เมื่อแม่หลังคลอดต้องกลับไปทำงาน เตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

คุณแม่หลังคลอด ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

26.03.2020

เมื่อถึงเวลากลับไปทำงานหลังลาคลอดแล้ว เวลาที่จะต้องจากลูกรักเพื่อกลับไปทำงาน แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกใจหายเพราะได้เลี้ยงใกล้ชิดมาตลอด 3 เดือน ในช่วงแรก ๆ อาจจะขลุกขลักไปบ้าง แต่ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้นเอง มาเตรียมตัวกลับไปทำงานหลังลาคลอดอย่างสบายใจกันค่ะ สู้เพื่อลูก เป็นกำลังใจให้ Working mom ทุกคนนะคะ และ Working mom ต้องรู้ นมแม่ไม่ใช่แค่ดีต่อใจ แต่ดีต่อสมองของลูกด้วย

headphones

PLAYING: คุณแม่หลังคลอด ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

อ่าน 4 นาที

เมื่อแม่หลังคลอดต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน 

เมื่อถึงเวลากลับไปทำงานหลังลาคลอดแล้ว เวลาที่จะต้องจากลูกรักเพื่อกลับไปทำงาน แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกใจหายเพราะได้เลี้ยงใกล้ชิดมาตลอด 3 เดือน ในช่วงแรก ๆ อาจจะขลุกขลักไปบ้าง แต่ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้นเอง มาเตรียมตัวกลับไปทำงานหลังลาคลอดอย่างสบายใจกันค่ะ สู้เพื่อลูก เป็นกำลังใจให้เวิร์กกิ้ง มัม ทุกคนนะคะ

 

เมื่อแม่หลังคลอดต้องกลับไปทำงาน เตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

เมื่อถึงเวลาต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน...


ก่อนจะกลับไปทำงานต้องรู้อะไรบ้าง คุณแม่ เวิร์กกิ้ง มัม ที่การลาคลอดเดินทางมาใกล้ถึง 90 วัน คงกังวลไม่น้อยกับวันที่ 91 ที่กำลังจะมาถึง บางคนอาจจะเพิ่งตื่นตัว หากคุณแม่ กำลังหา how-to ดีดี สำหรับการเตรียมตัวกลับไปทำงาน วันนี้เรามีเคล็ดลับการเตรียมตัวมาบอกค่ะ 


1. ฝากลูกไว้กับใครหลังกลับไปทำงาน 
หากคุณอยู่กับพ่อและแม่ คนแรกที่ควรนึกถึงคือ คุณแม่ของคุณเองหรือคุณยาย เพราะท่านจะคอยดูแลลูกของคุณอย่างสุดฝีมือ และนั่นก็จะทำให้คุณรู้สึกอุ่นใจ ที่ลูกน้อยได้อยู่กับคนที่คุณไว้ใจ แต่หากคุณไม่มีผู้ใหญ่ที่จะช่วยดูแลลูก คงต้องมองหาเนอร์สเซอรีที่มีคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อฝากดูแลลูกในเวลากลางวัน


2. Checklist สิ่งที่ต้องเตรียมหลังกลับไปทำงาน 
คุณแม่อาจแบ่งสิ่งที่ต้องทำออกเป็น งานในบ้านและงานนอกบ้าน หรือไม่ก็งานของคุณแม่และงานของคุณพ่อ รวมถึงสิ่งที่จำเป็นต้องทำ สิ่งที่รอได้ และสิ่งที่เว้นไปก่อนก็ได้ เพื่อให้คุณสามารถจัดลำดับงานต่าง ๆ ของคุณได้อย่างลงตัว เช่น หากต้องฝากเลี้ยง คุณแม่ควรเตรียมของใช้ให้พร้อมตั้งแต่ก่อนเข้านอน จัดของลูกที่จำเป็นให้ครบ ทั้งเสื้อผ้า แพมเพิส ขวดนม นมแม่ที่บรรจุถุงเรียบร้อย หรือนมผงจัดแบ่งให้พร้อม เลือกชุดใส่ไปทำงานเตรียมไว้ ล้างอุปกรณ์และเตรียมปั๊มนมไว้ให้เรียบร้อย เมื่อถึงตอนเช้าคุณแม่จะได้ไม่ต้องฉุกละหุกกับการจัดเตรียมของ


3. มีแผนสำรองเตรียมไว้เสมอ 
สิ่งต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น คุณแม่จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรหากลูกน้อยของคุณไม่สบาย หรือหากคุณยายไม่สบายไม่สามารถดูแลลูกให้คุณได้ หรือวันไหนที่คุณแม่มีประชุมต้องกลับค่ำ ควรหาแผนสำรองว่าจะฝากใครช่วยเลี้ยงได้บ้าง


4. คุยกับเจ้านายและทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงาน 
คุณแม่ควรพูดคุยกับเจ้านายว่าต้องการเวลาสำหรับปั๊มนมให้ลูก เพื่อหัวหน้างานจะได้จัดสรรเวลาการทำงานให้ได้อย่างเหมาะสม คุณแม่ควรเตรียมปั๊มนมสต๊อกเก็บไว้สม่ำเสมอนะคะ เก็บตั้งแต่ก่อนเริ่มไปทำงานเลยค่ะ รวมถึงเมื่อไปทำงานแล้วในระหว่างวันที่ต้องทำงานก็ควรหาเวลาว่างเพื่อนั่งปั๊มนมเก็บไว้ อาจจะปั๊มทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมไปด้วย แต่หากไม่สะดวกคุณอาจใช้เวลาก่อนออกจากบ้านและทันทีที่กลับถึงบ้านควรปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้ค่ะ


5. ดูแลลูกแล้ว อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย
เมื่อถึงเวลาต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน หลังจากในวันหยุดที่คุณแม่ต้องดูแลลูกด้วยตัวเอง คุณแม่มือใหม่อาจจะเป็นกังวลว่าจะดูแลลูกน้อยได้ไม่เต็มที่ จนบางทีไม่ยอมหลับยอมนอนเพราะห่วงลูกมากเกินไป ซึ่งคุณแม่ต้องผ่อนคลายจิตใจของตนเองด้วย และควรหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง เช่น หลับพักผ่อนสักหน่อย เวลาที่คุณแม่ดูแลเจ้าตัวน้อยจนหลับปุ๋ยแล้ว คุณแม่อาจจะอ่านหนังสือเล่มโปรด นั่งฟังเพลงสบาย ๆ เพื่อผ่อนคลาย เวลาที่ลูกน้อยเข้านอนเป็นเวลาพักผ่อนที่ดีสำหรับคุณแม่ ทางที่ดีควรใช้ช่วงเวลานี้งีบหลับด้วยเช่นกัน คุณแม่จะได้ไม่เหนื่อยจนเกินไป ต้องพยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนะคะ
 

เวิร์คกิ้งมัมต้องรู้ นมแม่ไม่ใช่แค่ดีต่อใจ แต่ดีต่อสมองของลูกด้วย 

นมแม่นอกจากจะดีต่อใจทั้งแม่และลูกแล้ว ยังดีต่อสุขภาพและความฉลาดของลูกน้อยในอนาคตอีกด้วย นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารมากมายโดยสารอาหารหลักคือ ไขมัน โปรตีน แลคโตส วิตามิน เกลือแร่และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย สมองของคนเราประกอบด้วยไขมัน 60%

โดยไขมันเป็นส่วนประกอบหลักของไมอีลินในสมอง ส่วนดีเอชเอ ธาตุเหล็ก โคลีน วิตามิน บี12  โปรตีน และสฟิงโกไมอีลินก็เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการสร้างเจ้าตัวไมอีลินค่ะ  “สฟิงโกไมอีลิน” คือหนึ่งในสารอาหารช่วยสร้างไมอีลิน  และไมอีลินก็ช่วยให้สมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่่อสมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกก็จะฉลาดเรียนรู้ไว ไอคิวสูง นั่นเองค่ะ  เห็นหรือยังคะว่าดื่มนมแม่ก็มีส่วนช่วยให้ลูก ฉลาด สมองดี เรียนรู้ไวได้แล้ว “สฟิงโกไมอีลิน” พบมากในนมแม่ ไข่ ผลิตภัณฑ์นม และชีส ดังนั้นในช่วง 2 ปีแรกของชีวิตของเด็กทารก หากได้รับสารนี้อย่างเหมาะสม จะทำให้สมองดี เรียนรู้ไว


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี  

สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญต่อสมองลูก

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/momandkid/1659948 

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/momandkid/1360713

บทความแนะนำ

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าง่ายขึ้น พร้อมวิธีลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ อยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส  ที่ช่วยพัฒนาสมอง

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม ?  คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไร

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารก ตารางให้นมทารก ลูกน้อยควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณและความถี่ที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

คุณแม่ให้นมลูกเอง น้ำนมแม่ถือเป็นวัคซีนเข็มแรกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ลูกไม่ป่วยง่าย คุณแม่ควรศึกษาวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมเคล็ดลับเพิ่มน้ำนม

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

คุณแม่รู้ไหม นมส่วนหน้าและนมส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร น้ำนมคุณแม่มีทั้งหมดกี่ระยะ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน