อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

14.03.2024

หลังจากตรวจพบการตั้งครรภ์ในสัปดาห์แรกมาแล้ว สัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อาการคนท้อง 2 สัปดาห์เป็นอย่างไร เชื่อว่าตอนนี้คุณแม่หลายคนคงตื่นเต้น ดีใจ กังวล และสับสนปนเปกันไปหมด ใครที่กำลังกังวลลองมาดูคำแนะนำดี ๆ สำหรับคุณแม่และลูกน้อยในท้องกันเลย

headphones

PLAYING: อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

สรุป

  • ในสัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงเตรียมพร้อมรองรับไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ในทางการแพทย์
  • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่รวดเร็วของคนท้อง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ตกขาว มีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด คัดตึงเต้านม อารมณ์แปรปรวน ปวดท้อง เหนื่อยล้า เป็นต้น
  • ในช่วงเริ่มต้นตั้งครรภ์คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยในท้อง โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต ดื่มนมที่มีไขมันต่ำเป็นประจำ และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่การท้องสัปดาห์ที่ 2 ยังไม่ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่อยู่ในช่วงระยะเวลาของการตกไข่ หรือไข่ตกเท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มดลูกเตรียมพร้อมรองรับไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ปวดหน่วงท้องน้อย ผิดปกติหรือไม่ 

อาการปวดท้องน้อยในช่วงนี้เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้หากคุณอยู่ในระยะเวลาตกไข่ ในช่วงเวลานี้ผู้หญิงบางคนจะรู้สึกปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งจะเป็นข้างขวาหรือข้างซ้ายก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าไข่ตกอยู่ฝั่งไหน เพราะโดยปกติแล้วไข่จะตกสลับข้างกันในแต่ละเดือนค่ะ นอกจากนี้ คุณแม่อาจพบอาการอื่น ๆ เช่นเดียวกับอาการคนท้องตามมา เช่น เจ็บหน้าอก มีเลือดออกเล็กน้อยจากช่องคลอด ตกขาว เป็นต้น

 

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

ในระยะนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการการดังต่อไปนี้

  • ตกขาว ช่วงของการตกไข่จะทำให้ร่างกายขับของเหลวที่คล้ายไข่ขาวดิบหรือวุ้น ในลักษณะเป็นเมือกที่ทั้งหนาและเหนียวออกมากจากช่องคลอดมากขึ้น
  • เลือดออกกะปริบกะปรอยจากช่องคลอด คุณแม่ที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์หลายคนคงตกใจเมื่อเห็นเลือดออกในช่วงนี้ ความจริงแล้วเลือดที่ไหลออกมาเป็นเลือดล้างหน้าเด็กที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่แล้วเข้าไปฝังตัวที่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้มีเลือดออกมาเล็กน้อยไม่เกิน 3 วัน เท่านั้นเอง
  • ปวดท้อง อาการปวดท้องเมื่อมีการตั้งครรภ์จะปวดบริเวณท้องน้อย ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องเล็กน้อยไม่รุนแรงมากนักและเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่เหมือนกับปวดท้องประจำเดือนที่ปวดท้องบริเวณหน้าท้องและปวดนานมากกว่า 1 วัน
  • อารมณ์แปรปรวน คนท้องจะมีอารมณ์อ่อนไหวมากกว่าปกติ อารมณ์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเดี๋ยวเศร้าซึมเดี๋ยวตื่นเต้นสลับกันไป บางคนมีอารมณ์แปรปรวนไปจนกระทั่งคลอดเลยค่ะ ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ในระหว่างตั้งครรภ์
  • คัดเต้านม คนท้องที่มีอาการคัดเต้านมหลังเริ่มมีการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการนี้เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เต้านมของคุณแม่ขยายเต่งตึง และอาจรู้สึกเจ็บได้เมื่อโดนสัมผัสค่ะ

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

เนื่องจากในสัปดาห์ที่ 2 ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นทำให้ขนาดหน้าท้องของคุณแม่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากไข่ของคุณแม่ได้รับการปฏิสนธิกับสเปิร์มแล้ว ไข่ที่ถูกผสมนี้จะค่อย ๆ เคลื่อนที่เข้าไปยังท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวในมดลูก หมายความว่าได้เกิดกระบวนการปฏิสนธิสมบูรณ์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของการตั้งครรภ์เท่านั้น

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 2 สัปดาห์ หากกระบวนการปฏิสนธิสมบูรณ์ ในขณะนี้ลูกน้อยยังเป็นเพียงตัวอ่อนที่มีขนาดเล็กมาก

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์ 2 สัปดาห์

  • ตัวอ่อนจะค่อย ๆ เติบโตและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
  • โดยเริ่มจากระบบประสาท
  • จากนั้นจะเริ่มแบ่งเซลล์ออกเป็นอวัยวะต่าง ๆ จนมีหน้าตาคล้ายกับเด็กทารกมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์

1. ทานอาหารที่ส่งเสริมการเติบโตของลูกในท้อง

ในช่วงแรกที่มีการตั้งครรภ์คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยในท้อง โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต เช่น

  • อาหารที่มีโฟเลตสูง มักเป็นอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้สีเหลืองอมส้ม หรือธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ หน่อไม้ฝรั่ง และส้ม เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาระบบประสาทของทารก
  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก สามารถพบได้ในผักใบเขียว เช่น ใบยอ ตำลึง เมล็ดถั่วแห้ง ไข่แดง ตับ มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดให้เพียงพอต่อระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกายของคุณแม่และลูกน้อย
  • อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่ เพราะโปรตีนมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์และพัฒนาสมองของทารกน้อยในครรภ์
  • อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม คุณแม่สามารถรับได้จากนม ปลาตัวเล็ก และผักใบเขียวบางชนิด เพื่อความแข็งแรงของคุณแม่และเสริมสร้างกระดูกและฟันให้กับลูกน้อย

 

2. ดื่มนมเป็นประจำ

ในนมอุดมไปด้วยแคลเซียมที่มีส่วนช่วยในการคงมวลกระดูกของคุณแม่ ลดความเสี่ยงในการเป็นตะคริว และช่วยนำไปเสริมสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อย ดังนั้น คนท้องจึงควรดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว และควรเป็นนมไขมันต่ำจะดีต่อคุณแม่ที่สุด

 

3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

คนท้องควรดื่มน้ำให้ได้วันละประมาณ 2 ลิตร หรือประมาณ 8-10 แก้ว เพื่อให้ร่างกายคุณแม่นำไปสร้างน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวลูกน้อยและให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับลูกน้อยในครรภ์ได้

 

4. เข้าพบแพทย์

การเข้ารับการตรวจครรภ์และฝากครรภ์ในช่วงเริ่มต้นการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรทำเป็นอันดับแรกเมื่อรู้ว่าตั้งท้อง เพราะคุณหมอจะทำการตรวจเช็กสุขภาพร่างกายของคุณแม่ ตรวจหาความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในท้อง แนะนำพฤติกรรมการทานอาหาร การดำเนินชีวิต รวมถึงติดตามพัฒนาการของทารกน้อยในครรภ์ด้วย ดังนั้น คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์ตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

 

นอกจากการดูแลตัวเองเบื้องต้นโดยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มนมเป็นประจำ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอแล้ว คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจและฝากครรภ์จากคุณหมอ เพราะจะทำให้คุณแม่ทราบพัฒนาการทารกในครรภ์ รู้ว่าควรดูแลตัวเองอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ต้องระวังในระหว่างตั้งครรภ์บ้าง โดยคุณหมอจะพยายามลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยในท้องได้ ทำให้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างสบายใจเพื่อเตรียมต้อนรับสมาชิกใหม่ที่กำลังจะเกิดมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 1 and 2 Weeks Pregnant, what to expect
  2. นับวันตกไข่ให้เป๊ะ! ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  3. อาการคนท้อง กับก่อนมีประจำเดือนต่างกันอย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
  4. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  6. ‘โภชนาการที่ดี’ สารอาหารและพลังงานเพื่อลูกรัก, โรงพยาบาลศิครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 13 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

รวมวิธีลดน้ำหนักหลังคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ คุณแม่หลังคลอดอยากกลับมาหุ่นสวยฟิตเหมือนเดิม ทำยังไงได้บ้าง ไปดูวิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ที่คุณแม่ทำได้ที่บ้านกัน

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐราคาเท่าไหร่ ผ่าคลอดใช้สิทธิบัตรทองได้ไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คำถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการคลอดที่คุณแม่เตรียมคลอดธรรมชาติและผ่าคลอดอยากรู้

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม กินโกโก้แล้วอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำหวาน น้ำชง คนท้องกินโกโก้ได้ไหม ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ ไปดูกัน

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

รวมเมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน เมนูสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง เมนูอาหารสําหรับคนท้อง 1-3 เดือน ทำเองได้เลยที่บ้าน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก