6 ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ให้ลูกอิ่มสบาย พร้อมวิธีป้องกันอาการท้องอืด

6 ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ให้ลูกอิ่มสบาย พร้อมวิธีป้องกันอาการท้องอืด

17.04.2024

คุณแม่มือใหม่ที่เริ่มต้นให้ลูกดูดนมได้สบาย เกลี้ยงเต้า มาฝากกัน มีทั้งท่าสำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ และที่ผ่าคลอดด้วย แถมด้วยท่าจับลูกอุ้มเรอแบบถูกต้อง ช่วยลดท้องอืดแน่นอนค่ะ

headphones

PLAYING: 6 ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ให้ลูกอิ่มสบาย พร้อมวิธีป้องกันอาการท้องอืด

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ท่าให้นมที่เหมาะสม จะทำให้เจ้าตัวเล็กกินนมได้ง่ายขึ้น เข้าเต้าและดูดจนเกลี้ยงเต้าได้ง่าย คุณแม่เต้านมหายคัดตึง ลูกท้องไม่อืด
  • สำหรับคุณแม่ผ่าคลอด แนะนำท่านอนและท่าอุ้มลูกฟุตบอล จะเป็นท่าที่ตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่
  • การอุ้มเรอหรือการอุ้มไล่ลมให้ลูกเรอ นั้นก็เพื่อลดอาการแน่นท้อง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ลูกแหวะนมได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ท่าให้นมที่เหมาะสม จะทำให้เจ้าตัวเล็กกินนมได้ง่ายขึ้น เข้าเต้าและดูดจนเกลี้ยงเต้าได้ง่าย และจะช่วยทั้งคุณแม่และลูกผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ซึ่งเรามีให้เลือกหลายท่า ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้ท่าใดท่าหนึ่งตลอด เพราะคุณแม่มีสรีระที่ต่างกัน อาจจะไม่เหมาะกับบางท่า ก็ควรเลือกท่าที่ถนัด ผ่อนคลาย สามารถเปลี่ยนท่าไปได้เรื่อย ๆ จนเจอท่าเหมาะสมกับคุณแม่มากที่สุด

 

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง

  • เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมเต็มที่ สังเกตจากการที่เต้าที่คัดตึงจะเบาลงจนคุณแม่รู้สึกได้
  • เพื่อให้ลูกเติบโตตามพัฒนาการ นมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโต และมีพัฒนาการทารกที่สมวัย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
  • ช่วยลดอาการคัดเต้าของคุณแม่ได้ เนื่องจากท่าให้นมที่ถูกต้องจะทำให้ลูกน้อยได้รับนมจนเกลี้ยงเต้า อาการคัดเต้าของคุณแม่ก็จะบรรเทาลง
  • ช่วยป้องกันอาการท้องอืดของลูก ท่าที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกเข้าหาเต้าได้ง่ายขึ้น ดูดและกลืนน้ำนมได้ดี ซึ่งจะลดการเกิดอากาศที่ลูกดูดเข้าไปตอนดูดนม ทำให้ลูกเรอออกมาได้ง่ายและป้องกันทารกท้องอืดได้อีกด้วย
  • ช่วยลดอาการปวดเมื่อยของคุณแม่ เมื่อต้องให้นมลูก ท่าที่เหมาะสมจะไม่ทำให้คุณแม่เกร็งหรือเมื่อยตลอดการให้นม

 

6 ท่าให้นมลูกที่คุณแม่ทำตามได้เลย

6 ท่าให้นมลูก

 

1. ท่าอุ้มนอนขวางบนตักแม่ (Cradle Hold)

ท่านี้จะต้องอุ้มลูกแนวขวางบนตัก ให้ท้ายทอยลูกอยู่บนแขนของคุณแม่ ใช้มือช้อนไปที่ส่วนหลังและก้นของลูก เหมือนท่าอุ้มปกติ เอนตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านม ให้หน้าอกลูกและคุณแม่ชิดกัน แล้วใช้มืออีกข้างพยุงเต้านม

 

2. ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Modified/Cross Cradle Hold)

อุ้มลูกน้อยวางไว้บนตักคล้ายท่าแรกแต่เปลี่ยนการวางมือ เปลี่ยนจากมือที่พยุงเต้านม เป็นช้อนท้ายทอยลูกแทน

 

3. ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch Hold/Football Hold)

