50 เคล็ดไม่ลับ วิธีสร้างสมอง… สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 4ปี

43 เคล็ดไม่ลับ "วิธีสร้างสมอง… สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 4 ปี"

06.03.2020

“ทำไมของชิ้นนั้นถึงเป็นแบบนี้” “นอกจากทำวิธีนี้เราทำวิธีไหนได้อีก” การตั้งคำถามชวนให้ลูกคิดในแง่มุมต่างๆ เป็นการฝึกทักษะทางการคิดที่ดี การกระตุ้นให้ลูกตอบโดยใช้ประโยคที่ยาวขึ้นเพื่ออธิบาย ก็เป็นการฝึกความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองคิดออกมา เป็นสิ่งที่ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย ซึ่งก็เป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งที่เด็กจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารสิ่งที่คิด

headphones

PLAYING: 43 เคล็ดไม่ลับ "วิธีสร้างสมอง… สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 4 ปี"

อ่าน 8 นาที

เคล็ดไม่ลับ

"วิธีสร้างสมอง สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 4 ปี"
 

การเปลี่ยนแปลงของแม่-ลูก


1.    “ตอนนี้หนูโกรธ ตอนนี้หนูดีใจ” หนูบอกอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้นแล้วนะและจะบอกได้ดีขึ้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ชวนหนูคุยเรื่องพวกนี้บ่อยๆ
2.    “หนูวาดรูปสวย ผมวิ่งได้เร็ว” หนูเริ่มแสดงถึงความภาคภูมิใจในตนเองกับเรื่องต่างๆที่ทำ หนูคิดว่าหนูเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามสิ่งที่พ่อแม่ชอบให้คำนิยามกับหนู
3.    เพื่อนของหนูพ่อแม่เค้าชอบบอกว่าเป็นเด็กดื้อหรือเป็นเด็กซน หนูอยู่ในวัยที่เข้าใจและเริ่มเชื่อกับคำนิยามพวกนี้แล้วนะ  
4.    “ทำอะไรกัน? หนูลองทำด้วยได้ไหม?” ของเล่นใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ เป็นสิ่งที่หนูสนใจ ให้โอกาสหนูในการลองสิ
5.    “หนูจะใส่เสื้อตัวนี้ หนูจะกินขนมชิ้นนั้น” หนูพยายามที่จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ลดการพึ่งพ่อแม่ให้น้อยลง 
6.    “ตะโกน กระทืบเท้า” หนูแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้ชัดเจนขึ้น มันจะดีขึ้นเมื่อภาษาพูดของหนูพัฒนา คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสอนหนูให้แสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมนะ
7.    “ไม่เอา ไม่ทำ” หนูเริ่มต่อต้าน ถ้าสิ่งที่ผู้ใหญ่ให้ทำมันยากเกินไป
8.    “ฉันเป็นพ่อ เธอเป็นแม่ เพื่อนคนนี้เป็นลูก” เล่นพ่อแม่ลูกคือการเล่นแบบใหม่ในช่วงวัยสี่ขวบของหนู
9.    “สมมติว่าหมวกใบนี้คือมงกุฎของพระราชา สมมติว่าแก้วน้ำใบนี้เป็นเครื่องบิน” หนูมีจินตนาการมากขึ้นเวลาเล่นสมมติของต่างๆหนูก็เอามาแทนเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้หลากหลายขึ้น
10.    “มา เรามาเล่นด้วยกัน” เดี๋ยวนี้หนูชอบรวมกลุ่มเล่นกับเพื่อนมากกว่าเล่นคนเดียว
11.    “หนูชอบสีชมพู หนูอยากเล่นเกม หนูไม่เอาอันนี้” หนูบอกความชอบหรือความสนใจของตัวเองให้ผู้ใหญ่ฟังได้แล้วนะ
12.    “มาร้องเพลงกัน” ตอนนี้หนูร้องเพลงที่ได้ยินบ่อยๆได้ออกมาเองแล้วนะ
13.    “กาลครั้งหนึ่งมีหมาป่าตัวใหญ่...” หนูเล่าเรื่องหรือเล่านิทานสั้นๆให้คุณพ่อคุณแม่ฟังนะ
14.    หนูบอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้ครบและถูกต้องแล้วนะ เวลาคุณครูที่โรงเรียนถามหนูตอบได้ฉาดฉานมากเลย
15.    ตอนนี้หนูรู้จักสีได้ประมาณ 5 สีแล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองถามหนูสิ
16.    “ของมีกี่ชิ้น? ของมี 1 2 3 4 “ หนูเข้าใจหลักการนับจำนวนสิ่งของต่างๆมากขึ้นแล้ว
17.    “สองทุ่มเราต้องเข้านอน” หนูเข้าใจเรื่องของเวลาได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่บอกหนูคร่าวๆได้แล้วว่าจะมารับกลับบ้านกี่โมง
18.     “หนูเหมือนพ่อ น้องเหมือนแม่” หนูเข้าใจความหมายของคำว่าเหมือนและแตกต่างได้ ลองให้หนูฝึกเปรียบเทียบของสองสิ่งดูสิ
19.     “มาตัดกระดาษกัน” ตอนนี้สี่ขวบหนูใช้กรรไกรได้แล้วนะ 

 

เคล็ดไม่ลับ "วิธีสร้างสมอง… สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 4 ปี"

 

การกระตุ้นพัฒนาการ


20.  ตอนนี้หนูพูดเป็นประโยคติดกันได้ประมาณ 4-5 ประโยคแล้วนะ การโต้ตอบกับคน รอบตัวของหนูก็ทำได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมคุยกับหนูเยอะๆนะ
21.  หนูชี้หรือทำท่าทางเพื่อบอกสิ่งที่ต้องการน้อยลง เพราะตอนนี้หนูใช้ภาษาได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็เหนื่อยกับการเดาสิ่งที่หนูต้องการน้อยลงไง
22.  หนูพูดโต้ตอบได้ดีขึ้นแล้วนะ เรื่องบางเรื่องลองใจเย็นๆ ฟังหนูพูดบ้างสิ
23. หนูเล่นเกมกระดานหรือการ์ดเกมกับพวกพี่ๆพอได้แล้ว เกมพวกนี้ช่วยฝึกสมาธิ การวางแผนและการแก้ไขปัญหาให้หนูได้ คุณพ่อคุณแม่รู้ไหม
24. หนูยืนและกระโดดขาเดียวได้ การทรงตัวหนูก็ดีขึ้นแล้วนะให้หนูลองเดินบนคานหรือ กระโดดขาเดียวเป็นกระต่ายไปมาสิ หนูทำได้นานพอควรเลย
25. หนูช่วยคุณแม่หั่นผัก เทส่วนผสมหรือทำงานครัวง่ายๆ โดยมีคุณแม่หรือผู้ใหญ่คนอื่นดูแลใกล้ชิดได้แล้ว
26. “หนูชอบเล่นจัดหมวดหมู่นะ” คุณแม่สามารถหาเกมเกี่ยวกับการจัดประเภทของสิ่งต่างๆให้ลูกน้อยได้ เช่น สี รูปทรง หรือหมวดหมู่ของสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ การแยกประเภทของ เสื้อผ้าที่จะซักก็ทำเป็นเกมสนุกๆได้ด้วย 

27. “เริ่มตั้งคำถามดีๆ” คุณแม่ถามลูกน้อยได้ว่านิทานที่เล่าไปมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือเมื่อออก จากบ้านไปยังสถานที่อื่น เช่น ตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือในรถ คำถามดีๆ จะช่วยกระตุ้น  พัฒนาการทางภาษาและการพูดของลูกได้ คำตอบของลูกอาจทำให้คุณแม่เซอร์ไพรส์และ  เรียนรู้ในตัวลูกมากขึ้นด้วย
28. “เป็นแม่เจ้าบทเจ้ากลอนดูสิ” พัฒนาการทางภาษาของลูกน้อยพัฒนาได้ด้วยการร้องเพลง การพูดบทกลอนง่ายๆ และเสริมเรื่องไวยากรณ์และการใช้คำที่ถูกต้องมากขึ้น
29. “มาวาดรูปกันเถอะ” ลูกน้อยสามารถวาดภาพรูปทรงพื้นฐานต่างๆได้แล้ว เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม กากบาท หรือภาพคนมีแขนมีขา รวมถึงการเขียนตัวอักษรบางตัว
30. “หนูจะแนะนำตัวเองยังไง” เมื่อมีคนถามลูกน้อยว่า “ชื่ออะไรคะ” หรือ “กี่ขวบแล้ว” คุณ แม่อาจลองสังเกตดูว่า ลูกของเราสามารถแนะนำตัวง่ายๆได้หรือไม่ เป็นปกติที่ลูกน้อยจะรู้สึกเขินอาย หรือ ไม่ตอบคำถามใดๆกับคนอื่นเลย คุณแม่อาจจะต้องช่วยลูกตอบบ้างใน ครั้งแรก 
 31. “การเล่นบทบาทสมมติ” จินตนาการของลูกช่างกว้างไกล หนึ่งในกิจวัตรประจำวันของลูก อาจเป็นการเล่นขายของ การทำอาหาร ซึ่งบางอย่างคุณแม่อาจทำเสมือนจริงได้ การทำอาหารอาจแทรกเรื่องการตวง การผสม อุณหภูมิ ความรู้เรื่องของแข็งของเหลวเข้าไปได้
32. “เก็บลูกอยู่แต่ในบ้าน” พัฒนาการของเด็ก 4 ขวบ โดยเฉพาะด้านกล้ามเนื้อต่างๆ พัฒนาขึ้นอย่างมาก ลูกน้อยควรได้กระโดดกระเต้น วิ่งสุดแรง เขย่งขา แตะหรือขว้างลูก  ปั่นจักรยาน  3 ล้อ เป็นต้น แล้วในคืนนั้นลูกน้อยจะหลับอย่างสบายตัวแม่มือใหม่ควรรู้
33.  “ถ้าไม่หยุดร้อง ตำรวจจะมาจับนะ” คุณแม่ไม่ควรสร้างเงื่อนไขหรือคำพูดขู่เข็ญลูกน้อย    เช่นนั้น ความสมเหตุสมผลสร้างได้ตั้งแต่ในครอบครัว และไม่ควรสร้างเรื่องเพื่อหลอกให้ลูกกลัว การอธิบายอย่างสมเหตุสมผลจะดีกับลูกน้อยมากกว่า
34.  “หนูควรมีกิจวัตรประจำวันได้แล้วนะ” ลูกน้อยพร้อมมีตารางกิจวัตรประจำวัน แม้จะไม่ได้ เขียนเป็นตารางเวลาออกมาชัดเจน แต่คุณแม่สามารถใช้คำพูดบอกลูกได้ เช่น “เดี๋ยวหลังจากทานข้าวเย็นแล้ว เราอ่านหนังสือที่ยืมมาจากห้องสมุดกันนะลูก แล้ว 3 ทุ่มค่อย นอนกันนะคะ”
35. “พลังงานหนูท่วมท้น” เด็กในวัย 4 ขวบ พร้อมสู่การเข้าโรงเรียนและพลังงานของเขามีเต็ม อัตรา ความอยากรู้อยากเห็น ความครื้นเครง การพูดและมีคำถามตลอดวันไม่หยุด เหล่านี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติ 
36. “มารยาทบนโต๊ะอาหาร หนูพร้อมเรียนรู้ล่ะนะ” เด็กอายุ 4 ขวบ สามารถใช้อุปกรณ์ในการ  รับประทานอาหารได้แล้ว สิ่งที่คุณแม่แนะนำเพิ่มเติมได้ก็คือ มารยาทบนโต๊ะอาหารหรือในขณะทานอาหาร เช่น ไม่ควรพูดในขณะที่มีอาหารอยู่เต็มปาก การใช้ผ้าเช็ดปาก การไม่เอื้อมแขนข้ามหน้าคนอื่นเพื่อตักอาหาร เป็นต้น
37. “กินเดี๋ยวนี้ จะกินไม่กิน” คุณแม่ไม่ควรบังคับให้ลูกทานอาหารที่ลูกไม่ชอบ มีหลายวิธีการที่จะทำให้ลูกทานมากขึ้นและทานอะไรที่ดี คุณแม่อาจทานให้ลูกดูเป็นประจำและแสดงออกถึงความอร่อยทางสีหน้าหรือท่าทางอย่างชัดเจน
38. “ทำไมลูกของเราทำไม่ได้เหมือนลูกคนอื่นนะ” ในช่วงวัยนี้ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ของพัฒนาการด้านต่างๆ ในเด็กมีความแตกต่างกันได้เป็นธรรมดา คุณแม่บางท่านที่ กังวลเรื่องพัฒนาการของลูก เช่น การพูด การเข้าสังคม การเขียน อาจต้องให้เวลาลูกน้อยอีกสักนิด ก่อนจะไปปรึกษาแพทย์
39. “แม่ทำอย่างไร ลูกทำอย่างนั้น” ลูกน้อยซึมซับพฤติกรรม คำพูด การกระทำของแม่เพื่อการเลียนแบบ ลูกน้อยเป็นนักสังเกตการณ์ที่เยี่ยมยอด เขาคอยดูแม้กระทั่งว่า คุณแม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ อย่างไรด้วย 
40. “การกอด การชื่นชม และการพูดด้วยความเข้าอกเข้าใจกับลูก” แม้ลูกน้อยจะอยู่ในวัย เพียง 4 ขวบ แต่คุณแม่สามารถพูดเพื่อแสดงถึงความเข้าอกเข้าใจลูกน้อยได้ในยามที่ลูกผิดหวังหรือประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เช่น “แม่รู้ว่าลูกเสียใจที่เพื่อนมาเล่น ด้วยไม่ได้ ในวันนี้”
41.  “อร๊าย รกอีกแล้ว” คุณแม่ไม่ควรพลั้งเผลอแสดงอารมณ์และคำพูดว่ากล่าวลูกเมื่อ กลับมาจากที่ทำงานแล้วพบว่า บ้านรกไปด้วยของเล่นที่กระจัดกระจายและกวาดเก็บ  ยากเป็นที่สุดการสูดลมหายใจเข้าออกลึกสัก 3-4 ครั้ง  จะช่วยยับยั้งคำพูดรุนแรงได้
42. “คำถามดีๆช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางปัญญาของลูก” คุณแม่อาจตั้งคำถามกับลูกน้อย เมื่อเดินเล่นด้วยกัน เช่น “ทำไมต้นไม้ถึงสูงรู้ไหมคะ” “รู้ไหมว่าก้อนเมฆมาจากไหน” คำถามดีๆ จะช่วยให้ลุกเริ่มคิดในระดับที่ลึกลงไปอีก และกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็นอันเป็นบ่อเกิดแห่งการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต
43. “ให้เล่นเกมในมือถือดีไหมนะ” การเล่นเกมบางอย่างช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของ ลูกได้ เช่น การสัมผัสจุดเฉพาะบนหน้าจอ แต่คุณแม่ควรจำกัดเวลาในการเล่นและถาม คำถามว่าลูกได้เรียนรู้อะไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นบ้างในเกม เป็นต้น  

 


 

อ้างอิง

นางสาว นัฐพร  โอภาสานนท์
อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร
วุฒิการศึกษา  : ศศ.บ. จิตวิทยา ม.นเรศวร
                    : วท.ม. จิตวิทยาคลินิก ม.มหิดล
        : PhD mental health University of Aberdeen United Kingdom 

บทความแนะนำ

วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัยกับผิวลูก

วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัยกับผิวลูก

วิธีทำสไลม์ ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับลูกน้อย สูตรทำสไลม์แบบง่าย ๆ และปลอดภัย ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายกับผิวลูก จะมีวิธีทำยังไงบ้าง ไปดูกัน

ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรับมือ  เบื้องต้นเมื่อลูกหัวโน

ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรับมือ เบื้องต้นเมื่อลูกหัวโน

ลูกหัวโน ลูกหกล้มจนหัวปูด อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการหัวโนของลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกหกล้มหัวโน อาการแบบไหนที่ควรรีบพาลูกไปหาหมอ

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง ทำผ่านออนไลน์ได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไร ลูกน้อยต้องอายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนนามสกุลได้ พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เหาเกิดจากอะไร คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาในเด็กเล็กได้อย่างไรบ้าง

เหาเกิดจากอะไร คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาในเด็กเล็กได้อย่างไรบ้าง

เหาเกิดจากอะไร ลูกเป็นเหา คันหนังศีรษะ คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาอย่างไร หากปล่อยไว้นาน ไม่กำจัดเหา จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม พร้อมวิธีป้องกันเหาในเด็ก

ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่

ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่

ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรได้บ้าง อยากขอใบเกิดและสูติบัตรใหม่ต้องแจ้งที่ไหน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คัดลอกสำเนานานไหม พร้อมขั้นตอนการขอสูติบัตรใหม่

ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

พ่อแม่ยุคใหม่ อยากเปิดบัญชีให้ลูกทำยังไงได้บ้าง เปิดบัญชีให้ลูกได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ต้องเตรียมเอกสารและมีขั้นตอนอย่างไร เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูก

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูก

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่อยากย้ายทะเบียนบ้านลูกต้องเตรียมเอกสารอะไร สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ไหม พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูกที่ถูกต้อง