พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

04.03.2020

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย คุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง 

headphones

PLAYING: พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

อ่าน 3 นาที

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน

 

 

  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้ 

ในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกวินัยในการรอคอยให้ลูกได้ โดยการไม่ตอบสนองต่อการร้องไห้ของลูกอย่างทันทีและฉับไวเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ เช่น ถ้าเขาร้องเพราะหิว แทนที่จะให้เขาได้กินนมทันที ให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับเขาว่า “ลูกหิวนมแล้ว เราจะไปหยิบขวดนมและจุกนมด้วยกันนะ” พร้อมกับอุ้มเขาไปหยิบขวดนม จุกนม และเตรียมนมด้วยกัน การพูดคุยดังกล่าวจะช่วยดึงความสนใจเขาจากการร้องไห้ ฝึกให้เขารู้จักรอคอย อีกทั้งยังเป็นการสอนคำศัพท์ให้เขารู้จักอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง และรู้จักของใช้รอบตัวด้วย นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มนำหนังสือมาเปิดดูรูปกับเขา โดยหนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ได้แก่หนังสือที่มีความหนาและกระดาษไม่เปื่อยง่าย หรืออาจเป็นหนังสือผ้า หรือหนังสือลอยน้ำ ซึ่งทนทานต่อการฉีกขาดและไม่เปื่อยง่ายเมื่อถูกน้ำลายเมื่อเขานำไปอมหรือกัด เนื้อหาในหนังสือไม่มาก เน้นให้มีรูปภาพใหญ่ สีสด เพื่อดึงดูดความสนใจเด็ก

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร  


การกระตุ้นพัฒนาการของเด็กวัยนี้ทำได้โดยนำของเล่นที่เขาสนใจวางอยู่ในระยะไกลจากตัวเขาเพื่อให้เขาฝึกคืบตัวไปหยิบของ ส่งเสียงพยัญชนะหลาย ๆ พยางค์เป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม เช่น วา ๆ ๆ, หม่ำ ๆ ๆ

 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน

 

  • อาหารอะไรเหมาะกับลูก


เด็กวัยนี้ควรกินอาหารเสริมบำรุงสมองเด็กแทนนม 1 มื้อ และกินนมแม่เป็นอาหารหลักในมื้ออื่น ๆ อาหารเสริมควรให้ครบทั้ง 5 หมู่ และสามารถเริ่มให้กินไข่ทั้งไข่ขาวและไข่แดงได้ ในวัยนี้อาจเพิ่มชนิดและปริมาณอาหารได้มากขึ้นกว่าช่วงแรก เช่น ช้าวบดกับไข่สลับเนื้อสัตว์บด ร่วมกับผักบด และผลไม้สุก เด็กที่เริ่มกินอาหารเสริมแล้วอาจมีอาการท้องผูกได้เป็นปกติ ถ้าลูกท้องผูก คุณพ่อคุณแม่ควรเพิ่มอาหารที่มีกากใยในอาหารเสริม เช่น ส้ม มะละกอสุก มะม่วงสุก ผักต้ม ร่วมกับเพิ่มน้ำในอาหารแต่ละมื้อ ซึ่งมักจะช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น แต่หากไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์

 

  • เคล็ดลับคุณแม่

เมื่อลูกน้อยอายุ 6 เดือนไปแล้ว ควรได้รับนมแม่ร่วมไปกับอาหารเสริมที่มีคุณค่า อันเป็นแหล่งของไขมันหลากหลายชนิดที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและการสร้างปลอกไมอีลิน แต่นมแม่ก็ยังเป็นอาหารหลักของลูกน้อยเช่นเดิม ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมบุตรเป็นหลักจึงควรได้รับอาหารครบถ้วน เช่น นม ชีส โยเกิร์ต รวมไปถึงเนื้อสัตว์ ไข่ ผัก เป็นต้น เพื่อให้บุตรได้รับสารอาหารสำหรับจะนำไปสร้างปลอกไมอีลินได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และส่งผลให้การพัฒนาและการทำงานของสมองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

พัฒนาการเด็ก 5-6 เดือน

 

อ้างอิง

บทความโดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

บทความแนะนำ

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

วิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้อาหารในเด็ก

ทารกแพ้อาหาร ภูมิแพ้อาหารในเด็ก หนึ่งในอาการเด็กแพ้อาหารของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตอาการทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อเด็กแพ้อาหาร

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

ลูกแพ้อาหารหรือลูกมีอาการเด็กแพ้นมวัว พร้อมวิธีป้องกันอาการแพ้

อาการลูกแพ้นมวัว เมื่อลูกแพ้นมวัวและมีอาการแพ้แสดงออกมา คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กอาการแพ้ของลูกน้อย เพื่อดูว่าลูกแพ้อาหารทั่วไปหรือลูกแพ้นมวัวกันแน่ พร้อมวิธีป้องกัน

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารกเป็นอย่างไร ผื่นแพ้อาหารทารก หนึ่งในอาการของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมพ่อแม่ยุคใหม่ ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ทำไมพ่อแม่ยุคใหม่ ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

ลมพิษในเด็ก อาการผื่นนูนแดงที่เกิดขึ้นตามร่างกายของลูกน้อย ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นลมพิษมีอาการอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลมพิษในเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้