แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

คุณแม่ให้นมบุตร
บทความ
ส.ค. 21, 2024
5นาที

คุณแม่ผ่าคลอดหลายคนมีความกังวลเรื่องแผลการผ่าคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลผ่าคลอดนูนไม่สวย แผลผ่าคลอดปริ แต่มีสิ่งหนึ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจเป็นพิเศษคือ “การดูแลทำความสะอาดแผลผ่าคลอดให้สะอาดอยู่เสมอ” หากคุณแม่ดูแลแผลผ่าคลอดได้ไม่ดีหรือไม่ดีพอ อาจทำให้แผลผ่าคลอดเกิดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แผลหายช้าได้ หากคุณแม่พบว่าแผลผ่าคลอดอักเสบ หรือแผลผ่าคลอดปริให้เข้าพบแพทย์ทันที

 

สรุป

  • แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การดูแลรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอดที่ไม่ดีพอ การยกของที่หนักเกินไป โรคบางประเภทอย่างโรคเบาหวาน ความดัน เป็นต้น
  • เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน เป็นอาการที่เกิดขึ้นข้างในโดยที่คุณแม่ไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนกับแผลอักเสบข้างนอก แต่คุณแม่สามารถรับรู้ได้จากสัญญาณของแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เช่น ปวดท้องมาก ๆ แผลปูดนูนออกมา เป็นต้น
  • วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลผ่าคลอดอักเสบข้างในคุณแม่สามารถทำได้โดยการหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของแผลผ่าคลอดอยู่เสมอ พยายามเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย งดอาหารจำพวกหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุรี่ และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่แผลผ่าคลอดยังไม่หายสนิท

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เกิดจากอะไร

สาเหตุของแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน อาจมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

1. พฤติกรรมการดูแลแผลผ่าคลอดของคุณแม่
การดูแลรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอดที่ไม่ดีพอจนแผลผ่าคลอดเกิดการติดเชื้อแล้วเกิดการอักเสบขึ้นได้ การยกของหรือออกกำลังกายที่หนักหน่วงจนเกินไป การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดแรงกดทับหรือแรงดันที่บริเวณแผลผ่าคลอดจนอาจกระทบถึงแผลผ่าคลอดภายในมดลูก ทำให้แผลเกิดการอักเสบอยู่ข้างใน

 

2. ปัญหาสุขภาพของคุณแม่เองอาจทำให้เกิดแผลผ่าคลอดอักเสบได้
โรคบางประเภทอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลอักเสบข้างในให้กับคุณแม่โดยไม่รู้ตัว เช่น ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดัน โรคอ้วน ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ  เป็นต้น

 

แผลผ่าคลอดอักเสบ มีกี่แบบ

ลักษณะของแผลผ่าคลอดอักเสบ ที่คุณแม่หลังคลอดสามารถสังเกตได้ คือ บริเวณแผลผ่าคลอดมีอาการบวมแดง แผลเปิดออกหรือไหมเย็บปริ เจ็บปวดบริเวณแผล คุณแม่บางคนอาจมีเลือดออกบริเวณแผลผ่าคลอด หรือมีไข้ร่วมด้วย


โดยทั่วไปแล้วแผลผ่าคลอดอักเสบมีทั้งหมด 2 แบบ คือ

1. แผลผ่าคลอดอักเสบข้างนอก

  • เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ อาจมาจากการดูแลและทำความสะอาดแผลไม่สะอาด ทำให้แผลหลังผ่าตัดคลอดเกิดการติดเชื้อ ปัญหาสุขภาพบางอย่างของคุณแม่ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน และแรงกดทับที่บริเวณแผลผ่าคลอดบริเวณหน้าท้อง ทำให้แผลผ่าคลอดเกิดการปริ แยกหรือฉีกขาดได้ เช่น การอุ้มลูกน้อย ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือการยกของที่หนักเกินไป เป็นต้น

 

2. แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

  • เป็นอาการที่เกิดขึ้นข้างใน โดยที่คุณแม่ไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนกับแผลอักเสบข้างนอก โดยสัญญาณของอาการแผลอักเสบข้างใน เช่น ปวดท้องมาก ๆ แผลปูดนูนออกมา และมีไข้ร่วมด้วย เป็นต้น ซึ่งสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการดูแลตัวเองของคุณแม่หลังคลอดหรือปัญหาสุขภาพบางอย่าง

 

อาการของแม่ผ่าคลอด เมื่อแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

เมื่อคุณแม่เกิดอาการแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน ร่างกายจะส่งสัญญาณบางอย่างออกมาให้คุณแม่หลังผ่าคลอดรับรู้ ดังนี้

  • คุณแม่จะรู้สึกถึงอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บางครั้งอาจรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อมีการขับถ่ายทั้งปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • มีไข้ และอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะร่วมด้วย
  • คุณแม่มีน้ำคาวปลามากกว่าปกติ ทั้งยังส่งกลิ่นเหม็น และอาจมีเลือดออกปนมาด้วย
  • บริเวณแผลผ่าคลอดมีรอยนูนออกมา หรืออาจมีก้อนที่บริเวณท้องส่วนล่างของคุณแม่

 

ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ป้องกันแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

 

ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ป้องกันแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

คุณแม่หลังคลอดทุกคนต่างต้องการให้แผลผ่าคลอดหายเร็วที่สุด เพราะในระหว่างที่แผลยังไม่แห้งสนิทอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลปริ แผลอักเสบ อาการเจ็บปวดแผลบ่อย ๆ และยังทำให้คุณแม่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ค่อยสะดวกด้วย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่เกิดแผลอักเสบที่อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุแผลผ่าคลอดหายช้า คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

1. รักษาแผลให้สะอาด

คุณแม่ควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของแผลผ่าคลอดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าคลอดเกิดการอักเสบทั้งข้างในและด้านนอก และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

 

2. งดการมีเพศสัมพันธ์

ในช่วงที่แผลผ่าคลอดยังไม่หายสนิทดี คุณแม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน จนกว่าร่างกายจะฟื้นฟูกลับสู่ภาวะปกติ เพราะอาจทำให้มดลูกเกิดการกระทบกระเทือนหรือแรงกดที่แรงจนเกินไป จนอาจทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบข้างในได้

 

3. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือดอาจส่งผลต่อแผลผ่าคลอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แผลผ่าคลอดหายช้าลงได้

 

4. ควบคุมน้ำหนักตัว

คุณแม่หลังคลอดควรควบคุมน้ำหนักตัวให้สมดุล เพราะการที่คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อการเกิดแผลอักเสบข้างในขึ้นได้

 

5. ไม่สูบบุหรี่

ในช่วงที่ร่างกายของคุณแม่กำลังฟื้นฟู คุณแม่ควรงดการสูบบุหรี่ เพราะสารเคมีที่อยู่ในบุหรี่ส่งผลต่อการสมานตัวของแผลผ่าคลอดโดยตรง ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพลูกน้อยของคุณแม่ด้วย

 

6. หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด

หลังคลอดเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่ต้องการฟื้นฟูให้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว การทานอาหารหลังผ่าคลอดที่ดีและมีประโยชน์เพื่อช่วยบำรุงร่างกายของคุณแม่หลังคลอดเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความใส่ใจ และคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจทำให้เกิดการอักเสบของแผลผ่าคลอด เช่น อาหารหมักดอง อาหารกึ่งดิบกึ่งสุก เป็นต้น

 

7. ดื่มน้ำให้เยอะขึ้น

การดื่มน้ำจะช่วยให้คุณแม่สามารถฟื้นฟูร่างกายได้ดี ทั้งยังช่วยในเรื่องของความชุ่มชื้นและผิวพรรณด้วย ดังนั้น คุณแม่ที่ผ่าคลอดควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

 

วิธีดูแลแผลผ่าคลอดอักเสบข้างในไม่ให้อักเสบซ้ำ

สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดที่เคยมีประสบการณ์แผลผ่าคลอดอักเสบข้างในมาก่อน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลอักเสบข้างในซ้ำ

1. ทานอาหารที่ช่วยให้แผลผ่าคลอดหายเร็ว

คุณแม่ผ่าคลอดต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วนในการฟื้นฟูร่างกาย และช่วยให้แผลผ่าคลอดหายเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกโปรตีนเพราะโปรตีนมีส่วนช่วยซ่อมแซมร่างกาย ทำให้แผลผ่าคลอดหายเร็ว รวมถึงการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารหมักดอง อาหารประเภทแป้งหรือไขมัน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

2. ดูแลแผลผ่าคลอดให้ดี

หากคุณแม่ไม่ต้องการให้เกิดแผลอักเสบข้างในซ้ำ ควรดูแลแผลผ่าคลอดให้เนียนสวย พยายามทำความสะอาดแผลตามคำแนะนำของแพทย์ ตรวจสอบแผลผ่าคลอดดูว่าเปียกน้ำหรือมีน้ำซึมหรือไม่ ถ้าพบว่าแผลผ่าคลอดเปียกน้ำให้รีบซับเบา ๆ ให้แห้งโดยทันที เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและแผลผ่าคลอดอักเสบซ้ำได้ หากไม่มั่นใจ ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธีต่อไป

 

3. ไม่ควรยกของหนัก

คุณแม่หลังคลอดบางคนอาจเผลอยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อแรงกดทับที่หน้าท้อง ทำให้แผลผ่าคลอดเกิดการปริแตก หรืออักเสบขึ้นมาได้ ดังนั้น ก่อนที่คุณแม่จะทำกิจกรรมอะไรต้องคำนึงว่าจะส่งผลต่อแผลผ่าคลอดที่หน้าท้องหรือไม่ โดยพยายามหาผู้อื่นมาช่วยยกของ หรือแบ่งยกของเบา ๆ เพื่อไม่ให้แผลผ่าคลอดเกิดการอักเสบข้างในซ้ำ

 

4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มากเกินไป

แม้ว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายกระชับสัดส่วนได้ดี แต่สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด การออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจส่งผลต่อร่างกาย ทำให้แผลผ่าคลอดกระทบกระเทือน และเหงื่อที่ไหลออกมาจะทำให้เกิดการหมักหมมบริเวณแผลผ่าคลอด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการติดเชื้อและเกิดแผลผ่าคลอดอักเสบขึ้นอีกครั้งได้

 

5. งดสูบบุหรี่เด็ดขาด

การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งของตัวคุณแม่เองและลูกน้อย อีกอย่างสารเคมีที่อยู่ในบุหรี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการชะงักการซ่อมแซมเซลล์บริเวณแผลผ่าคลอด ทำให้แผลผ่าคลอดหายช้าและเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออักเสบเพิ่มขึ้นด้วย

 

ช่วงหลังคลอดคุณแม่อาจให้ความสนใจในการดูแลลูกน้อยแรกคลอด จนทำให้ไม่มีเวลาในการใส่ใจดูแลตัวเองมากนัก แต่ความเป็นจริงแล้วคุณแม่หลังผ่าคลอดไม่ควรละเลยในการดูแลตัวเอง โดยเฉพาะบริเวณแผลผ่าคลอดที่ทำให้คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน ควรดูแลรักษาแผลผ่าคลอดให้สะอาดอยู่เสมอ พยายามอย่าให้แผลเปียกหรือโดนน้ำ หรือทำกิจกรรมที่หนักจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลติดเชื้อจนส่งผลให้แผลผ่าคลอดอักเสบข้างในและข้างนอก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คุณแม่มีอาการปวดแผลผ่าคลอด ไม่สบาย และแผลหายช้าด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร, hellokhunmor
  2. แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน สาเหตุและการดูแล, hellokhunmor
  3. ข้อปฏิบัติหลังคลอด ที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  4. การดูแลแผลผ่าตัด, โรงพยาบาลพิษณุโลก

อ้างอิง ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่
บทความ
คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่

คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่

อาการคัดเต้านมหรืออาการนมคัด เกิดจากอะไร คุณแม่มือใหม่คัดเต้ากี่วันหาย ไปดูวิธีบรรเทาอาการคัดเต้านมของคุณแม่และสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เต้านมคัดกัน

6นาที อ่าน

View details ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่
บทความ
ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารกและตารางให้นมทารก ในแต่ละวันลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้งและปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีและครบถ้วน

2นาที อ่าน

View details วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
บทความ
วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่ายและท้องไม่อืดหลังกินนม

4นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก
บทความ
ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร ทารกมีผื่นสาก บอกอะไรได้บ้าง ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ ทารกผื่นสาก เป็นอันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่
บทความ
น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน อยากเก็บนมแม่ให้อยู่ได้นาน ๆ มีวิธีไหนบ้างที่ช่วยรักษาคุณภาพของน้ำนม ไปดูวิธีการเก็บนมแม่ที่ถูกต้องกัน

7นาที อ่าน

View details ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด
บทความ
ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด

ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด

6 ท่าให้นมลูกน้อยอย่างถูกวิธี ให้ลูกอิ่มสบาย พร้อมวิธีจับลูกเรอหลังกินนม ช่วยป้องกันอาการเด็กท้องอืด คุณแม่ทำตามง่าย ไปดูท่าให้นมลูกสำหรับแม่มือใหม่กัน

2นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก
บทความ
ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก

ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก

ผื่นทารกหรือผื่นแพ้ในเด็ก อาการลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว เกิดจากอะไร ทำไมถึงเกิดขึ้นกับเล็กเด็ก ไปดูสาเหตุที่ทำให้ลูกมีผื่นทารกและผื่นแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

8นาที อ่าน

View details ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้
บทความ
ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ และ 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ในเด็กที่เกิดขึ้นกับลูก ภูมิแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

13นาที อ่าน

View details วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ
บทความ
วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

คุณแม่น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ช่วงให้นม อาหารกระตุ้นน้ำนมจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้จริงไหม อาหารเพิ่มน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง

8นาที อ่าน

View details นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม
บทความ
นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

7นาที อ่าน

View details ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก
บทความ
ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก เกิดจากอะไร ผื่นทารก มีกี่แบบ รู้จักอาการผื่นขึ้นหน้าทารก ปัญหากวนใจคุณแม่มือใหม่ พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารกกัน ที่คุณแม่ควรรู้

9นาที อ่าน

View details เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม
บทความ
เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดทันทีหลังผ่าตัดคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรทำอย่างไร หากเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ และปวดแผลผ่าคลอด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

2นาที อ่าน

View details วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง
บทความ
วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงที่ถูกต้องสำหรับคุณแม่มือใหม่ ชงนมผงให้ลูกแบบไหนปลอยภัยและป้องกันทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ไปดู 4 วิธีชงนมผงให้ลูกน้อย ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

4นาที อ่าน

View details น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า
บทความ
น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ดีกับระบบขับถ่ายลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส ช่วยพัฒนาระบบสมอง

6นาที อ่าน

View details พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก
บทความ
พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

Prebiotic คืออะไร พรีไบโอติกสำหรับเด็ก จุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลในลำไส้ให้ลูกน้อย พรีไบโอติกเด็กมีอยู่ในอาหารหลายชนิด มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการลูกแพ้เหงื่อตัวเอง มักเกิดขึ้นหลังเด็กมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปรู้จักอาการลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลลูก

8นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี
บทความ
ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดน่ากลัวไหม คุณแม่ผ่าคลอดดีไหม มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้ก่อนการผ่าคลอดบ้าง พร้อมข้อดีข้อเสียและวิธีดูแลแผลแม่ผ่าคลอดให้หายไว

4นาที อ่าน

View details ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น
บทความ
ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ง่ายขึ้นและลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ ไปดูวิธีเอาลูกเข้าเต้าที่ถูกต้องกัน

2นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า
บทความ
ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม จริงไหมที่แม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวแล้วแผลจะอักเสบ ไปดูกันว่าผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม พร้อมวิธีช่วยให้แผลหายเร็ว

7นาที อ่าน