แม่ควรรู้! พัฒนาการของลูกน้อยวัย 2 ขวบ วัยนี้ลูกน้อยควรทำอะไรได้บ้าง
สัญญาณเตือนแบบไหนที่แสดงว่ามีพัฒนาการช้า เมื่อลูกน้อยมีอายุเข้าถึงวัย 2 ปี นั่นคือช่วงเวลาที่เขาได้เปลี่ยนจากเด็กทารก เข้าสู่การเป็นเด็กวัยเตาะแตะ และเตรียมเข้าสู่วัยอนุบาล ซึ่งในช่วงวัยนี้ ลูกจะมีพัฒนาการที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เช่น จากที่พูดไม่เป็นภาษา ก็จะเริ่มสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่เป็นคำได้แล้ว และแน่นอนว่า ลูก ๆ มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องพัฒนาการของลูกวัย 2 ขวบกันค่ะ
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 2 ขวบ วัยนี้ลูกน้อยควรทำอะไรได้บ้าง
สำหรับพัฒนาการของลูกน้อยวัย 2 ขวบนั้น สามารถแบ่งได้เป็นสี่ประเภท ดังนี้
- พัฒนาการด้านภาษา ลูกวัย 2 ขวบนั้นจะเริ่มเข้าใจในการใช้ภาษามากขึ้น รู้จักการพูดเป็นคำ แทนการใช้ภาษาทารก เช่นลูกอาจพูดคำว่า “หิวข้าว” แทนการออกเสียงว่า “หม่ำ ๆ ” ในวัยนี้พวกเขาสามารถจดจำและเข้าใจคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้มากกว่า 50 คำ
- พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ในวัย 2 ขวบ กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ของลูก มีพัฒนาการและแข็งแรงมากขึ้น พวกเขาสามารถเดินได้คล่องแคล่วขึ้น เริ่มที่จะรู้จักการวิ่งเล่น หลบสิ่งกีดขวาง สามารถกระโดดได้ด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง เล่นโยนลูกบอล หรือเตะลูกบอลไปบนพื้นได
- พัฒนาการด้านการสื่อสารและเข้าสังคม นี่คือวัยที่เขาเริ่มรู้จักการเข้าสังคม เพราะลูกจะเริ่มสนใจในสิ่งที่คนอื่น ๆ ทำ ทั้งพ่อแม่ และเพื่อน ๆ หรือเด็กคนอื่น ๆ และที่สำคัญ เขาสนใจความเป็นตัวเอง เริ่มที่จะค้นหาตัวเอง มีการแสดงออกทางด้านอารมณ์มากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจอย่างใกล้ชิด
- พัฒนาการด้านความคิดและการเรียนรู้ ลูกน้อยวัยเตาะนั้น จะเริ่มมีการใช้ความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น พวกเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากขึ้น และเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตพัฒนาการของพวกเขาได้เช่น พวกเขาสนุกกับการเล่นของเล่นที่มีความซับซ้อนมากขึ้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ของพ่อแม่เช่น “ถอดเสื้อแล้วเอาไปแขวนตรงนั้น”

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ เพื่อเสริมพัฒนาการให้แก่ลูกวัย 2 ขวบ
เนื่องจากวัย 2 ขวบ คือช่วงเวลาสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ เราจึงอยากแนะนำสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเพื่อเสริมพัฒนาการให้ลูกดังต่อไปนี้
- ชวนลูกคุย การพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ นั้น จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ และได้เรียนรู้วิธีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ได้รู้จักการเข้าสังคม จากการที่คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่อาจเข้าใจผิดว่า การเปิดวีดีโอให้ลูกดู แล้วลูกสามารถพูดตามวีดีโอได้ จะช่วยให้เขาพูดได้ไว แต่นั่นคือเรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะพวกเขาอาจแค่เลียนแบบการพูดในวีดีโอแต่ไม่ได้เข้าใจหรือมีพัฒนาการในด้านภาษามากขึ้น
- ให้อิสระในการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจว่า ลูกในวัยเตาะแตะนั้น สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้มากขึ้นกว่าตอนที่เขาเป็นทารกเยอะมาก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้อิสระแก่ลูก ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวของเขาเองมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือในทุก ๆ เรื่อง คอยใส่ใจและสังเกตเขาอยู่เรื่อย ๆ ก็พอ
- สอนให้รู้จักระงับอารมณ์ เด็กในวัยนี้จะเริ่มรู้จักอารมณ์โกรธ โมโห อิจฉา ซึ่งอาจนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการสอนเขาให้เข้าใจ ให้รู้จักระงับอารมณ์ รู้จักความอดทน อดกลั้น สอนให้รู้จักใช้เหตุผล ซึ่งคุณแม่สามารถเริ่มสอนได้จากการให้พวกเขาทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น เก็บของเล่นให้เข้าที่หลังเล่นเสร็จ เป็นต้น
- ให้ลูกได้ขยับร่างกาย เพราะนี่คือช่วงเวลาที่ทักษะทางด้านกายภาพ การเคลื่อนไหว มีการพัฒนาอย่างจริงจัง คุณแม่ควรพาลูกออกไปเล่น เพื่อให้เขาได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ให้คล่องแคล่วขึ้น ให้ลูกได้วิ่ง กระโดด ปีนป่าย เตะหรือโยนลูกบอล โดยที่คุณพ่อคุณแม่ คอยเฝ้าดู ว่าปลอดภัยหรือไม่อยู่ห่าง ๆ ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

วิธีสังเกตว่าลูกมีพัฒนาการช้าหรือไม่
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตคือสัญญาณเตือนว่า ลูกน้อยวัยเตาะแตะนั้น มีพัฒนาการช้า หรือพัฒนาการที่ผิดปกติ สำหรับลูกน้อยวัย 2 ขวบนั้น สัญญาณเตือนที่ต้องคอยสังเกตได้แก่
- เดินไม่มั่นคง
- เดินพร้อมถือของไม่ได้
- ไม่สามารถพูดคำที่มีความหมาย
- ไม่ตอบสนอง ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ
- มีพฤติกรรมแปลก ๆ ที่เปลี่ยนแปลงโดยอธิบายไม่ได้
หากพบสัญญาณเตือนเหล่านี้ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อทำการตรวจประเมินพัฒนาการ ให้ความรู้ หรือฝึกสอนวิธีการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง
โภชนาการที่เหมาะสมของลูกน้อยวัย 2 ขวบ
พัฒนาการที่ดีนั้น ต้องมาควบคู่กับสุขภาพที่แข็งแรงของลูก ดังนั้นเรื่องโภชนาการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ สำหรับเด็กวัย 2 ขวบนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารหลัก 3 มื้อ โดยมีสารอาหารครบ 5 หมู่ และแนะนำให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลาย ไม่เลือกกิน ควรให้ลูกได้รับสารอาหารสำคัญอย่างเช่น โปรตีน, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก และสารอาหารสมองอย่าง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการสร้างไมอีลิน ที่ช่วยให้สมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสฟิงโกไมอีลินนั้น นอกจากจะพบได้ในนมแม่แล้ว ยังพบได้ใน ไข่, นม, ชีส และผลิตภัณฑ์นมอีกด้วย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อาหารตามวัย บำรุงร่างกายและสมองลูก
คำแรกทั้งที่ต้องมีสฟิงโกไมอีลิน
สารอาหารในนมมีประโยชน์อะไรบ้าง
อ้างอิง
บทความแนะนำ

ยิ่งเล่น ลูกยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฉลาด
การเล่นคืองานของเด็ก และการเล่น ไม่ใช่แค่การเล่น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ เด็กต้องการเล่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่กำหนดเวลา และเด็กมีความสุขเมื่อได้เล่น การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่สมองของเด็กในช่วงวัยนี้จะทำงานสูงสุดขณะเล่น ด้วยเป็นภาวะที่สมองพร้อมเรียนรู้ ไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว และมีแรงจูงใจ การเล่นช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมอง ประสบการณ์ขณะเล่นจะกระตุ้นเซลล์สมองและสารสื่อประสาทต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายเส้นใยสมอง และเพื่อให้การเรียนรู้นอกบ้านไม่สะดุด คุณแม่ควรเลือกนมยูเอชทีกล่องแรกสำหรับลูก ที่มีสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 โคลีน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

เริ่มนมยูเอชทีกล่องแรก คุณแม่ต้องเลือกอย่างไร
เด็กวัย 1 ปี สามารถกินอาหารได้ครบ 3 มื้อแบบผู้ใหญ่ แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดื่มนมวันละ 3 แก้ว เพื่อเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้โลกกว้างจากการได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ จากการลงมือทำ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้นอกบ้าน นมกล่องสำหรับเด็กจึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก คุณแม่ควรเลือกนมกล่องที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากนมแม่

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

กินอะไรให้ลูกฉลาด สารอาหารชนิดไหนช่วยพัฒนาสมองลูก
นอกจากวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้ว “ให้ลูกกินอะไร ลูกถึงจะสมองดี?” ก็เป็นอีกคำถามยอดฮิตที่คุณแม่หลายคนสงสัยกัน เพราะเรื่องโภชนาการหรืออาหารการกินของลูกนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดังนั้น ในวันนี้เราจึงอยากแนะนำและให้ข้อมูลแก่คุณแม่ เกี่ยวกับอาหาร โภชนาการที่จะช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาให้กับสมองของลูกน้อย

พัฒนาการลูกรักวัย 1 ขวบ ในขวบปีแรกลูกควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง?
ช่วงเวลา 3 ปีแรกของลูกน้อยนั้น เปรียบได้ดั่งรากฐานสำคัญของสุขภาพและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตลอดชีวิตของเขา เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขามีการเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงมากมายของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งในวันนี้เราอยากนำเสนอถึงข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรักในวัย 1 ขวบ ว่าในช่วงวัยนี้ เขาควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้ดียิ่งขึ้น