คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

16.02.2024

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ได้ 4 เดือน เด็กในครรภ์จะเริ่มมีขนาดตัวประมาณ 16 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 100 กรัม ในส่วนของคุณแม่นั้นก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1-2 กิโลกรัม ระบบย่อยอาหารมีการเปลี่ยนแปลงเช่น อาการท้องผูก ท้องอืดและท้องเฟ้อเป็นต้น คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีนเพราะช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน ร่างกายต้องการโปรตีนสูง และควรเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคุณแม่มากนัก และควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กในครรภ์

headphones

PLAYING: คุณแม่ท้อง 4 เดือน ลูกดิ้นหรือยัง อายุครรภ์ 4 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือนมีหลากหลายอาการ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นตะคริว ท้องผูก อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ และอื่น ๆ ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะต้องหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้น และรักษาสุขภาพให้ดีที่สุดเพื่อสุขภาพของคุณแม่เองและเด็กในครรภ์
  • เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 4 ทารกในครรภ์เริ่มมีขยับตัว และมีการเตะ ต่อย การพลิกตัวไปมาบ่อยครั้งจนคุณแม่รู้สึกได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการขยับตัว การดิ้นอย่างมากของทารกในครรภ์ไม่ได้เป็นความผิดปกติแต่อย่างใด โดยเด็กจะขยับตัวและดิ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุครรภ์ 8 เดือน หลังจากนั้นจะเริ่มคงที่ต่อไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน ทารกจะมีน้ำหนักตัวราว 100 กรัม ร่างกายเริ่มมีการเจริญเติบโตเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยมีลำตัวยาวประมาณ 16 เซนติเมตร

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มกี่กิโลกรัม เมื่อเทียบกับก่อนตั้งครรภ์

คุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือน หรือ ท้อง 17 สัปดาห์ จะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 4-5 กิโลกรัม เมื่อนับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน น้ำหนักควรเพิ่มกี่กิโลกรัม

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน จะมีอาการอย่างไร

  • มีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการนี้พบมากในคุณแม่อายุครรภ์ 4 เดือน เกิดจากระบบย่อยอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้องให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานจำพวกอาหารที่มีกากใยสูง เช่นผักและผลไม้ที่มีกากใยช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหารให้ดียิ่งขึ้น
  • เป็นตะคริว อาการเป็นตะคริวอาจเกิดจากร่างกายมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือภาวะร่างกายขาดน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม และควรดื่มน้ำในปริมาณที่แนะนำคือ 6-8 แก้วต่อวัน ก็สามารถช่วยลดอาการเป็นตะคริวลงได้
  • ท้องผูก คุณแม่ควรรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง และดื่นน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น สามารถลดอาการท้องผูกลงได้
  • อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หลอดเลือดเกิดการหย่อนตัวและไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญได้มากพอ ทำให้ความดันเลือดต่ำจนอาการอ่อนเพลียและความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ได้เช่นกัน
  • ผิวคล้ำขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บริเวณใบหน้า คอ ลำตัว รักแร้ อาการทั้งหมดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่คอยกระตุ้นให้สีผิวเข้มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการตากแดดกลางแจ้ง และการใช้ครีมบำรุงผิวเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื่นอยู่เสมอและปรับสภาพผิวให้กลับสู่สภาพเดิม
  • มีเส้นดำขึ้นเป็นทางยาวกลางท้อง อาการเส้นดำขึ้นเป็นทางยาวกลางท้องตั้งแต่สะดือไปจนถึงหัวหน่าว พบได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์แต่อย่างใด ส่วนสาเหตุเกิดมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาการเส้นดำขึ้นเป็นทางยาวกลางท้องจะหายไปตามเองหลังจากคุณแม่คลอดแล้ว ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องรักษาหรือดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด

 

ท้อง 4 เดือนลูกจะเริ่มดิ้นหรือยัง

คุณแม่อายุครรภ์ขึ้นเดือนที่ 4 จะรับรู้ได้ถึงการดิ้นของลูกในครรภ์ หากลูกในครรภ์ดิ้นมากและดิ้นแรงก็เป็นอาการปกติ ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด แต่หากลูกดิ้นแรงและหยุดไปเลย อาการนี้อาจเกิดความผิดปกติของลูกในครรภ์ คุณแม่ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที และควรมีการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่องเช่น การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ และการตรวจวัดความเร็วของเลือดในหลอดเลือดทารกในครรภ์ เป็นต้น

 

ท้อง 4 เดือน จะรู้เพศของลูกชัวร์หรือไม่

หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์ แล้วคุณแม่ส่วนใหญ่จะต้องอยากรู้ว่าได้ลูกชายหรือลูกสาวกันแน่ ซึ่งในช่วงระยะครรภ์ 4 เดือน คุณแม่สามารถตรวจเพศของลูกได้ด้วย 3 วิธี ดังนี้

  1. อัลตราซาวด์ แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดที่ว่าลูกน้อยในท้องต้องให้ความร่วมมือกับคุณหมอด้วยการอยู่ในท่าที่เหมาะสม ไม่หนีบขา ส่วนความแม่นยำนั้นต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของคุณหมอที่ตรวจด้วย
  2. เจาะเลือดตรวจโครโมโซมหรือที่เรียกกันว่า "NIPT" (Non-Invasive Prenatal Testing) จริง ๆ แล้วเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความผิดปกติของลูกในครรภ์โดยการเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ผลการตรวจทำให้สามารถทราบเพศของลูกได้ โดยใช้เวลารอผลตรวจประมาณ 1 สัปดาห์ มีความปลอดภัยและความแม่นยำสูงถึง 99 เปอร์เซ็นต์ แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย
  3. การเจาะน้ำคร่ำ วิธีนี้หากไม่มีความเสี่ยงหรือความผิดปกติของลูกในครรภ์ คุณหมอจะไม่แนะนำให้ทำเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรได้ โดยคุณหมอจะใช้เข็มเล็กและยาวแทงลงไปทางหน้าท้องเข้าไปยังถุงน้ำคร่ำและดูดน้ำคร่ำออกมาตรวจ โดยทั่วไปจะเน้นในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเป็นหลักแต่ก็สามารถระบุเพศได้เช่นกัน ผลที่ได้มีความแม่นยำสูงไม่ต่างจากวิธีตรวจ NIPT แต่ราคาจะย่อมเยากว่า

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ควรดูแลตัวเองให้ครบทุกข้อ

  • เน้นรับประทานผักผลไม้ ที่มีกากใยสูง เนื่องจากคนท้องจะมีอาการท้องผูกได้ง่าย กากใยจากผักผลไม้จะช่วยให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น อีกทั้งยังได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่ส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่ด้วย เช่น ผักใบเขียว ส้ม กล้วย แอปเปิล เป็นต้น
  • เน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปกติ หากคุณแม่ได้รับไม่เพียงพอจะเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ผักใบเขียว เป็นต้น
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน หรือ โยคะ การออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยให้หัวใจ ปอด และร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ช่วยเรื่องการนอนหลับ ช่วงอายุครรภ์ 4 เดือนแนะนำการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือเล่นโยคะ เพื่อช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้พร้อมรองรับน้ำหนักตัวที่จะเพิ่มขึ้น
  • ไม่ควรเครียด เพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่ โดยจะมีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดต่ำลง และความเครียดจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ หากอายุครรภ์น้อยมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแท้งได้ หรือมีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด
  • พบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง โดยปกติอายุครรภ์ 4 เดือนหมอจะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ เพื่อติดตามอาการของคุณแม่ ในกรณีที่มีความเสี่ยง สามารถทำอัลตราซาวด์หรือตรวจโครโมโซม เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลูกได้

 

คุณแม่ท้อง 4 เดือน ควรดูแลตัวเองอย่างไร

 

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์เดือนที่ 4 คุณแม่จะรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวของคุณแม่เองและลูกในครรภ์ ซึ่งอาจจะมีรู้สึกผิดแปลกไปจากเดิมบ้าง คุณแม่ค่อย ๆ ปรับตัวให้เคยชินกับความเปลี่ยนแปลงนี้ และควรหมั่นดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี เพื่อสุขภาพของคุณแม่และการเจริญเติบโต พัฒนาการที่ดีของลูกในครรภ์ต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  2. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน), โรงพยาบาลเปาโล
  3. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
  4. ตะคริวระหว่างตั้งครรภ์ สามารถป้องกันดูแลได้, โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
  5. อาการหน้ามืด อ่อนเพลียในคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์
  6. 6 ปัญหาผิวช่วงตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องรับมือ, โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
  7. อยากรู้เพศลูกตั้งแต่แรกเพื่อเตรียมความพร้อม, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
  8. โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  9. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  10. ความเครียดของคุณแม่ตั้งครรภ์..สามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกได้นะ!, โรงพยาบาลพญาไท
  11. ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร ตอบข้อสงสัยคุณแม่มือใหม่, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ให้เหมาะสม คุณแม่ควรกินอะไรให้สุขภาพดีทั้งแม่และลูก

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ให้เหมาะสม คุณแม่ควรกินอะไรให้สุขภาพดีทั้งแม่และลูก

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์ให้เหมาะสมมีอะไรบ้าง คุณแม่ควรบำรุงครรภ์ให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารเพิ่มน้ำหนักลูกที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูกและครรภ์ของคุณแม่โดยตรง

คนท้องกินเผ็ดได้ไหม คุณแม่ชอบกินเผ็ดอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินเผ็ดได้ไหม คุณแม่ชอบกินเผ็ดอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินเผ็ดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์ชอบกินของเผ็ดจะอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ระดับความเผ็ดแค่ไหนที่คุณแม่สามารถทานได้และไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์

คนท้องกินเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ไหม คุณแม่แพ้ท้องจนไม่มีแรง รับมือแบบไหนดี

คนท้องกินเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ไหม คุณแม่แพ้ท้องจนไม่มีแรง รับมือแบบไหนดี

คนท้องกินเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ไหม คำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ์อยากรู้ เมื่อมีอาการแพ้ท้องจนเหนื่อยอ่อน หมดแรง แต่ก็กังวลว่าการกินเครื่องดื่มเกลือแร่จะส่งผลกระทบกับลูกน้อยในครรภ์

ที่ตรวจไข่ตก ใช้ตรวจการตกไข่ ได้จริงไหม แม่นยำแค่ไหน พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตก ใช้ตรวจการตกไข่ ได้จริงไหม แม่นยำแค่ไหน พร้อมวิธีใช้งาน

ที่ตรวจไข่ตก แม่นยำแค่ไหน ทำไมถึงสำคัญสำหรับคนอยากมีลูก ที่ตรวจไข่ตกหรือชุดตรวจไข่ตก มีกี่แบบ ใช้งานยังไง ไปรู้จักที่ตรวจไข่ตก พร้อมวิธีการใช้งานที่ตรวจไข่ตกกัน

มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า

มีประจำเดือนแต่ท้อง เป็นไปได้ไหม ใช่เลือดล้างหน้าเด็กหรือเปล่า

เมนส์มาน้อยท้องไหม ประจำเดือนมาวันเดียวแล้วหายไป แบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าแบบนี้คือตั้งครรภ์หรือแค่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไปหาคำตอบกัน

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม ส่งผลดีและผลเสียกับการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม ส่งผลดีและผลเสียกับการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง สามารถกินวิตามินซีได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็น สัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำเดิน ลักษณะมูกใสก่อนคลอด ยังบอกถึงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ได้หลายอย่างอีกด้วย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก