ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกปวดท้อง

ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกปวดท้อง

02.02.2024

อาการปวดท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่อาการปวดท้องในเด็กมีความน่าเป็นห่วงกว่าเนื่องจากลูกน้อย ยังไม่สามารถบอกถึงอาการปวดท้องหรือตำแหน่งของการปวดท้องได้อย่างชัดเจน พ่อแม่จึงต้องคอยสังเกตอาการลูกดูว่าเด็กมีอาการอื่นนอกจากอาการปวดท้องหรือไม่ เพราะอาการปวดท้องแต่ละแบบบ่งบอกถึงอาการของโรคที่แตกต่างกัน ถ้าลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ แบบนี้อันตรายหรือไม่ เรามาหาคำตอบกัน

headphones

PLAYING: ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกปวดท้อง

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อาการปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ ในเด็กเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุทั้งจากความเครียด อารมณ์ ความรู้สึกของเด็ก และการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา
  • เมื่อไหร่ที่ลูกปวดท้องตรงสะดือแล้วย้ายมาบริเวณด้านขวาล่างและปวดท้องมากขึ้น พร้อมกับมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน มีไข้ เบื่ออาหารหรือไม่กินนม อาจเป็นสัญญาณของโรคไส้ติ่งอักเสบให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอทันที
  • หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกน้อยปวดท้องจากอะไร ให้สังเกตสัญญาณอันตรายที่ควรรีบพาไปพบคุณหมอ เช่น ปวดท้องรุนแรง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้และอาเจียน ถ่ายเป็นเลือด อาเจียนเป็นสีเขียว ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เมื่อลูกน้อยปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ อาจเกิดขึ้นจากการทานอาหารของลูกน้อย เพราะบริเวณทางเดินอาหารของคนเรามีเส้นประสาทความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับสมองอยู่โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กที่จะมีความรู้สึกไวเป็นพิเศษ เมื่อลูกน้อยกินข้าวไม่ตรงเวลา หรือกินอาหารที่มีรสชาติจัดอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง รวมถึงความเครียดของเด็กที่อาจส่งผลให้ลูกน้อยรู้สึกปวดท้องบริเวณสะดือเป็น ๆ หาย ๆ นั่นเอง

 

ส่วนอีกสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการปวดท้องตรงบริเวณสะดืออาจเกิดจากโรคไส้ติ่งอักเสบ เพียงแต่อาการของโรคนี้จะไม่เป็น ๆ หาย ๆ แต่จะยิ่งปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กบางคนอาจรู้สึกปวดตั้งแต่รอบสะดือแล้วย้ายไปยังบริเวณท้องล่างขวา เมื่อใช้มือกดแล้วลูกน้อยจะยิ่งรู้สึกเจ็บจี๊ดเพิ่มมากขึ้น ร่วมถึงยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ทารกท้องเสีย อาเจียน เป็นต้น

 

ดังนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยมีอาการปวดท้อง ควรสังเกตอาการของลูกว่ามีอาการปวดท้องเฉียบพลันบริเวณด้านล่างขวาขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือไม่ เนื่องจากลูกน้อยไม่สามารถบอกถึงอาการเจ็บปวดได้ที่ชัดเจนได้ หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยมีอาการปวดท้องที่รุนแรงให้รีบมาพบแพทย์ทันที

 

เด็กที่เป็นไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการอย่างไร

อาการไส้ติ่งอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการปวดท้องมากขึ้นอย่าชะล่าใจ เพราะหากปล่อยให้ลูกน้อยปวดท้องนาน ๆ โดยเฉพาะบริเวณท้องขวาล่างอาจทำให้เกิดไส้ติ่งแตกจนทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วทั้งร่างกายได้อย่างรวดเร็วจนนำไปสู่การเสียชีวิตในเด็กได้ พ่อแม่จึงควรสังเกตสัญญาณของโรคไส้ติ่งอักเสบในเด็กให้ดี โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้

  • ปวดท้องฉับพลัน ปวดท้องจนตัวงอเดินไม่ไหว
  • ปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 6-24 ชั่วโมง
  • ปวดบริเวณรอบสะดือ แล้วอาจย้ายไปปวดบริเวณด้านขวาล่างของท้อง
  • มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ถ่ายเหลว บางรายท้องเสียติดต่อกัน 2-3 วัน
  • มีไข้
  • ลูกน้อยมักมีอาการเบื่ออาหาร หรือไม่กินนม
  • เมื่อกดบริเวณหน้าท้องแล้วลูกเกร็งต้าน และปวดทรมานแม้กดเพียงเล็กน้อย

 

ลูกปวดท้องแบบเฉียบพลัน มีอาการอย่างไร

เมื่อลูกมีอาการปวดท้องเฉียบพลันพร้อมกับมีอาการอื่นร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ เมื่อลูกน้อยมีอาการ

  • ลูกปวดท้องมาก ปวดจนตัวงอ
  • ปวดมากบริเวณด้านขวาล่างของท้อง
  • ปวดท้อง พร้อมมีผื่นขึ้นเป็นจ้ำ ๆ ตามร่างกาย
  • ถ่ายเหลว
  • อาเจียนเป็นน้ำดีสีเขียว
  • มีไข้ ร่วมกับอาเจียน
  • ถ่ายเป็นมูกเลือด

 

ปวดท้องแบบเฉียบพลัน เป็นโรคอะไรได้บ้าง

โรคที่เกิดจากการปวดท้องฉับพลันในเด็กมีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักมีอาการปวดท้องร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • ลูกปวดท้องเฉียบพลันจากการติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีลักษณะอาการ คือ ปวดท้อง ถ่ายเหลวพร้อมอาเจียน และมีไข้
  • ลูกปวดท้องเฉียบพลันจากโรคไส้ติ่งอักเสบ มีลักษณะอาการ คือ ปวดท้องบริเวณด้านล่างขวาขึ้นเรื่อย ๆ หรือปวดบริเวณรอบสะดือแล้วค่อยย้ายมาที่ด้านล่างขวาของท้อง มีไข้ และอาเจียน
  • ลูกปวดท้องเฉียบพลันจากโรคลำไส้กลืนกัน มีลักษณะอาการ คือ ลูกน้อยร้องไห้กวนพร้อมกับปวดท้อง อาเจียนเป็นสีเขียวมีน้ำดีปน และถ่ายเป็นมูกเลือด
  • ลูกปวดท้องเฉียบพลันจากโรคลำไส้อักเสบและอาหารเป็นพิษ มีลักษณะอาการ คือ ปวดท้องพร้อมถ่ายเหลว จะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้
  • ลูกปวดท้องเฉียบพลันจากโรคเส้นเลือดในลำไส้อักเสบ มีลักษณะอาการ คือ เด็กมีอาการปวดท้องที่รุนแรง ปวดจนตัวงอ ไม่มีไข้ แต่มีผื่นขึ้นเป็นจ้ำ ๆ ตามร่างกาย

 

ลูกปวดท้องแบบเรื้อรัง มีอาการอย่างไร

อาการปวดท้องเรื้อรังในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง หากพบว่าลูกมีอาการเหล่านี้ให้รีบพาไปหาหมอ คือ

  • ลูกปวดท้องมากติดต่อกัน 7-14 วัน หรือนานนับเดือนจนรบกวนการเรียนหรือทำกิจกรรม
  • ปวดท้องจนนอนไม่ได้ทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อย ๆ
  • ท้องอืดบวม
  • มีอาการเบื่ออาหาร ทานอาหารน้อย
  • น้ำหนักตัวลด
  • คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว
  • ท้องผูก ท้องเสียเป็น ๆ หาย ๆ
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือซีด
  • มีไข้ และอ่อนเพลีย

 

ปวดท้องแบบเรื้อรัง เป็นโรคอะไรได้บ้าง

อาการปวดท้องแบบเรื้อรังในเด็กมักเกิดจากการปวดท้องติดต่อกันนาน ๆ ร่วมกับอาการอื่น ๆ คือ

  • ลูกปวดท้องแบบเรื้อรังจากโรคกรดไหลย้อน มีลักษณะอาการ คือ ลูกน้อยมักมีอาการปวดท้อง พร้อมกับอาการเรอเปรี้ยว อาเจียน และแสบร้อนกลางอก
  • ลูกปวดท้องแบบเรื้อรังจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ มีลักษณะอาการ คือ เด็กมักปวดท้องพร้อมกับอาการแน่นหน้าอกบริเวณลิ้นปี่ และทานข้าวได้น้อยลงเป็นประจำ
  • ลูกปวดท้องแบบเรื้อรังจากโรคลำไส้อักเสบ มีลักษณะอาการ คือ เด็กมักมีอาการท้องเสียเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆ
  • ลูกปวดท้องแบบเรื้อรังจากโรคเกี่ยวกับน้ำดีหรือตับ มีลักษณะอาการ คือ ลูกปวดท้องนาน ๆ พร้อมกับอาการตัวเหลือง ตาเหลืองอย่างชัดเจน
  • ลูกปวดท้องแบบเรื้อรังจากโรคไม่มีปมประสาทลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง มีลักษณะอาการเด่น ๆ คือ ลูกน้อยมีอาการท้องผูกเรื้อรังนาน ๆ

 

ลูกปวดท้องแบบไหน ต้องรีบพาไปพบแพทย์

  • ปวดท้องมาก ปวดท้องบ่อย
  • ปวดท้องจนต้องตื่นมากลางดึก
  • เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อยลง
  • น้ำหนักตัวลด น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์
  • ท้องแข็ง
  • มีไข้ พร้อมอาเจียน
  • อาเจียนเป็นสีเขียว
  • มีการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูก ถ่ายเหลวหลายครั้ง หรือถ่ายแล้วมีเลือดปน
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง ซีด

 

ความเครียดของเด็ก ก็ส่งผลให้ปวดท้องได้เช่นกัน

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่าบางครั้งความเครียดอาจส่งผลให้ลูกน้อยปวดท้องได้ เนื่องจากทางเดินอาหารมีเส้นประสาทที่เชื่อมโยงไปยังสมองอยู่ เมื่อลูกน้อยมีความเครียด ความวิตกกังวล หรือมีเรื่องให้ไม่พอใจ เช่น การบังคับให้กินข้าว หรือการทำกิจกรรมบางอย่างก็อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกน้อยปวดท้องขึ้นมา ซึ่งอาการปวดท้องลักษณะนี้จะมีความแตกต่างกับการปวดท้องที่เกิดจากโรคอื่น เพราะไม่มีเวลาปวดที่แน่นอน และอาจมีการย้ายไปปวดตำแหน่งอื่น ๆ เรื่อย ๆ เมื่อเด็กเป็นแล้วยังสามารถเล่นได้ น้ำหนักไม่ลด ไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ท้องเสีย หรืออาเจียน เหมือนกับโรคที่เกิดทางร่างกาย

 

วิธีดูแลทารกปวดท้องเบื้องต้นที่พ่อแม่ช่วยทำได้

  1. คุณแม่ควรสังเกตอาการปวดท้องของลูกน้อย หากลูกน้อยมีอาการปวดท้องควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง
  2. พยายามปรับพฤติกรรมการกินให้ลูกน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดท้องขึ้นมาซ้ำและไม่ให้เกิดอาการปวดท้องที่รุนแรงขึ้น
  3. สังเกตว่าลูกมีอาการปวดอย่างไร เช่น ปวดรุนแรงต่อเนื่อง หรือปวดเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการอื่นร่วมหรือไม่ เช่น มีไข้ ถ่ายเหลว ซีด และลูกปวดท้องจากการประสบอุบัติเหตุหรือไม่
  4. หากพบว่าลูกน้อยมีอาการปวดมากโดยเฉพาะบริเวณท้องด้านขวาล่างให้รีบไปพบแพทย์ทันที และไม่ควรให้ลูกทานยาแก้ปวดใด ๆ

 

อาการปวดท้องในเด็กมีหลายสาเหตุทั้งจากปัญหาทางเดินอาหาร เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และความวิตกกังวลหรือความเครียดได้เช่นกัน ลักษณะของอาการปวดท้องก็มีหลายอาการหลายระดับตั้งแต่ปวดท้องฉับพลัน ปวดคงที่ ปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ ปวดเฉพาะที่ หรือปวดรุนแรงขึ้น

 

บ่อยครั้งที่ลูกมีอาการปวดท้องแต่ไม่สามารถบอกอาการที่แน่ชัดได้ คุณแม่อาจต้องใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมในลูกน้อย เพื่อดูว่าเจ้าตัวเล็กมีอาการเจ็บปวดอย่างไรบ้าง เช่น ร้องไห้งอแงไหม ปวดมากจนตัวงอหรือเปล่า ไม่อยากเล่น ไม่อยากอาหารหรือกินนมบ้างไหม การขับถ่ายเป็นอย่างไร เพราะหากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้พร้อมกับอาการอาเจียนเป็นสีเขียว สีถ่ายอุจจาระทารก เป็นสีดำหรือมีเลือดปน คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพราะอาจเป็นสัญญาณของการปวดท้องที่ร้ายแรงขึ้นได้ค่ะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกน้อยหรือเด็กปวดท้องบ่อย, โรงพยาบาลวิมุต
  2. ปวดท้องแบบนี้ สัญญาญของไส้ติ่งอักเสบชัวร์, โรงพยาบาลเปาโล
  3. เมื่อลูกไส้ติ่งอัดเสบ, โรงพยาบาลเปาโล
  4. เมื่อลูกปวดท้อง พ่อแม่อย่าชะล่าใจ! เพราะอาจร้ายแรงกว่าที่คิด, โรงพยาบาลพญาไท
  5. ภาวะปวดท้องเรื้อรัง, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  6. อาการปวดท้องในเด็กที่ควรพามาพบแพทย์ทันที, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  7. อาการปวดท้องในเด็ก ปวดแบบไหนบอกโรคอะไร, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก กับ 3 ข้อเท็จจริงของอาการภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ ป้องกัน ด้วย 2’FL ที่พบในนมแม่ วัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันลูกน้อย

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส อาการแพ้แลคโตสทารก มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการภูมิแพ้ ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่ คุณแม่จะมีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก