งผลต่อการไหลของน้ำลาย ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อกลิ่นปาก

 

5. โครงสร้างของใบหน้าเปลี่ยน

ทารกนอนอ้าปาก หายใจทางปากอาจขัดขวางการพัฒนาของกล้ามเนื้อใบหน้า และขากรรไกร ทำให้โครงสร้างใบหน้าเปลี่ยนไป อาจทำให้ใบหน้ายาวหรือแคบกว่าปกติ

 

ทารกนอนอ้าปาก มีเสียงกรน บอกอะไร

ทารกนอนอ้าปากแล้วมีเสียงกรน บ่งบอกได้ว่ากำลังเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก การที่เด็กนอนกรนในบางช่วงของการนอน หรือ นอนกรนเป็นประจำ ประกอบด้วย หายใจเสียงดัง หายใจสะดุด หรือหยุดหายใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก คือ การหยุดหายใจขณะที่นอนหลับหรือภาวะหายใจลดลง ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายสูงขึ้น ระดับออกซิเจนลดลง ทำให้มีผลกระทบต่อการนอน ทำให้การนอนไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้ลูกมีปัญหาสุขภาพ ปัญหาด้านการเรียนรู้ อารมณ์ พฤติกรรม สมาธิ ฉะนั้นหากลูกนอนอ้าปากแล้วมีเสียงกรน นอนกรนเป็นประจำ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

ลูกนอนหายใจทางปาก มีผลเสียยังไงบ้าง

 

ลูกนอนหายใจทางปาก มีผลเสียยังไงบ้าง

เมื่อมีการอุดตันทางโพรงจมูกเกิดขึ้น อาจทำให้ทารกหายใจทางจมูกไม่สะดวก จึงต้องหายใจทางปากแทน การที่ทารกหายใจทางปากบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ทำให้เด็กพัฒนาการช้ากว่าปกติ และสมาธิสั้นไม่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอารมณ์ที่รุนแรง หัวใจทำงานผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ซึ่งการหายใจทางปาก ยังมีผลเสียต่อสุขภาพของลูก ได้แก่

1. พัฒนาการช้ากว่าปกติ

ลูกนอนหายใจทางปากขณะที่นอนหลับ อาจไม่ได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ อาจทำให้การนอนหลับพักผ่อนนั้นไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต พฤติกรรม สมาธิ และส่งผลต่อพัฒนาการโดยรวมของเด็กได้ในระยะยาว

 

2. สมาธิสั้น ไม่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

การหายใจทางปากมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้น งานวิจัยระบุว่า การหายใจทางปากอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการคล้ายอาการสมาธิสั้นในเด็ก

 

3. อารมณ์รุนแรง

เด็มมีอารมณ์ก้าวร้าวและมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไป

 

4. หัวใจทำงานผิดปกติ ความดันสูง

การหายใจทางปากทำให้ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดลดลง เมื่อเวลาผ่านไปอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่การทำงานของหัวใจ ไปจนถึงความดันโลหิตสูง

 

อาการร่วมทารกนอนอ้าปาก ที่ควรไปพบแพทย์

ทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนอ้าปาก ร่วมกับหายใจไม่สะดวก หายใจติดขัด ออกแรงหายใจจนหน้าอกยุบบุ๋มลงไป หรือหยุดหายใจขณะนอนหลับเป็นพัก ๆ กระสับกระส่าย ดิ้นไปมา ฝันร้าย ฉี่รดที่นอน ซุกซน หงุดหงิด มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็กอาการอย่างละเอียดและรับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งอาการที่ต้องต้องระมัดระวัง มีดังนี้

  • ขณะนอนหลับมีอาการกระสับกระส่าย ดิ้นไปมา หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ
  • ฝันร้าย ผวา นอนละเมอ
  • ฉี่รดที่นอนบ่อย ๆ
  • ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง มีพฤติกรรมที่ผิดปกติไป
  • เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้

 

วิธีป้องกันทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก

ลูกนอนหายใจทางปากบ่อย ๆ หายใจทางปากเป็นประจำ พ่อแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกในระยะยาว ควรรับมือด้วยการหมั่นทำความสะอาดบ้าน รักษาสภาพแวดล้อม ควบคุมน้ำหนักลูกในอยู่ในเกณฑ์ปกติ ป้องกันการขาดน้ำ เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด หรือปรึกษาแพทย์ หากพบว่าลูกนอนหายใจทางปาก ควรรับมือด้วยวิธีนี้

  1. ควบคุมน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์: ลดน้ำหนักในเด็กที่มีรูปร่างอ้วน
  2. หมั่นทำความสะอาดบ้าน: รักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด ปราศจากสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ ให้ลูกอยู่ห่างไกลจากฝุ่นละออง หรือควันบุหรี่
  3. ป้องกันการขาดน้ำ: ให้ทารกกินนมแม่อย่างเพียงพอ การดื่มนม ดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะป้องกันการขาดน้ำ ช่วยให้ขับเสมหะออกมาสะดวก
  4. เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด: ลูกนอนกรน นอนอ้าปาก หายใจทางปาก เป็นอาการที่ควรดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คุณพ่อคุณแม่ ควรให้ความสำคัญกับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ทางสุขภาพ
  5. ปรึกษาแพทย์หากอาการหนักขึ้น: ไม่ว่าลูกจะคัดจมูกหรือไม่ หากลูกยังหายใจทางปากขณะนอนหลับ ควรพาลูกเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด และรับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ทารกนอนอ้าปาก นอนกรน ลูกหายใจทางปาก ไม่สามารถหายใจทางจมูกได้สะดวก ต้องหายใจทางปากเป็นระยะเวลานาน หากไม่ได้รับการรักษาดูแล อาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกได้ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจแทรกซ้อนแก่ลูกในอนาคตได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. What to Know About Mouth Breathing In Babies and Children, Webmd
  2. Baby Sleeps With Mouth Open: Causes And When To Worry, Momjunction
  3. Should You Be Concerned If Your Baby Sleeps with Their Mouth Open?, Healthline
  4. Mouth Breathing, Clevelandclinic
  5. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก หมั่นสังเกต รักษาก่อนสาย, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  6. เมื่อลูกน้อยนอนกรน, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่
  7. ทำไมนอนอ้าปาก, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ

อ้างอิง ณ วันที่ 9 กันยายน 2567