โภชนาการลูกวัย 1-2 ขวบ ลูกวัยนี้ต้องอาหารอะไรนะ
เมื่อลูกเข้าสู่วัย 1 ขวบเป็นต้นไปแล้ว ถือว่าลูกได้เข้าสู่ช่วงวัยเตาะแตะอย่างเต็มตัว โภชนาการของลูกในวัยนี้สำคัญมาก เพราะลูกต้องการสารอาหารต่าง ๆ เพื่อการเจริญเติบโตและเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ และคุณพ่อคุณแม่ควรคำนึง
โภชนาการลูกวัย 1-2 ขวบ
เพื่อการเจริญเติบโตและเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ และคุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสม ในอาหารทั้ง 3 มื้อของลูก รวมถึงขนมหรืออาหารมื้อว่างที่มีประโยชน์ เพื่อให้ลูกได้รับสารอย่างเพียงพอ ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งสารอาหารที่สำคัญต่อลูกรักในวัยนี้ ได้แก่
•โปรตีน สารอาหารสำคัญที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเสริม และซ่อมแซมร่างกาย ช่วยให้ร่างกายของลูกเจริญเติบโต บำรุงสุขภาพ แหล่งของโปรตีนที่ดีได้แก่ ไข่ นม เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา
•คาร์โบไฮเดรต แหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย เพราะลูกต้องการพลังงานในการเล่นและเรียนรู้ตลอดทั้งวัน แหล่งของคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว, แป้ง, เผือก, มัน รวมถึงผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าว เช่น ขนมปัง, เส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
•วิตามินเอ มีความสำคัญต่อสุขภาพ มีบทบาทสำคัญต่อระบบการมองเห็น การเจริญเติบโต การสร้างภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวต่าง ๆ แหล่งอาหารที่มีวิตามินเอสูง ได้แก่ ตับ ไข่แดง นม เนื้อสัตว์ ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลือง
•แคลเซียม สารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย สามารถพบได้มากใน นม, ผลิตภัณฑ์จากนม
•ธาตุเหล็ก สารอาหารที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเม็ดเลือด และเป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อและเอนไซม์ต่าง ๆ หากได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ลูกอาจเป็นภาวะโลหิตจางได้ แหล่งของธาตุเหล็กที่สำคัญได้แก่ ตับ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ดังนั้น หลังอายุ 6 เดือน ทารกที่ทานแต่นมแม่จึงเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก

•ไขมัน กลุ่มสารอาหารที่มีความสำคัญอย่างมากต่อลูก นอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกายเช่น DHA, โอเมก้า 3 6 9, ไมอีลิน ที่ช่วยพัฒนาการทำงานของระบบประสาทและสมองของลูกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
•สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ไมอีลิน ปลอกหุ้มแขนงประสาทนำออก ไมอีลินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้สมองของลูกสามารถส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้ว สฟิงโกไมอีลินนั้นเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่ แต่นอกจากนมแม่แล้ว สฟิงโกไมอีลินยังสามารถพบได้ ในอาหารประเภท นม ชีส ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่
เมนูแนะนำที่เหมาะกับลูกวัย 1-2 ปี
ข้าวผัดไข่ แกงจืดไก่ ผักหวาน ฟักทอง
ส่วนประกอบต่ออาหาร 1 มื้อ
•ข้าวสวย 5 ช้อนกินข้าว (50 กรัม)
•น้ำมันพืช 1 ช้อนชา (5 กรัม)
•ไข่ไก่ 1/3 ฟอง (16.5 กรัม)
•น้ำแกงจืดซุปกระดูกหมู 10 ช้อนกินข้าว (100 กรัม)
•เนื้อไก่ 1 ช้อนกินข้าว (15 กรัม)
•ตับไก่ 1/4 ช้อนกินข้าว (4.25 กรัม)
•ฟักทอง 2 ช้อนกินข้าว (20 กรัม)
•ผักหวาน 2 ช้อนกินข้าว (10 กรัม)
ให้พลังงาน 187 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 7.6 กรัม

ข้าวปลาทู แกงจืดไข่น้ำ มันฝรั่งและหัวผักกาด
ส่วนประกอบต่ออาหาร 1 มื้อ
•ข้าวสวย 5 ช้อนกินข้าว (50 กรัม)
•ปลาทูนึ่งทอด 1 ช้อนกินข้าว (10 กรัม)
•น้ำแกงจืด 10 ช้อนกินข้าว (100 กรัม)
•น้ำมันพืช 1/2 ช้อนชา (2.5 กรัม)
•ไข่ไก่ 1/2 ฟอง (25 กรัม)
•มันฝรั่ง 2 ช้อนกินข้าว (20 กรัม)
•หัวผักกาดขาว 2 ช้อนกินข้าว (22 กรัม)
ให้พลังงาน 174 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 8.3 กรัม
นอกจากอาหารมื้อหลักที่มีประโยชน์แล้ว สำหรับมื้อเสริม หรืออาหารว่างก็ควรมีสารอาหารสำคัญครบถ้วนเช่นกัน โดยคุณแม่สามารถเสริมอาหารที่อุดมไปด้วยประโยชน์เช่น นม 1 แก้ว หลังมื้ออาหาร หรือในระหว่างวันให้ลูกรัก เพื่อให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสม พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างแข็งแรง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อ้างอิง
บทความแนะนำ

ยิ่งเล่น ลูกยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฉลาด
การเล่นคืองานของเด็ก และการเล่น ไม่ใช่แค่การเล่น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ เด็กต้องการเล่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่กำหนดเวลา และเด็กมีความสุขเมื่อได้เล่น การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่สมองของเด็กในช่วงวัยนี้จะทำงานสูงสุดขณะเล่น ด้วยเป็นภาวะที่สมองพร้อมเรียนรู้ ไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว และมีแรงจูงใจ การเล่นช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมอง ประสบการณ์ขณะเล่นจะกระตุ้นเซลล์สมองและสารสื่อประสาทต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายเส้นใยสมอง และเพื่อให้การเรียนรู้นอกบ้านไม่สะดุด คุณแม่ควรเลือกนมยูเอชทีกล่องแรกสำหรับลูก ที่มีสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 โคลีน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

เริ่มนมยูเอชทีกล่องแรก คุณแม่ต้องเลือกอย่างไร
เด็กวัย 1 ปี สามารถกินอาหารได้ครบ 3 มื้อแบบผู้ใหญ่ แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดื่มนมวันละ 3 แก้ว เพื่อเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้โลกกว้างจากการได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ จากการลงมือทำ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้นอกบ้าน นมกล่องสำหรับเด็กจึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก คุณแม่ควรเลือกนมกล่องที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากนมแม่

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

กินอะไรให้ลูกฉลาด สารอาหารชนิดไหนช่วยพัฒนาสมองลูก
นอกจากวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้ว “ให้ลูกกินอะไร ลูกถึงจะสมองดี?” ก็เป็นอีกคำถามยอดฮิตที่คุณแม่หลายคนสงสัยกัน เพราะเรื่องโภชนาการหรืออาหารการกินของลูกนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดังนั้น ในวันนี้เราจึงอยากแนะนำและให้ข้อมูลแก่คุณแม่ เกี่ยวกับอาหาร โภชนาการที่จะช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาให้กับสมองของลูกน้อย

พัฒนาการลูกรักวัย 1 ขวบ ในขวบปีแรกลูกควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง?
ช่วงเวลา 3 ปีแรกของลูกน้อยนั้น เปรียบได้ดั่งรากฐานสำคัญของสุขภาพและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตลอดชีวิตของเขา เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขามีการเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงมากมายของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งในวันนี้เราอยากนำเสนอถึงข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรักในวัย 1 ขวบ ว่าในช่วงวัยนี้ เขาควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้ดียิ่งขึ้น