ยิ่งเล่น ลูกยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฉลาด
การเล่นคืองานของเด็ก และการเล่น ไม่ใช่แค่การเล่น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ เด็กต้องการเล่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่กำหนดเวลา และเด็กมีความสุขเมื่อได้เล่น การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่สมองของเด็กในช่วงวัยนี้จะทำงานสูงสุดขณะเล่น ด้วยเป็นภาวะที่สมองพร้อมเรียนรู้ ไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว และมีแรงจูงใจ การเล่นช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมอง ประสบการณ์ขณะเล่นจะกระตุ้นเซลล์สมองและสารสื่อประสาทต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายเส้นใยสมอง และเพื่อให้การเรียนรู้นอกบ้านไม่สะดุด คุณแม่ควรเลือกนมยูเอชทีกล่องแรกสำหรับลูก ที่มีสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 โคลีน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
ยิ่งเล่น ลูกยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฉลาด

- เด็กวัย 1-2 ปี จะมีการเล่น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ การเล่นตามลำพัง (Solitary Play) และการเล่นแบบสังเกตการณ์ (Spectator/Onlooker Behavior)
- การเล่นตามลำพัง เด็กมักจะชอบหยิบจับสิ่งของ นำสิ่งของเข้าปากเพื่อรับรู้รสชาติ หรือเล่นต่อบล็อก เล่นดิน เล่นทราย เล่นน้ำ อย่างไรก็ตาม แม้เด็กวัยนี้จะชอบเล่นตามลำพัง แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่จะเล่นด้วยไม่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับเด็ก โดยการชวน พูด คุย หยอกล้อ หยิบ ยื่น เพราะนอกจากจะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และการรับรู้ของเด็กแล้ว เด็กยังได้เรียนรู้พัฒนาการด้านภาษาจากผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี การเล่นในช่วงวัยนี้ ควรเน้นให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ (Free Play) ให้เด็กเลือกกิจกรรมที่จะทำขึ้นมาเอง ไม่ได้ถูกบังคับ ไม่ได้มีกำหนดรูปแบบหรือวิธีการเล่นที่ตายตัว โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชี้นำ เพราะจะทำให้เด็กหมดความสนุก
- การเล่นแบบสังเกตการณ์ (Spectator/Onlooker Behavior) เนื่องจากช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่เด็กให้ความสำคัญกับการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะดูเด็กคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัว คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนหรือเปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าไปเล่นร่วมกับเด็กอื่นๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กบางคนอาจจะไม่กล้าพูดคุย การส่งเสริมให้เด็กได้เล่นกับเด็กต่างวัยและต่างเพศ จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมาก

-
ในช่วงวัยมากกว่า 2 ปี จะเริ่มมีการเล่นแบบต่างคนต่างเล่น (Parallel Play) โดยเป็นการเล่นของเด็กอย่างอิสระคือหลังจากที่ตนอาจไปสังเกตการณ์จากเด็กคนอื่นแล้ว และนำกระบวนการเล่นมาเล่นเอง เช่น สังเกตเห็นเด็กคนอื่นเล่นต่อบล็อกเป็นหุ่นยนต์ หลังจากสังเกตและเข้าใจแล้ว จึงมาเล่นตามลำพังและไม่ไปแทรกแซงการเล่นหรือขอคนอื่นเล่นด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรสอดแทรกให้เด็กรู้จักการแบ่งปัน และการแบ่งเวลาการเล่นให้ดี ให้รู้ว่าเวลานี้คือเวลาเล่น เวลานี้คือเวลากิน เวลานี้คือเวลานอน
-
ในช่วงวัย 3-4 ปี จะรู้จักเล่นร่วมกับคนอื่น (Associative Play) โดยอาจมีการเล่นกับอุปกรณ์คนละชิ้น แต่จะชอบการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเล่นเป็นกลุ่มเล็ก 2-3 คน เด็กๆ อาจมีการขอสลับอุปกรณ์ หรือใช้สถานที่หรืออุปกรณ์ในการเล่นด้วยกัน เช่น เล่นม้าหมุน แต่อาจจะไม่สามารถเล่นตามกฎกติกาได้มากนัก การเล่นแบบนี้จะทำให้เด็กรู้จักแบ่งปัน รู้จักรอคอย รู้จักแก้ปัญหา และยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรถือโอกาสนี้ในการสอดแทรกเรื่องการรอคอย การเข้าแถว การเข้าคิว ซึ่งเป็นการฝึกวินัยไปด้วยในตัว

