พัฒนาการเด็ก 1 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทารก 1 เดือน

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทารก 1 เดือน

24.09.2019

เจ้าตัวน้อยอายุได้ 1 เดือนแล้ว พัฒนาการเด็ก 1 เดือน เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คุณแม่ควรส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กเล็กให้เหมาะสมกับวัย พร้อมกับให้ลูกกินนมแม่อย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารกว่า 200 ชนิด เพื่อการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงของลูกน้อยทั้งทางร่างกาย และพัฒนาการทางสมองของลูก

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 1 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทารก 1 เดือน

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • แม้การกินและนอนคือเรื่องหลักของทารกวัย 0-1 เดือน พ่อแม่มือใหม่ควรทำความคุ้นเคยและรู้จักลูกน้อย โดยสังเกตพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กเล็ก
  • เคล็ดลับส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน อาทิ การมองตาลูก สื่อสารกับลูกด้วยการมองตาบ่อย ๆ  ยิ้มให้ลูกบ่อย ๆ เมื่อลูกน้อยเห็นคุณยิ้มแย้มให้ ลูกคุณจะรู้สึกดี และปลอดภัยโดยธรรมชาติของร่างกาย นอกจากนี้ยังควร ใช้เวลากับลูก เล่นกับลูกน้อยแรกเกิด นอกจากจะช่วยสร้างใยสัมพันธ์อันดีกับพ่อและแม่แล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน ไม่ว่าจะด้านร่างกาย ภาษาและการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการทุกด้าน

เมื่อทารก 1 เดือนเริ่มรู้จักคุณแม่

ทารกวัย 1 เดือน เป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการเด็กเล็ก ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นอย่างชัดเจน กิจกรรมหลักของเด็กวัยนี้เป็นการกินและนอน แต่ก็เป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ให้ลูกได้ปรับตัวคุ้นเคยกับโลกภายนอก และมีพัฒนาการเด็ก 1 เดือน ที่เหมาะสมกับวัย เด็กวัยนี้จะสามารถมองหน้า สบตา ตอบสนองต่อเสียงพูด และเคลื่อนไหวแขน ขา ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งวิธีส่งเสริมพัฒนาการทำได้โดย

  • อุ้มให้หน้าลูกอยู่ระดับเดียวกับแม่ ยิ้มและคุยกับลูกบ่อย ๆ
  • ลูกควรนอนหงายให้การเคลื่อนไหวเป็นไปได้อย่างอิสระ
  • ใช้นิ้วสัมผัสฝ่ามือลูก ไม่ควรใส่ถุงมือตลอดเพื่อให้ทารกฝึกการใช้มือ

 

พัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านร่างกาย

  • น้ำหนักทารก 1 เดือน: ช่วงวัยนี้ น้ำหนักตัวของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะยังไม่แตกต่างกันมากนัก เด็กผู้ชายจะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่ 4.5 กิโลกรัม เด็กผู้หญิงที่จะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่ 4 กิโลกรัม 
  • ส่วนสูงทารก 1 เดือน: เด็กผู้ชายจะมีพัฒนาการส่วนสูงโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่ 55 เซนติเมตร เด็กผู้หญิงที่จะมีพัฒนาการส่วนสูงโดยเฉลี่ยตามเกณฑ์อยู่ที่ 54 เซนติเมตร

 

สมัครสมาชิก

 

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน ด้านสติปัญญา

พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการรวมพัฒนาการเด็กเล็กด้านต่าง ๆ ทั้งพัฒนาการด้านภาษา โดยเฉพาะพัฒนาการด้านความเข้าใจภาษา ที่สัมพันธ์กับพัฒนาการด้านสติปัญญา และยังสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย ซึ่งเด็ก 1 เดือน จะมีพัฒนาการเด็กเล็กในการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน เด็กจะสามารถมองตามถึงกึ่งกลางลำตัวได้ จนอายุเกิน 1 เดือน จะสามารถมองตามผ่านกึ่งกลางลำตัวได้ คุณแม่จึงควรชวนลูกเล่น กระตุ้นการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส การมอง การได้ยิน และการสัมผัส เช่น กรุ๋งกริ๋ง หรือโมบาย ให้ลูกได้ฝึกหันศีรษะมองตาม หมั่นชวนลูกคุย ร้องเพลงให้ฟัง และอ่านหนังสือเพลงกล่อมเด็ก ก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดี

 

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน ด้านอารมณ์ และจิตใจ

ทารกแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญในการสร้างความไว้วางใจพ่อแม่ และเป็นพื้นฐานสำคัญทำให้ทารกเกิดความเชื่อมั่น อีกทั้งพัฒนาไปสู่การรู้จักควบคุมตนเองต่อไป โดยพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันไป ตามแต่สภาพแวดล้อมตั้งแต่ตอนอยู่ในท้องแม่ รวมถึงพันธุกรรมก็ส่งผลต่อด้านอารมณ์ของเด็กเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างความรู้สึกไว้วางใจ สัมผัสลูกให้บ่อย กอดและอุ้มด้วยความรัก นวดตัวทารกเบา ๆ ให้รู้สึกปลอดภัย เพื่อส่งเสริมความผูกพัน

 

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน ด้านโภชนาการ

เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี จะมีการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองรวดเร็วกว่าวัยอื่น ในวัย 1 เดือน จึงควรได้รับนมแม่อย่างเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีไขมันที่ช่วยในการพัฒนาเซลล์สมอง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ขณะที่ลูกเข้าเต้าดูดนมแม่ยังช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก สร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้ลูกได้ด้วย

 

การส่งเสริมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว

เด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน จะสามารถนอนในท่านอนคว่ำ ยกศีรษะและหันไปข้างใดข้างหนึ่งได้ แต่เมื่ออายุเกิน 1 เดือน ลูกจะยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที ในท่านอนคว่ำ สามารถส่งเสริมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวได้ด้วยการเล่นของเล่นมีเสียงกรุ๋งกริ๋ง

  • ให้ลูกอยู่ในท่านอนคว่ำ แล้วเขย่าของเล่นที่มีเสียงตรงหน้าลูก ระยะห่าง 30 เซนติเมตร ให้เด็กหันศีรษะมองตามของเล่นด้วยการค่อย ๆ เคลื่อนมาทางด้านซ้าย 
  • จากนั้นเคลื่อนกลับมาอยู่ที่เดิม 
  • ทำซ้ำโดยเปลี่ยนการเคลื่อนของเล่นมาทางด้านขวา

 

การส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ ให้ลูกอารมณ์ดี

เด็กวัยนี้พร้อมที่จะเชื่อใจ ไว้วางใจ เริ่มตั้งแต่การอุ้มทารก ควรอุ้มด้วยความรัก แสดงออกถึงความอ่อนโยน เมื่อลูกร้องไห้ควรรีบอุ้มแล้วปลอบโยน เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นคงทางอารมณ์ โดยให้อุ้มลูกแล้วยิ้ม โดยมีระยะห่างประมาณ 1 ไม้บรรทัด เด็กจึงจะเห็น หมั่นสบตา ยิ้มให้ลูกบ่อย ๆ จะทำให้ลูกค่อย ๆ เรียนรู้และจดจำได้

 

การส่งเสริมการสื่อสารให้ลูก

พัฒนาการเด็กเล็กในด้านการสื่อสารจะเริ่มจาก ลูกได้ยินเสียงแล้วจึงหัดพูดคุยได้ จากนั้นจะค่อย ๆ เรียนรู้คำศัพท์ การชวนลูกคุยเป็นประจำ และอ่านหนังสือให้ฟังจะช่วยส่งเสริมการสื่อสารให้ลูก พัฒนาการเด็ก 1 เดือนขึ้นไป จะยิ้มตอบหรือส่งเสียงตอบได้ เมื่อยิ้มหรือพูดคุยด้วย

  • ในด้านการเข้าใจภาษา เด็กจะสะดุ้งหรือเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อได้ยินเสียงพูดระดับปกติ และเมื่ออายุเกิน 1 เดือนแล้ว จะสามารถมองหน้าผู้พูดคุยได้นาน 5 วินาที 
  • ในด้านการใช้ภาษา เด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน จะส่งเสียงอ้อแอ้ แต่เมื่ออายุเกิน 1 เดือนขึ้นไป จะทำเสียงในลำคอ เสียงอู เสียงอา หรือเสียงอือ อย่างชัดเจน

 

ข้อควรระวัง พัฒนาการทารกและการเลี้ยงดูเด็กทารกวัย 1 เดือน

1. ให้ลูกนอนหงาย

ทารกวัย 1 เดือน ยังคอไม่แข็งดี จึงควรดูแลให้ลูกนอนหงาย ท่านอนหงายเป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทารก หากต้องการให้ลูกนอนคว่ำหรือนอนตะแคง ต้องคอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา โดยการนอนหลับสำหรับทารกเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะส่งผลต่อการหลั่ง โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย ซึ่งทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน ควรนอน 14-17 ชั่วโมง

 

2. ดูแลสุขภาพช่องปาก

เช็ดทําความสะอาดช่องปากของลูกหลังกินนม ป้องกันการเกิดเชื้อรา ด้วยการใช้ผ้าสะอาดนุ่ม ๆ พันปลายนิ้ว จากนั้นชุบน้ำสะอาด แล้วค่อย ๆ เช็ดภายในช่องปากลูก โดยเฉพาะบริเวณเหงือก

 

3. อุ้มลูกเรอ

ทารกที่ร้องไห้ตอนนอน อาจเกิดจากอาการท้องอืด รู้สึกแน่นท้อง คุณแม่สามารถใช้ท่าอุ้มเรอ โดนการอุ้มลูกพาดบ่า แล้วค่อย ๆ ลูบหลังอย่างเบามือ ช่วยให้ลูกเรอ เด็กจะรู้สึกสบายตัวและนอนหลับได้ดี

สำหรับข้อควรระวังเรื่องพัฒนาการทารก 1 เดือน พ่อแม่ควรสังเกตว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ ซึ่งในวัยนี้จะสังเกตได้ เช่น

  • ไม่สามารถยกศีรษะและหันไปข้างใดข้างหนึ่งได้ในท่านอนคว่ำ 
  • มีพัฒนาการไวเกินไป เช่น พลิกคว่ำและหงายได้ก่อน 3 เดือน หรือลูกไม่ตอบสนองต่อเสียง หากสงสัยว่าลูกไม่ได้ยิน หรือมีพัฒนาการที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์

 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่

การส่งเสริมพัฒนาการตามวัยให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ คุณแม่ควรกอดลูกเป็นประจำ อุ้มลูกทุกครั้งที่ร้องไห้ด้วยสัมผัสที่อ่อนโยน และเรียนรู้สัญญาณต่าง ๆ ที่ลูกพยายามสื่อ เช่น ท่าทางเมื่อหิว เสียงร้องไห้เมื่อง่วงนอน และตอบสนองอย่างรวดเร็ว และควรชวนลูกเล่นบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส การมอง การได้ยิน การสัมผัส ทั้งการชวนลูกคุย ฝึกลูกพูด ยิ้ม สื่อสารกับลูกเชิงบวก ร้องเพลงให้ฟัง และอ่านหนังสือ จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการเด็ก 1 เดือน อย่างสมวัย ทั้งร่างกายและจิตใจ

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด- 1 ปี, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  2. การดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน, โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. อารมณ์ของเด็กวัยนี้, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  4. คู่มือพัฒนาเด็กตามวัย ปฐมวัย 0-3ปี,3-6ปี,6-12ปี และวัยรุ่น, ศูนย์ สแกนลายนิ้วมือค้นพบพรสวรรค์
  5. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี สำหรับผู้ปกครอง, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  6. สมุดบันทึกภาพ แม่และเด็ก, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

บทความแนะนำ

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดตอนอายุเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลฟันของลูกน้อยอย่างไร ให้สะอาดและแข็งแรง เมื่อลูกฟันขึ้นครบ 32 ซี่ ไปหาคำตอบพร้อมกัน

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมอง ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้องช่วยให้ฉลาดจริงไหม

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมอง ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้องช่วยให้ฉลาดจริงไหม

เปิดเพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ช่วยกระตุ้นพัฒนาสมองได้จริงไหม คุณแม่ควรเริ่มเปิดเพลงพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่สัปดาห์ที่เท่าไหร่

แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

เพลงกล่อมนอนเด็กทารก นอกจากช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และเคลิ้มหลับง่ายแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการด้าน IQ และ EQ ให้ลูกน้อยด้วย

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน เกิดจากอะไร หนึ่งในความกังวลใจของคุณแม่มือใหม่ที่ ลูกหัวแบน แก้ไขได้เบื้องต้นอย่างไร มีวีธีป้องกันเบื้องต้นไหม ทำไมลูกหัวแบน ไปดูกัน