วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

25.09.2019

เวลาที่ลูกน้อยนอนหลับสบาย คุณแม่ก็อยากให้นอนอย่างเต็มที่ แต่อีกใจก็กังวลกลัวว่าลูกน้อยจะหิว คุณแม่ควรปลุกลูกมากินนมตามเวลาหรือไม่ มาหาคำตอบไปด้วยกันว่าคุณแม่ควรให้นมลูกอย่างไรและมีวิธีปลุกลูกมากินนมอย่างไรในเวลาที่ลูกน้อยนอนหลับ

headphones

PLAYING: วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

อ่าน 4 นาที

ทารกแรกเกิดควรกินนมแม่บ่อยแค่ไหน

ส่วนใหญ่แล้ว ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักลดในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด จึงจําเป็นมากที่จะต้องให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดกินนมแม่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด จนกว่าลูกน้อยจะมีน้ำหนักตัวเป็นปกติตามเกณฑ์ ซึ่งจะใช้เวลาราว 1-2 สัปดาห์หลังคลอด  หากลูกน้อยนอนยาวมากกว่า 4 ชั่วโมง คุณแม่ก็อาจต้องปลุกลูกมากินนมเป็นครั้งคราว

 

เมื่อลูกน้อยแรกเกิดมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่เหมาะสม คุณแม่ก็สามารถที่จะรอจนกว่าลูกจะตื่น จึงค่อยป้อนนมได้หรือรอให้ลูกนอนหลับ ให้เต็มที่ แล้วจึงปลุกลูกกินนมได้เช่นกัน


ทารกควรเข้าเต้าบ่อยแค่ไหนในแต่ละวัน

ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จำเป็นต้องกินนม 8-12 ครั้งต่อวัน ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าการปลุกลูกกินนมให้ลูกตื่นมาดูดนมแม่อาจเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ค่อยอยากทำเท่าไหร่นัก  แต่การให้นมบ่อย ๆ ในช่วงแรกนั้น มีเหตุผลสำคัญหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ

  1. ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ ลูกหยุดร้องเร็วเท่านั้น ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ ก็จะประหยัดเวลาในการปลอบประโลมเขาให้เงียบได้เร็วเท่านั้น คุณแม่จึงควรสังเกตสัญญาณที่แสดงว่าลูกหิว เช่น ขยับตัว กระสับกระส่าย ทําท่าห่อปากดูดนม และขยับริมฝีปาก
  2. ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้มากขึ้น ถ้าคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความถี่ในการให้นมจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณแม่ได้       

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว

คุณแม่มือใหม่อาจกังวลว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมอิ่มพอแล้ว คุณแม่สามารถสังเกตสัญญาณบางอย่างได้ ดังนี้

  • เมื่อลูกอิ่มนมแล้ว ลูกจะคายหัวนมออกเอง และดูผ่อนคลาย ไม่โยเย
  • ลูกดูดนมช้าลงหรือหยุดดูดแล้ว
  • ลูกน้อยคายปากออกจากหัวนมแม่ หรือผลักนมออกจากตัว
  • ลูกน้อยหันศีรษะออกจากอกคุณแม่ หรือทำท่าโก่งหลังเพื่อให้หัวนมหลุดจากปาก
  • ลูกตาปรือ เริ่มนอนหลับ
  • เต้านมและลานนมของคุณแม่จะนิ่มลงเอง ไม่ตึงแข็ง

นอกจากนี้ คุณแม่อาจสังเกตได้จากปัสสาวะของลูกน้อยที่มักจะมีสีเหลืองอ่อนใส ชุ่มผ้าอ้อมประมาณวันละ 6-8 ครั้ง หรือน้ำหนักตัวของลูกน้อยที่ขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

วิธีปลุกลูกกินนม ลูกหลับสนิท ควรปลุกลูกเข้าเต้าดีไหม

 

ลูกหลับสนิท ควรปลุกลูกเข้าเต้าดีไหม?

คุณแม่สามารถให้ลูกดูดนมได้บ่อยตามความต้องการของลูก แต่โดยมากลูกจะดูดนมประมาณ 8-12 ครั้งต่อวันซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมแม่ มาเร็ว ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ถ้าหากว่าลูกหลับนานกว่า 3 ชั่วโมง ก็ควรปลุกลูกกินนมหรือให้ลูกดูดนมด้วยเหมือนกัน เพราะลูกอาจได้รับนมไม่พอ ตัวคุณแม่เองก็อาจจะมีปัญหาเต้านมคัดและน้ำนมลดลงได้เช่นกัน

 

กุมารแพทย์  แนะนำให้ปลุกลูกกินนม และควรรู้วิธีเอาลูกเข้าเต้า ด้วยวิธีที่ถูกต้อง หากถึงกำหนดเวลาต้องให้อาหารทั้งกลางวันและกลางคืน ทารกไม่ควรนอนหลับยาวโดยไม่ได้รับสารอาหารเกิน 3-4 ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดกับการให้นมลูกตามเวลามากนักก็ได้ เพราะในแต่ละมื้อ ลูกอาจดูดนมได้ไม่เท่ากัน เพียงแค่หมั่นสังเกตว่า ลูกต้องการอย่างไร

 

วิธีปลุกลูกกินนม เข้าเต้าไม่ให้งอแง

 

วิธีปลุกลูกกินนม ให้ลูกเข้าเต้าไม่ให้งอแง

5 วิธีปลุกลูกกินนม เมื่อลูกน้อยนอนหลับสนิทมาเข้าเต้า โดยไม่เป็นการรบกวนลูกน้อย สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้

  1. การปลุกลูกกินนม หากมีผ้าหรือผ้าห่มคลุมตัวทารกอยู่ให้เอาผ้าห่ม หรือผ้าคลุมตัวทารกออก เพื่อให้ทารกขยับแขนขาได้สะดวก แล้วค่อย ๆ อุ้มลูก ให้ริมฝีปากได้สัมผัสกับหัวนม ค่อย ๆ เขี่ยริมฝีปากลูก ให้ลูกรับรู้ว่าถึงเวลากินนมแล้ว
  2. จัดท่านั่งให้ลูกน้อยอย่างเหมาะสม โดยเป็นท่าที่ลำตัวค่อนข้างอยู่ในแนวตั้ง
  3. นวดลำตัวทารกเบา ๆ และพูดคุยกับลูกน้อย
  4. ไม่ปลุกลูกกินนม ด้วยการทำให้เจ็บโดยการตี หรือจิกที่แก้มหรือเท้า
  5. เปิดไฟหรี่ให้ห้องพอมีแสงสว่าง เพื่อไม่ให้ลูกน้อยรู้สึกแสบตา หรือเป็นการปลุกแบบฉับพลัน


ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเข้าเต้าได้ไหม ควรบ่อยแค่ไหน?

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะต้องการสารอาหารเป็นพิเศษ และอาจไม่แสดงสัญญาณของความหิวที่แท้จริงได้จนกว่าลูกจะมีอายุมากขึ้น ถ้าลูกน้อยของคุณแม่คลอดก่อนกำหนดหรือคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบการกินนม การเพิ่มน้ำหนักตัว หรือ พัฒนาการเด็กเล็ก แนะนำคุณพ่อคุณแม่ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำอย่างใกล้ชิด


อ้างอิง

  1. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/expert-answers/newborn/faq-20057752
  2. นมแม่จะพอหรือ รู้ได้อย่างไร

อ้างอิง ณ วันที่ 29 กันยายน 2566
 

บทความแนะนำ

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าง่ายขึ้น พร้อมวิธีลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ อยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส  ที่ช่วยพัฒนาสมอง

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม ?  คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไร

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารก ตารางให้นมทารก ลูกน้อยควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณและความถี่ที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

คุณแม่ให้นมลูกเอง น้ำนมแม่ถือเป็นวัคซีนเข็มแรกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ลูกไม่ป่วยง่าย คุณแม่ควรศึกษาวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมเคล็ดลับเพิ่มน้ำนม

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

คุณแม่รู้ไหม นมส่วนหน้าและนมส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร น้ำนมคุณแม่มีทั้งหมดกี่ระยะ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน