พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1 - 4

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4 ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไร

04.03.2020

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4 

headphones

PLAYING: พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4 ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไร

อ่าน 2 นาที

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1- 4 

 

 เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่จะรับรู้ได้ 2 ทางหลักๆ คือตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดแล้วพบว่าระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ หรือ beta-hCG สูง และอีกทางคือ มีอาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์อ่อนๆ ได้แก่

  • ประจำเดือนไม่มา
  • เจ็บเต้านมมาก บางท่านเจ็บจนจับแตะเต้านมหรือสัมผัสหัวนมไม่ได้เลย
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย รู้สึกมีลมจุกเต็มท้อง
  • ปัสสาวะบ่อยมาก ๆ

 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1 - 4


พัฒนาการลูก 


หลังปฏิสนธิ ตัวอ่อนที่แข็งแรงก็จะฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก และเมื่อการฝังตัวสมบูรณ์ ปลายสัปดาห์ที่ 4 จะเกิดถุงการตั้งครรภ์ ซึ่งตรวจพบจากอัลตร้าซาวด์  แต่ขนาดมดลูกจะโตขึ้นเพียงเล็กน้อย และยังคลำไม่ได้ทางหน้าท้องจากการตรวจร่างกาย


Tips  

  • เนื่องจากอายุครรภ์ยังอ่อน ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ควรไปพบสูติแพทย์เพื่อตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อแยกความผิดปกติ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก จะได้ทราบความเสี่ยง และอาการที่ต้องเฝ้าระวัง
  • คุณแม่ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแล เรื่องการปรับยาที่ทานอยู่ให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อลูกในครรภ์ และประเมินความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์
  • คุณแม่ที่เตรียมการก่อนตั้งครรภ์ มักรับประทานโฟเลตมาก่อนล่วงหน้า เพราะพบว่ามีส่วนช่วยลดความพิการภาวะหลอดประสาทไม่ปิดแต่กำเนิดได้ แต่หากคุณแม่ไม่ได้เตรียมตัวไว้ ก็ไม่เป็นไรค่ะ เริ่มรับประทานโฟเลต และอาหารที่มีโฟเลต เช่น ผลไม้ ผักใบเขียว ไข่แดง ตับ นม เป็นต้น
  • งดอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของดิบ งดบุหรี่ หรือเลี่ยงสถานที่ที่มีควันบุหรี่ และก่อนทานยาควรปรึกษาแพทย์ค่ะ


 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1
 

บทความแนะนำ

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม ถ้าอยากกิน ต้องกินปริมาณเท่าไหร่ กินยังไงไม่ให้กระทบกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ไปดูกัน

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์กินสับปะรดได้หรือเปล่า กินมากไปอันตรายกับทารกในครรภ์ไหม กินแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลครรภ์สำหรับคุณแม่ท้อง

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน รับมือแบบไหนดี

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม กินได้บ่อยแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม คำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย ชาไทยมีคาเฟอีนไหม กินทุกวันอันตรายหรือเปล่า ไปดูวิธีดื่มชาเย็นแบบปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายสำหรับทารกในครรภ์กัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกินและช่วยบำรุงครรภ์มีอะไรบ้าง คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดไหม คนท้องอ่อนห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง ไปดูผลไม้ที่คนท้องควรกินและมีประโยชน์กับสุขภาพกัน