- วัย 4 ปีขึ้นไป มีการเล่นแบบร่วมมือกัน (Cooperative Play) โดยเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เป็นการเล่นเพื่อสร้างความเพลิดเพลินและเล่นกับเด็กคนอื่น การเล่นชนิดนี้สามารถสร้างกฎกติกาให้เด็กได้เรียนรู้การแพ้ การชนะ การให้อภัย และการแบ่งปัน เช่น การเล่นเตะฟุตบอล การเล่นลิงชิงบอล การรับส่งลูกบอล การเล่นแยกสีลูกบอล การเล่นแต่งตัวตุ๊กตา เป็นต้น นอกจากนี้การให้เด็กมีโอกาสพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยการเล่นร่วมกัน จะทำให้สมองสร้างเส้นใยในส่วนที่เป็นทักษะทางสังคมแบบร่วมมือกันและมีความเห็นอกเห็นใจ ในทางตรงกันข้าม หากเด็กขาดโอกาสที่จะเล่นหรือขาดโอกาสที่จะพัฒนาทักษะทางสังคม ก็จะทำให้เด็กแยกตัว เก็บกด และก้าวร้าว เนื่องจากมีการสร้างเส้นใยสมองในส่วนที่เสริมอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรง และทำให้สารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน

การจัดให้ลูกได้เล่นของเล่นที่หลากหลายและได้มีประสบการณ์การเล่น จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส การดมกลิ่น การชิม การได้ยิน และการเห็น โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกทุกวัน วันละเล็กวันละน้อย อย่างสม่ำเสมอ ปล่อยให้ลูกมีอิสระในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และแสดงออกด้วยตนเอง ให้คำชมเชยเมื่อลูกเล่นได้สำเร็จ และให้กำลังใจถ้าเล่นไม่สำเร็จ ที่สำคัญควรจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการเล่น ตลอดจนเลือกของเล่นที่ปลอดภัยสำหรับลูก
มาดูกันว่าการเล่นแต่ละอย่างช่วยเสริมพัฒนาการของลูกในด้านใดบ้าง
รูปแบบการเล่น | ประโยชน์ |
---|---|
การเล่นบทบาทสมมติ | ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม กล้าแสดงออก ได้ฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ มือ นิ้วมือ และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือ แขน ขา และลำตัว |
ปั้นดินน้ำมัน | พัฒนาประสาทสัมผัส และส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือ และนิ้ว ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเขียน |
ต่อบล็อก | เด็กได้เรียนรู้เรื่องสีสัน รูปทรง และส่งเสริมจินตนาการ |
ร้อยกระดุมหรือลูกปัด | เวลาที่เด็กเอื้อมหยิบกระดุมหรือลูกปัด เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือ แขน ขา และลำตัว และได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ มือ นิ้วมือ ในการหยิบกระดุมหรือลูกปัดมาร้อยกับเชือก ฝึกการทำงานประสานกันของมือและสายตา ฝึกการแยกสี |
การเล่นเครื่องเล่นสนาม | เวลาที่เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนาม ได้ปีนป่าย เขาก็ต้องเรียนรู้วิธีที่จะต้องจับหรือปีนอย่างไรไม่ให้หล่นลงมา แล้วเล่นแบบไหนที่ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ให้ตัวเองต้องเจ็บตัว ทำให้เป็นคนกล้าที่จะตัดสินใจ ได้ฝึกการทรงตัว เกิดความภูมิใจในสิ่งที่ตนเองสามารถทำได้ รู้สึกสนุกสนาน ได้แสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมตามวัย ฝึกการเล่นร่วมกับคนอื่น |
เล่นดินเล่นทราย เล่นน้ำ | เด็กได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ ได้วิ่ง ได้กระโดด ได้ฝึกประสาทสัมผัสจากการสัมผัสดิน ทราย น้ำ ฝึกการทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา |
การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง | เด็กได้ฝึกการเคลื่อนไหวและการทรงตัว รู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน และกล้าแสดงออก ได้เรียนรู้ภาษาและคำศัพท์จากการฟังและร้องเพลง |
เดินสำรวจต้นไม้ดอกไม้ | พัฒนาประสาทสัมผัสจากการเห็น หยิบจับ ดมกลิ่น ได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กคือนิ้วมือในการหยิบจับ และกล้ามเนื้อมัดใหญ่คือขาในการเคลื่อนไหว ได้เรียนรู้ภาษาและคำศัพท์ชื่อต้นไม้ ดอกไม้ |
ทำอาหาร | พัฒนาประสาทสัมผัสทุกส่วนจากการเห็น หยิบจับ ดมกลิ่น และชิมรส ได้ใช้ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เด็กรู้สึกสนุกสนาน ได้ใช้เวลาร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ ได้เรียนรู้คำศัพท์ผัก ผลไม้ และอุปกรณ์ในครัว ฝึกการชั่ง ตวง วัด นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ |
นอกจากการส่งเสริมให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ เหมาะสมตามวัยแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือ สำหรับเด็กวัย 1 ขวบขึ้นไปคือควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ เสริมนม UHT วันละ 2-3 กล่อง
โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ ออกไปเล่น เพื่อความสะดวก ควรเลือกนมยูเอชทีกล่องแรกสำหรับลูกที่มีสฟิงโกไมอีลิน ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ซึ่งมีผลต่อการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง และควรมีดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 โคลีน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ไม่มีสะดุด
อ้างอิง
บทความแนะนำ

พัฒนาการของลูกน้อยวัย 2 ขวบ วัยนี้ลูกน้อยควรทำอะไรได้บ้าง
สัญญาณเตือนแบบไหนที่แสดงว่ามีพัฒนาการช้า เมื่อลูกน้อยมีอายุเข้าถึงวัย 2 ปี นั่นคือช่วงเวลาที่เขาได้เปลี่ยนจากเด็กทารก เข้าสู่การเป็นเด็กวัยเตาะแตะ และเตรียมเข้าสู่วัยอนุบาล ซึ่งในช่วงวัยนี้ ลูกจะมีพัฒนาการที่สำคัญมากมายหลายอย่าง เช่น จากที่พูดไม่เป็นภาษา ก็จะเริ่มสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่เป็นคำได้แล้ว และแน่นอนว่า ลูก ๆ มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องพัฒนาการของลูกวัย 2 ขวบกันค่ะ

อาหารตามวัย บำรุงร่างกายและสมองลูก
หลังจากลูกน้อยกินนมแม่มาตลอด 6 เดือน ก็ถึงเวลาทำความรู้จักกับอาหารชนิดอื่น ๆ รวมถึงอาหารบำรุงสมองลูกน้อยที่อุดมด้วยสารอาหารจำเป็นต่อการพัฒนา ระบบประสาท สมอง และร่างกาย ให้ทำงานได้เต็มศักยภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสุขภาพ (สสส.) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการบำรุงสมองว่า นอกจะต้องนอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้ว เด็ก ๆ ยังจำเป็นต้อง ทานอาหารที่ดีต่อสมอง

อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันแม่จ๋ารีบหาให้ลูกทาน สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกกันเถอะ
เด็กๆ ควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ได้รับพลังงาน เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพื่อให้เจริญเติบโตสมวัยเพื่อการพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีนั่นเองค่ะ นอกจากจะมีประโชน์กับเด็กๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คุณแม่รู้ไหมคะว่าสารอาหารบางชนิดยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บให้กับเด็กๆ ได้ด้วยนะ ส่วนจะเป็นสารอาหารตัวไหนและพบในอาหารชนิดใดไปดูกันเลยค่ะ