ตารางวัคซีน-2563

พ่อแม่เช็กด่วน อัปเดต ตารางวัคซีน 2563 วัคซีนเด็กมีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน

03.03.2020

คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายมาเช็กได้เลย ตารางวัคซีน 2563 กำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2020 ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว มาอัปเดตกันได้ว่า วัคซีนพื้นฐานของเด็กแรกเกิด ไปจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีอะไรบ้าง ตัวไหนต้องฉีดตอนอายุเท่าไหร่

headphones

PLAYING: พ่อแม่เช็กด่วน อัปเดต ตารางวัคซีน 2563 วัคซีนเด็กมีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน

อ่าน 6 นาที

พ่อแม่เช็กด่วน อัปเดต ตารางวัคซีน 2563

วัคซีนเด็กมีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน

การพาลูกไปฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะสำหรับเด็กแรกเกิด ไปจนถึงเด็กประถมศึกษาปีที่ 6 หรืออายุประมาณ 12 ปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ 

ตารางวัคซีนพื้นฐานของเด็ก

 

ตอนนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค หรือตารางการให้วัคซีน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เด็กฉีดวัคซีนพื้นฐานฟรี โดยในปัจจุบันวัคซีนพื้นฐานของเด็ก สามารถควบคุมโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากกว่าสิบโรค ได้แก่

  • วัคซีนวัณโรค หรือวัคซีนบีซีจี
  • วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี
  • วัคซีนโรคคอตีบ
  • วัคซีนโรคไอกรน
  • วัคซีนโรคบาดทะยัก
  • วัคซีนโรคโปลิโอที่มีทั้งแบบชนิดรับประทานและชนิดฉีด
  • วัคซีนโรคหัด
  • วัคซีนโรคหัดเยอรมัน
  • วัคซีนโรคคางทูม
  • วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี
  • วัคซีนโรคเอชพีวี
  • วัคซีนโรคฮิบ
  • วัคซีนโรต้า

 

กำหนดการฉีดวัคซีนให้เด็กตามอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี
ตารางวัคซีน 2563 

 

ตารางวัคซีน 2563

 

 

วัคซีนที่ให้เด็กแรกเกิด

 

  • HB1 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด)
  • BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค (ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล)
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 เดือน
  • HB2 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (เฉพาะรายที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี)
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 เดือน
  • DTP-HB-Hib1 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
  • OPV1 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • Rota1 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 ในเด็กอายุมากกว่า 15 สัปดาห์)
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 4 เดือน
  • DTP-HB-Hib2 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
  • OPV2 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง)
  • Rota2 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์)
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 6 เดือน
  • DTP-HB-Hib3 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
  • OPV3 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • Rota3 วัคซีนโรต้า
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 9 เดือน
  • MMR1 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด)
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 ปี
  • LAJE1 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ 

 

วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน

  • DTP4 วัคซีนรวมป้องการโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
  • OPV4 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน
  • LAJE2 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
  • MMR2 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
  • วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 4 ปี
  • DTP5 วัคซีนรวมป้องการโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
  • OPV5 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 (ตรวจสอบประวัติและเก็บตกวัคซีน)
  • MMR วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
  • HB วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
  • LAJE วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
  • IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด
  • dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัด
  • OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค
  • วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 5 (เฉพาะผู้หญิง)
  • HPV1 และ HPV2 วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี
  • วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 6
  • dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัด


สำหรับเด็กที่มารับวัคซีนล่าช้า


วัคซีนทุกชนิด ถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มให้ทันทีที่พบครั้งแรก
สำหรับวัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กมารับวัคซีนครั้งต่อไปล่าช้า สามารถให้วัคซีนครั้งต่อไปได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
กรณีให้วัคซีนแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนหรือล่าช้า เด็กจะได้รับวัคซีนตามกำหนดครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดในกำหนดการให้วัคซีนปกติ

