แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

05.08.2022

เมื่อคุณแม่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ย่อมมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย เรามีเคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้องที่อาจพบ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย

headphones

PLAYING: แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

อ่าน 4 นาที

การดูแลครรภ์ของคุณแม่ ตลอด 9 เดือน

  • เริ่มจากการฝากครรภ์ เพื่อดูแลสุขภาพของทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ ลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดระหว่างการตั้งครรภ์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับอาหารครบ 5 หมู่ โดยจะต้องได้รับพลังงานจากอาหารเพิ่มขึ้นตามแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ เพิ่มสารอาหารจำพวก โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน
  • ควบคุมน้ำหนักให้พอดี 
  • ดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลสุขภาพปากและฟัน แต่งกายเหมาะกับคนท้อง ใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย พยายามไม่ใส่รองเท้าส้นสูง พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม จนรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป
  • ทำงานประจำวันได้ตามปกติ ไม่ควรทำงานหนักจนเกินไป

 

วิธีรับมือกับความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์

 

วิธีรับมือกับความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ทำความเข้าใจกับปัญหา หรือ เรื่องที่กำลังกังวล เมื่อคุณแม่เข้าใจข้อเท็จจริงแล้ว อาจช่วยคลายความกังวลนั้นลงได้
  • ฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน คิดถึงสิ่งที่กำลังทำในปัจจุบัน หากเมื่อคิดถึงสิ่งที่กำลังกังวล ให้พยายามดึงกลับมาคิดถึงสิ่งที่กำลังทำ ณ ปัจจุบันอีกครั้ง นอกจากจะทำให้คุณแม่ไม่คิดฟุ้งซ่านแล้ว การระลึกถึงปัจจุบัน จะช่วยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  • ระบายความกังวล หรือ ความเครียด ออกมา ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ หรือ การเขียนบันทึกประจำวัน
  • ออกกำลังกาย
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ฝึกการหายใจ นั่งสมาธิ

 

เข้าใจอาการคนท้อง อาการที่พบขณะตั้งครรภ์

 

เข้าใจอาการคนท้อง อาการที่พบขณะตั้งครรภ์

  • คลื่นไส้ อาเจียน อาการแพ้ท้อง พบได้ตั้งแต่ประจำเดือนเริ่มขาด
  • ท้องอืด เพราะ กระเพาะอาหาร และลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดลม หรือ แก๊ส อาหารย่อยยาก ของหมักดอง
  • ท้องผูก เพราะลำไส้เคลื่อนไหวน้อย ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 6-8 แก้ว
  • ปัสสาวะบ่อย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ตกขาว พบได้ตลอดระยะตั้งครรภ์
  • ตะคริว คุณแม่ตั้งครรภ์ มักพบที่บริเวณปลายเท้า และน่อง
  • เส้นเลือดขอด

 

อาการที่เป็นสัญญาณให้คุณแม่ท้องต้องรีบไปพบแพทย์

 

อาการแบบไหนเป็นสัญญาณอันตราย ต้องรีบไปพบแพทย์

  • คลื่นไส้ อาเจียน มากกว่าปกติ จนกินอาหารไม่ได้
  • ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า
  • ปัสสาวะขัด แสบ มีไข้
  • ตกขาว มีกลิ่นเหม็น มีสีเขียวปนเหลือง มีอาการ แสบ คัน ที่ช่องคลอด
  • บวม ตาม หน้า มือ และเท้า
  • ลูกดิ้นมาก หรือ น้อยลง จนรู้สึกผิดสังเกต ไม่ควรรอให้ลูกหยุดดิ้น
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดท้องรุนแรง หรือ ท้องแข็งเกร็ง บ่อยมาก

 

หากคุณแม่มือใหม่ มีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพการตั้งครรภ์ โภชนาการ และพัฒนาการลูกน้อย สามารถปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชียวชาญได้ที่ S-Mom Club ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพียงสมัครสมาชิกฟรีที่ https://www.s-momclub.com/profile/register 

 

S-Mom Club พร้อมเคียงข้างช่วงเวลาสำคัญของคุณและลูกน้อย

 

บทความแนะนำ

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายหรือไม่ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายหรือไม่ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม หอยนางรมมีประโยชน์กับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน หากคุณแม่กินเยอะเกินไป จะอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือเปล่า ไปหาคำตอบกัน

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสิทธิประกันสังคมต้องรู้ เบิกค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม และรายละเอียดที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้น

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวม เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาการคนท้องเท้าบวม อาจไม่ส่งผลอันตราย แต่คุณแม่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะผิดปกติขณะตั้งครรภ์

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดจากอะไร ทำยังไงให้คุณแม่ถ่ายง่ายขึ้น

ท้องผูกตั้งครรภ์อ่อน ๆ เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ คุณแม่สามารถรับมือได้อย่างถูกวิธี โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำมากๆ และทำตามตามคำแนะนำของแพทย์