ท่านี้ลูกจะอยู่ที่สีข้างแม่ ปลายเท้าชี้ไปด้านหลัง หากไม่ถนัดให้หาหมอนหนา ๆ สักใบวางไว้ด้านข้างคุณแม่ วางลูกน้อยให้อยู่บนหมอนให้ลำตัวของลูกน้อยอยู่ใต้แขนของคุณแม่ แล้วใช้มือประคองท้ายทอย คอ และส่วนหลังของลูก เหมือนอุ้มลูกฟุตบอลเหน็บไว้ข้างลำตัว

 

4. ท่านอนตะแคง (Side Lying Position)

คุณแม่และลูกนอนตะแคงหันหน้าเข้าหากันให้ศีรษะแม่อยู่สูงเล็กน้อย วางลูกให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมเพื่อนำหัวนมเข้าปากลูก เมื่อเห็นว่าลูกดูดนมได้ดี สามารถขยับออก ประคองต้นคอและหลังได้

 

5. ท่าเอนตัว (Laid-back Hold)

คุณแม่นอนเอนตัวแล้ววางลูกไว้ตรงหน้าอกของแม่ ใช้มือโอบกอดลูกน้อยไว้ และทำให้ศีรษะลูกเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันการปิดกั้นของทางเดินหายใจ

 

6. ท่าตั้งตรง (Upright or Standing Baby)

อุ้มลูกน้อยให้ตัวตั้งตรง ขาลูกจะคร่อมอยู่ที่ต้นขาคุณแม่ ให้ศีรษะและลำตัวของลูกเอนลงเล็กน้อย แล้วใช้มือประคองศีรษะของลูกและมืออีกข้างพยุงเต้านม

 

คุณแม่ผ่าคลอด ควรเลือกใช้ท่าให้นมท่าไหน

สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดที่ยังเจ็บแผลผ่าคลอดอยู่ไม่ต้องกังวล เพราะคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ด้วย 2 ท่าที่เราจะแนะนำนี้ จะเป็นท่าที่ตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่ และยังเหมาะกับคุณแม่ที่คลอดลูกแฝด เพราะสามารถให้ลูกดูดนมจากทั้งสองเต้าพร้อม ๆ กันได้ หรือคุณแม่ที่มีเต้านมใหญ่เพราะลูกจะเข้าอมงับเต้านมได้ดีกว่า

 

ท่าให้นมลูกสำหรับแม่ผ่าคลอด

 

1. ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch hold หรือ Football hold)

ท่านี้ลูกจะอยู่ในท่ากึ่งนอนตะแคงกึ่งนอนหงาย ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่ มือแม่จะจับที่ต้นคอและท้ายทอยของลูก หากไม่ถนัดให้ลองหาหมอนหนา ๆ รองตัวลูกไว้ แล้วกอดลูกให้กระชับกับสีข้างแม่ ลูกดูดนมจากเต้านมข้างเดียวกับมือที่จับลูก ส่วนมืออีกข้างประคองเต้านมไว้

 

2. ท่านอน (Side lying position)

เหมาะสำหรับคุณแม่ผ่าคลอดที่ต้องการพักผ่อน หรือช่วงให้นมกลางคืน แม่ลูกนอนตะแคงหันหน้าเข้าหากัน โดยคุณแม่จะต้องนอนตัวตรง ให้ศีรษะสูงเล็กน้อย เอนลูกน้อยให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ ใช้มือประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่ หากไม่ถนัดอาจใช้ผ้าขนหนูม้วน หรือหมอนหนุนหลังลูกแทนแขนแม่ก็ได้ มือด้านบนประคองเต้านมในช่วงแรกที่เริ่มเข้าเต้า เมื่อลูกดูดได้ดีก็ขยับออกได้

 

ท่านอนให้นมลูก มีข้อดียังไงบ้าง

  1. ทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เมื่อย - เป็นท่าสบาย ๆ ไม่ต้องลุกนั่ง คุณแม่จึงสามารถพักผ่อนในขณะให้นมลูกได้
  2. เหมาะกับการให้นมลูกก่อนนอน - เป็นท่าที่คุณแม่ได้ผ่อนคลาย ในช่วงค่ำคืน
  3. ช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่น - เพราะทั้งคู่นอนตะแคงข้างหันหน้าเข้าหากัน จึงมองเห็นกันระหว่างลูกเข้าเต้า ช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น และนอนได้นานขึ้น
  4. เป็นท่าที่เหมาะกับแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง - เพราะท่านี้ลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่

 

ท่านอนให้นม มีข้อดียังไงบ้าง

 

ทำไมต้องจับเรอ หลังให้นมลูกเสร็จทุกครั้ง

เพราะระหว่างการดูดนมแม่นั้นลูกดูดเอาอากาศเข้าไปด้วย หากลูกเข้าเต้าได้ไม่ดี บางครั้งอาจได้อากาศเข้าไปมากจนท้องอืด การอุ้มเรอหรือการอุ้มไล่ลมให้ลูกเรอ นั้นก็เพื่อลดอาการแน่นท้อง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ลูกแหวะนมได้ โดยควรทำทันทีหลังจากให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วทุกครั้ง หรือทำให้ลูกเรอก่อนที่จะให้ลูกมาดูดนมอีกข้าง

 

รวมท่าจับเรอให้ลูกน้อย แบบทำตามได้เลย

1. อุ้มพาดบ่า

เป็นการไล่ลมในท่าอุ้มพาดบ่า ให้คุณแม่อุ้มลูกโดยเอาตัวพาดไหล่ให้คางของลูกอยู่ที่บ่าของแม่ ใช้ฝ่ามือลูบหลังโดยลูบขึ้นบนจนได้ยินเสียงเรอของลูก

 

2. อุ้มนั่งบนตัก

เป็นท่าไล่ลมแบบนั่ง โดยการอุ้มลูกนั่งตักแล้วให้โน้มตัวลูกมาด้านหน้าเล็กน้อย ใช้มือข้างหนึ่งประคองใต้คางลูก อีกมือหนึ่งลูบหลังเบา ๆ จนได้ยินเสียงเรอของลูก

 

หลังจากอุ้มลูกเรอเสร็จแล้ว แนะนำว่าคุณแม่ควรจัดท่าให้ลูกนอนตะแคงขวาเพราะจะช่วยทำให้น้ำนมไหลลงสู่กระเพาะและลำไส้เล็ก ซึ่งจะช่วยทำให้มีการย่อยและการดูดซึมของน้ำนมได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้อากาศที่ลูกดูดเข้าไปตอนที่ดูดนมลอยไปอยู่ส่วนบนของกระเพาะ ซึ่งจะทำให้ลูกเรออกมาได้ง่ายและป้องกันท้องอืดของลูกได้อีกด้วย ท่าให้นมนั้นคุณแม่สามารถเลือกท่าที่ตัวเองถนัดและเหมาะกับช่วงเวลาได้ เพื่อให้การให้นมแม่นั้นไม่สะดุด อย่าลืมสังเกตอาการของลูกด้วยว่าท่าไหนที่ลูกเข้าเต้าได้ดี และดูดนมได้สบาย ๆ จนเกลี้ยงเต้า และคุณแม่เองก็ไม่รู้สึกเกร็งหรือเมื่อยมาก ท่านั้นอาจจะเป็นท่าที่เหมาะสำหรับทั้งคู่นั่นเอง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ท่าในการให้นมแม่ที่ถูกต้องและการอุ้มเรอ, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  2. เทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  3. แผ่นพับคลินิกนมแม่, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. การจัดท่าให้นมบุตร คลินิกนมแม่, โรงพยาบาลกรุงเทพ

อ้างอิง ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้อง หลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้อง หลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่าย ท้องไม่อืด หลังกินนม

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

คุณแม่หลังคลอด นวดเปิดท่อน้ำนมอย่างไรได้บ้าง คุณแม่ที่มีน้ำนมน้อย จะนวดเปิดท่อน้ำนมได้อย่างไร ไปดูวิธีนวดเต้าหลังคลอด นวดกระตุ้นน้ำนมเพื่อลูกน้อยกัน

ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนม อาการแหวะนมของลูกน้อย เกิดจากอะไรได้บ้าง ลักษณะแบบไหนที่บอกว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติ พร้อมวิธีรับมือกับลูกน้อย เมื่อทารกแหวะนม

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร ทำหมันแล้วแต่ยังท้อง เป็นไปได้แค่ไหน

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร ทำหมันแล้วแต่ยังท้อง เป็นไปได้แค่ไหน

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ที่ทำหมันแล้ว มีโอกาสท้องอีกไหม สถิติทำหมันแล้วท้อง เกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบเกี่ยวกับการท้องในคนทำหมันกัน

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าง่ายขึ้น พร้อมวิธีลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ อยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส  ที่ช่วยพัฒนาสมอง

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม ?  คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไร

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก