พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

28.02.2020

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน  อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย  คุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง  

headphones

PLAYING: พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

อ่าน 2 นาที

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน 

 

  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้  

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจกลัวลูกศีรษะแบน จึงมักให้ลูกนอนคว่ำหรือตะแคง แต่กุมารแพทย์มักแนะนำให้เด็กวัยแรกเกิดถึง 4 เดือนนอนหลับในท่าหงาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นหากนอนหลับในท่าคว่ำ แต่แนะนำให้จับคว่ำขณะเขาตื่นควบคู่กับการใช้ของเล่นล่อให้เขาชันคอให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการให้คอแข็งเร็วขึ้นด้วย  

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร   

เด็กวัยนี้ควรได้รับการฝึกให้สามารถนอนหลับด้วยตนเอง เมื่อสังเกตว่าลูกง่วงและกำลังจะเคลิ้มหลับ คุณพ่อคุณแม่ควรวางเขาลงบนที่นอนเพื่อให้เขาหลับต่อเอง อย่าปล่อยให้เขาดูดนมจนหลับ หรืออุ้มจนเขาหลับคาอก วิธีการเช่นนี้จะช่วยลดปัญหาการนอนในระยะยาวได้มาก 

พัฒนาการลูกวัย 1- 2 เดือน
  • ​อาหารอะไรเหมาะกับลูก 

ในวัยนี้อาหารที่เหมาะที่สุดสำหรับลูกคือนมแม่ ดังนั้นโภชนาการของคุณแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยคุณแม่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นอาหารปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง  ในระยะนี้ลูกจะมองเห็นได้ดีขึ้น เขาจะเริ่มยิ้มได้ แม้ว่าการยิ้มของลูกวัยนี้ยังเป็นการยิ้มอยู่คนเดียว คล้ายว่าอยู่ดี ๆ ก็ยิ้ม ยังไม่สื่อความหมายอะไรในรอยยิ้มนั้น แต่ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ชื่นใจได้ไม่น้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้วยการการมองหน้าสบตาลูก เอียงหน้าไปมาช้า ๆ ให้เขามองตามการเคลื่อนไหวของใบหน้าคุณพ่อคุณแม่  

 

  • เคล็ดลับคุณแม่ 

เด็กส่วนมากจะร้องมากขึ้นและนานขึ้นในช่วงอายุ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง โดยอาจร้องได้นานเป็นชั่วโมง เมื่อลูกร้อง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตท่าทีว่าเขาต้องการอะไร เช่น หิว เปียก เจ็บ ง่วง ร้อนหรือหนาวเกินไป ฯลฯ ซึ่งถ้าพบสาเหตุควรให้ความช่วยเหลือตามสาเหตุนั้น แต่หากไม่พบสาเหตุ ควรอุ้มปลอบด้วยท่าทางหรือจังหวะที่เขาชอบ จนกระทั่งเขาหยุดร้อง หากคุณแม่ดูแลคนเดียวและรู้สึกเหนื่อย ควรให้คุณพ่อหรือบุคคลอื่นในครอบครัวมาเปลี่ยนอุ้ม หรือในกรณีไม่มีใครสามารถมาผลัดเปลี่ยน คุณแม่สามารถวางเขาลงสักครู่หนึ่งเพื่อให้คุณแม่ได้หยุดพัก แล้วค่อยกลับมาดูแลเขาต่อ โดยทั่วไปการร้องจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเขาอายุประมาณ 2-3 เดือน 

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ  

พัฒนาการลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 1 เดือน 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน

อ้างอิง

โดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล  

กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช 

บทความแนะนำ

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ผื่นแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ผื่นแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการผื่นแพ้ในเด็ก มักเกิดขึ้นกับเด็กหลังมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปทำความรู้จักกับอาการลูกแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลเบื้องต้น

ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีดูแลผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีดูแลผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก เกิดจากอะไร รู้จักอาการผื่นขึ้นหน้าทารก สาเหตุ อาการที่ทำให้ทารกมีผื่นขึ้นหน้า พร้อมวิธีดูแล ผดผื่นบนใบหน้าทารก และการดูแลเมื่อผื่นขึ้นหน้าทารก

ผื่นทารก ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผิวผื่นทารกในเด็ก

ผื่นทารก ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผิวผื่นทารกในเด็ก

ผื่นทารก อาการลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ ที่มักเกิดขึ้นกับเล็กเด็ก ไปดูสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการผื่นแพ้ พร้อมวิธีดูและป้องกัน

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกมีผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกมีผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง ทารกผื่นสากเป็นอันตรายไหม ลูกมีผื่นผิวสาก ๆ มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