อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

คุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์อยู่ในช่วงอายุครรภ์ 9 เดือน ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีการคลอดในสัปดาห์นี้ถือเป็นครรภ์ครบกำหนด และถ้าแข็งแรงไม่ได้มีปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนขึ้นมา แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่คลอดธรรมชาติได้ สำหรับอายุครรภ์ในเดือนที่ 9 นี้ แพทย์จะนัดตรวจสุขภาพครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์ทุกสัปดาห์

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ท้อง 38 สัปดาห์ ครรภ์ของคุณแม่จะลดต่ำลง เนื่องจากทารกมีการขยับร่างกายให้ส่วนของศีรษะมาอยู่ตรงช่องเชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจได้สะดวกมากขึ้น
  • ท้อง 38 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหว ดิ้นช้าลง เนื่องจากขนาดตัวที่ใหญ่มากขึ้นกว่าขนาดพื้นที่ในมดลูก
  • ท้อง 38 สัปดาห์ ขนาดตัวของทารกในครรภ์จะเทียบได้กับลูกขนุน ลำตัวทารกจะมีความยาว 45-50 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 2,800-3,000 กรัม
  • ท้อง 38 สัปดาห์ หากบีบที่หัวนมจะเริ่มมีน้ำขุ่น ๆ ไหลออกมา

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ท้อง 38 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกหายใจสะดวกขึ้น เพราะอะไร

  • การตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่ 9 นี้ แพทย์จะมีการนัดคุณแม่ เพื่อมาตรวจสุขภาพครรภ์ทุกสัปดาห์ ซึ่งจะมีการชั่งน้ำหนักตัว วัดระดับความดันโลหิต และคุณแม่จะได้รับการตรวจภายในเพื่อวัดดูขนาดมดลูก แพทย์จะดูว่ามดลูกมีความสูงอยู่ที่เท่าไหร่แล้ว รวมทั้งเช็กปากมดลูกคุณแม่เพื่อให้ทราบว่าเริ่มเปิดแล้วหรือยังไม่เปิด
  • คุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์ จะเริ่มรู้ว่าหายใจได้สะดวก หายใจได้อิ่มขึ้น นั่นก็เพราะว่าท้องของคุณแม่ได้ลดระดับต่ำลง ซึ่งเกิดจากทารกในครรภ์ขยับร่างกาย เพื่อให้ศีรษะได้เข้ามาอยู่ในช่องเชิงกรานของคุณแม่ ซึ่งนอกจากคุณแม่จะหายใจได้สะดวกมากขึ้นแล้ว ก็ยังรู้สึกสบายท้องไม่แน่นอึดอัดหลังจากรับประทานอาหารอิ่ม

 

ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ ลูกจะเคลื่อนไหวช้าลง เพราะอะไร

ทารกในครรภ์ดิ้นก็คือการเคลื่อนไหวขยับร่างกายอยู่ในมดลูกของคุณแม่ ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกในท้องเคลื่อนไหวช้าลง นั่นเป็นเพราะว่าทารกมีขนาดลำตัวที่ใหญ่มากขึ้นกว่าขนาดพื้นที่ในมดลูก จึงทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนกับช่วงอายุครรภ์ไตรมาสแรก

 

อาการคนท้อง 38 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

1. เจ็บท้องหลอกบ่อย ๆ

มดลูกจะมีการบีบตัวหดรัดเกร็ง เจ็บท้องหลอกหรือเจ็บท้องเตือน จะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์เดือนที่ 8 จนมาถึงอายุครรภ์เดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถสังเกตอาการเจ็บท้องหลอกได้ดังนี้

  • เป็นก้อนแข็ง ๆ ที่หน้าท้องขึ้นมา
  • มดลูกบีบตัวไม่สม่ำเสมอ
  • ปวดท้องตรงช่วงบริเวณท้องน้อย
  • ช่องคลอดไม่มีน้ำเดินออกมา
  • ปากมดลูกยังไม่เปิด
  • อาการปวดท้องจะดีขึ้นและหายไป เมื่อได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกาย

 

2. ปวดหลัง

คุณแม่จะมีอาการปวดหลัง เนื่องจากศีรษะของทารกในครรภ์ไปสัมผัสถูกตรงบริเวณกระดูกสันหลัง จึงทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังมาก

 

3. เมือกที่ช่องคลอด

Mucus plug เป็นเมือกที่ทำหน้าที่ในการปกป้องไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาที่ปากมดลูก ในคุณแม่ที่อายุครรภ์ใกล้คลอด ปากมดลูกจะค่อย ๆ เปิดและมีความบาง ทำให้มีเมือกไหลออกมา บางครั้งจะมีเลือดปนมากับเมือกด้วย

 

4. ท้องลด

อาการท้องลด สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด หรือก่อนคลอดเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ได้เช่นกัน อาการท้องลดที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ มาจากทารกในครรภ์ได้มีการขยับร่างกายให้ศีรษะมาอยู่ตรงบริเวณอุ้งเชิงกรานคุณแม่

 

5. ความเครียด

ฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ ส่งผลให้คุณแม่เกิดความเครียด และอารมณ์มีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษ

 

6. น้ำนมไหล

อายุครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไป จะมีเลือดที่มาเลี้ยงตรงบริเวณต่อมน้ำนมในเต้านมเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวหนังมีการขยาย เซลล์กล้ามเนื้อที่อยู่รอบเต้านม ท่อน้ำนมจะเริ่มหนาตัวขึ้นมาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับให้นมลูกหลังคลอด ทำให้น้ำนมเหลืองคอลอสตรัมมีปริมาณเยอะขึ้น หากบีบที่หัวนมจะมีน้ำลักษณะขุ่นไหลออกมา และเมื่อครบกำหนดคลอดขนาดหน้าอกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นมา 1-2 เท่า

 

ท้อง 38 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

 

ท้อง 38 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

ในช่วงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 คุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์ขนาดท้องจะมีการลดต่ำลง จนทำให้คุณแม่หายใจได้สะดวกมากขึ้น (4) และศีรษะของทารกในครรภ์จะอยู่ใกล้ปากมดลูก คุณแม่มีความพร้อมที่จะคลอดได้ตลอดเวลา

 

ท้อง 38 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 38 สัปดาห์มีขนาดตัวใหญ่มาก เปรียบเสมือนลูกขนุน หรือประมาณ 45-50 เซนติเมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ 2,800-3,000 กรัม
ในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะมีร่างกายที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ผิวหนังของทารกจะเรียบขึ้น ไขสีขาวที่หุ้มผิวหนังเอาไว้จะมีปริมาณลดน้อยลง

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 38 สัปดาห์

  • ปอดทำงานได้สมบูรณ์
  • ทารกมีความสูงประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ทารกมีกล้ามเนื้อเพื่อใช้ในการดูดและกลืนน้ำคร่ำ

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์

  1. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คุณแม่ควรดื่มน้ำทุกวันให้ได้ 8-12 แก้ว การดื่มน้ำจะช่วยให้ระบบเลือดในร่างกายไหลเวียนได้ดี ช่วยให้สารอาหารจากคุณแม่ถูกส่งต่อไปให้ยังทารกได้ดีมากขึ้น
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้ง่าย นอนหลับได้สบายขึ้น การทำสมาธิก่อนนอนจะช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายขึ้นคุณแม่จะนอนหลับได้ง่าย และการนอนในท่าตะแคง ให้คุณแม่นำหมอนใบเล็กมาหนุนตรงบริเวณช่วงใต้ท้อง และวางหมอนหนุนตรงช่วงใต้เข่า ใต้ขา จะช่วยให้คุณแม่หลับสบายมากขึ้น
  3. ผ่อนคลายความกังวล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถนวด เล่นโยคะ หรือว่ายน้ำได้หรือไม่ในระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นเพิ่มอาหารกลุ่มโปรตีน เช่น เนื้อปลา อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม เช่น นมจืดพร่องมันเนย ปลาตัวเล็กตัวน้อยที่กินได้ทั้งตัว และผักใบเขียวทุกชนิด
  5. ทำความสะอาดเต้านม เต้านมของคุณแม่ 2-3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะมีการผลิตไขมันมาปกคลุมหัวนมและลานนม ซึ่งการอาบน้ำในทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ไขมันตรงบริเวณหัวนมหลุดออกไป จนทำให้หัวนมแห้งแตกได้ง่าย คุณแม่ไม่ควรฟอกสบู่เน้นตรงหัวนมเป็นเวลานาน

 

คุณแม่ท้อง 38 สัปดาห์อาจมีการคลอดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คุณแม่จึงควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงร่างกายตัวเองอย่างใกล้ชิด และหากคุณแม่มี อาการท้องแข็งแล้วมีการเจ็บท้องในทุก 5-10 นาที ช่องคลอดมีมูกเลือดสีสดออกมา มีน้ำเดิน แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลทันที นอกจากนี้คุณแม่ควรเตรียมของใช้เตรียมคลอดให้พร้อม เพื่อเตรียมต้อนรับลูกน้อย

 

น้ำนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด ในนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด มีสารอาหารสำคัญอย่างสฟิงโกไมอีลินและดีเอชเอ ที่เป็นสารอาหารเพื่อพัฒนาสมองให้มีการเรียนรู้ได้เร็ว และมีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น บีแล็กทิส (B. lactis) ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องไตรมาสแรก ภาวะเสี่ยงที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลเปาโล
  2. การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด, โรงพยาบาลพญาไท
  3. การดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  4. เตรียมความพร้อมก่อนคลอดเจ้าตัวเล็ก, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  5. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  6. เตรียมพร้อม... คุณแม่ใกล้คลอดแบบธรรมชาติ, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  7. 6สัญญาณเตือนการใกล้คลอด ที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก 3
  8. ความเครียดของคุณแม่ตั้งครรภ์..สามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกได้นะ!, โรงพยาบาลพญาไท
  9. เต้านมในระหว่างตั้งครรภ์ (ตอนที่ 1), คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  10. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  11. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์, helloคุณหมอ
  12. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  13. คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
  14. เคล็ดลับการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  15. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  16. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์, helloคุณหมอ

อ้างอิง ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินแตงโมได้ไหม คุณแม่กินแตงโมอย่างไรให้ดีกับลูกในครรภ์

คนท้องกินแตงโมได้ไหม คุณแม่กินแตงโมอย่างไรให้ดีกับลูกในครรภ์

คนท้องกินแตงโมได้ไหม ในแตงโมมีสารอาหารอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์กับร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ต้องกินเท่าไหร่ถึงพอดี ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม มีผลต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยหรือไม่

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม มีผลต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยหรือไม่

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม คนท้องกินขนุนได้ไหม หากกินเยอะมากเกินไป อันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน ปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมสำหรับแม่ตั้งครรภ์

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม กินเยอะไป ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม กินเยอะไป ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม หากคุณแม่ในปริมาณที่เยอะเกินไป จะส่งผลเสียอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง กินน้ำมะพร้าวมาก เสี่ยงแท้งลูกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินหน่อไม้เยอะ จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า ไปดูสารอาหารสำคัญในหน่อไม้และประโยชน์ของหน่อไม้ที่คนท้องควรรู้กัน