สถานที่ขอรับวัคซีนพื้นฐาน


คุณพ่อคุณแม่สามารถพาเด็กไปรับวัคซีนได้ตามคลินิกทั่วไป เทศบาลท้องถิ่น รวมไปถึงโรงพยาบาล โดยควรนำสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของเด็กไปด้วยทุกครั้ง และไม่ควรรับวัคซีนถ้าหากเด็กมีไข้ขึ้นสูงค่ะ 

 

  • วัคซีนโรต้า (Rota) สิ่งที่คุณแม่จะต้องอัปเดตกันหน่อย ก็คือวัคซีนโรต้า (Rota) ที่ตอนนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้บรรจุไว้ในวัคซีนพื้นฐานของเด็กแล้ว คุณแม่สามารถขอรับวัคซีนหลักได้ฟรี โดยสำหรับวัคซีนโรต้านั้น ให้หยอดตามตารางวัคซีนเด็ก ที่ช่วงอายุ 2, 4 และ 6 เดือน หยอดครั้งแรกอายุ 6-15 สัปดาห์ ส่วนครั้งสุดท้าย ให้หยอดในช่วงที่ไม่เกิน 8 เดือน แต่ละครั้งต้องห่างกันมากกว่า 1 เดือน สำหรับการรับวัคซีนล่าช้า สามารถทำได้ แต่องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่า อายุไม่ควรเกิน 2 ปีค่ะ
  • วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella Vaccine / Chickenpox Vaccine) วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ถือเป็นวัคซีนเสริม สามารถให้ได้ที่อายุน้อยสุด 1 ปี แนะนำว่าควรได้รับวัคซีนเข็มแรกในช่วง 12-18 เดือน จะดีที่สุด ส่วนเข็มที่ 2 ควรให้เมื่ออายุ 2-4 ปี อาจจะฉีดก่อน 4 ปีได้ ถ้าหากช่วงนั้นโรคอีสุกอีใสกำลังระบาด

 

สำหรับเด็กอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป ไปจนถึงผู้ใหญ่ ถ้าหากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ให้ฉีด 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างกัน 1 เดือน  

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

สุดยอดวิธีพัฒนาสมองลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน 

 

อ้างอิง

บทความโดย 

theAsianparent Thailand 
https://th.theasianparent.com/vaccination-schedule-2020 

อ้างอิง 
https://www.honestdocs.co/vaccination-schedules-of-newly-born-and-child… 
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1048320191202064105.pdf 

อ้างอิงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 
 

บทความแนะนำ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 1-4 ปีแรก พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 1-4 ปีแรก พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของลูกน้อย 1-4 ปีแรก ด้วยวิธีกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกาย เสริมทักษะด้วยการเล่นของเล่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการตามวัยเพิ่มการเรียนรู้ให้ลูกน้อย

นมกล่องเด็ก UHT เลือกนม UHT สำหรับเด็ก แบบไหนมีสารอาหารสำคัญ

นมกล่องเด็ก UHT เลือกนม UHT สำหรับเด็ก แบบไหนมีสารอาหารสำคัญ

นมกล่องเด็ก นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 1 ขวบขึ้นไป ควรมีสารอาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้ลูกน้อย มีพัฒนาการทางสมองที่ดี ไปดูข้อมูลนมกล่องเด็กสำหรับลูกกัน

โภชนาการลูกวัย 1-2 ขวบ ลูกวัยนี้ต้องอาหารอะไรนะ

โภชนาการลูกวัย 1-2 ขวบ ลูกวัยนี้ต้องอาหารอะไรนะ

เมื่อลูกเข้าสู่วัย 1 ขวบเป็นต้นไปแล้ว ถือว่าลูกได้เข้าสู่ช่วงวัยเตาะแตะอย่างเต็มตัว โภชนาการของลูกในวัยนี้สำคัญมาก เพราะลูกต้องการสารอาหารต่าง ๆ เพื่อการเจริญเติบโตและเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ และคุณพ่อคุณแม่ควรคำนึง

 โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง

หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน