เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า ตารางปั๊มนม พร้อมวิธีการปั๊มนม

เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า ตารางปั๊มนม พร้อมวิธีการปั๊มนม

22.03.2024

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

headphones

PLAYING: เทคนิคการปั๊มให้เกลี้ยงเต้า ตารางปั๊มนม พร้อมวิธีการปั๊มนม

อ่าน 2 นาที

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ” 

 

ไปดูกันเลยค่ะว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อปั๊มนมให้ได้สารอาหารครบ 


1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม 

 

- เครื่องปั๊มนม    

 

- ถุงซิปล็อคเก็บน้ำนมหรือขวดเก็บน้ำนม

 

- ผ้าคลุมปั๊มนม                                                                                                                           

- กล่องหรือกระติกเก็บความเย็น                                                                                                   

- น้ำแข็งหรือเจลน้ำแข็ง                                                                                                               

- กล่องหรือถุงพลาสติกเก็บชุดปั๊มนม 

 

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

 

2.    ปั๊มนมในที่ทำงานให้เหมาะสม 

  • ถ้าออฟฟิศไม่มีห้องให้ปั๊มนมได้สะดวก ให้หาผ้าคลุมปั๊มนมมาคลุมแทน
  • ควรใช้เวลาปั๊มนมแม่อย่างน้อย 10 – 15 นาที / ข้าง
  • หากน้ำนมออกได้ดีให้ปั๊มต่ออีก อย่างน้อย 20 – 30 นาที / ข้าง เพื่อลดอาการคัดเต้าระหว่างวัน

3.วิธีเก็บรักษานมแม่

  • ตู้เย็น (ช่องธรรมดา) เก็บได้นาน 3 – 8 วัน
  • ตู้เย็น (ช่องฟรีซ) เก็บได้นาน6 – 12 เดือน
  • นำเจลน้ำแข็ง (Ice pack)ใส่กระติก เก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
  •  

เคล็ดลับการเก็บน้ำนมให้คุณค่าครบถ้วน 
ไม่ควรแช่ในช่องฟรีซ เพราะจะทำลายสารภูมิคุ้มกันได้บางส่วน แต่หากจำเป็น ให้เอาถุงน้ำนมที่แช่แข็งแกว่งในน้ำอุ่น อย่าอุ่นในน้ำร้อนหรือไมโครเวฟเพราะจะเสียคุณค่าทางอาหาร และนมที่อุ่นแล้วอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ถ้าต้องการใช้นมภายใน 7วัน หลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ 


4.วิธีการเก็บรักษาอุปกรณ์ปั๊มนม

  • ครอบอุปกรณ์ด้วยถุงพลาสติกก่อนและเก็บในกล่องเก็บอุณหภูมิ เพื่อให้อุณหภูมิให้คงที่เสมอ
  • หลังเลิกงานแต่ละวัน ควรนำอุปกรณ์ปั๊มนมแม่ไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือ

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี 

ข้อควรรู้!!! ในการเลือกนมให้ลูก

บทความแนะนำ

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าง่ายขึ้น พร้อมวิธีลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ อยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส  ที่ช่วยพัฒนาสมอง

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารก ตารางให้นมทารก ลูกน้อยควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณและความถี่ที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม