อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

ท้อง 36 สัปดาห์แล้ว คำพูดนี้แทบจะไม่เพียงพอให้อธิบายความตื่นเต้นของคุณแม่มือใหม่ได้เลย ในช่วงนี้แล้วแทบจะถือได้ว่า ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการพร้อมแล้วสำหรับการออกมาดูโลกกว้าง แต่ร่างกายของคุณแม่เองนั้นยังถือว่าค่อนข้างเสี่ยงที่จะทำคลอดเลยในสัปดาห์ที่ 36 ทั้งนี้เพื่อความพร้อมของร่างกายเจ้าตัวน้อยพร้อมสมบูรณ์สำหรับการคลอดอย่างราบรื่นและปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 36 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คุณแม่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ จะมีแนวโน้มที่จะมีอาการบางประการ เช่น อึดอัดช่วงท้องส่วนล่าง แต่จะรู้สึกหายใจได้สะดวกขึ้น มีอาการปัสสาวะเล็ดบ้างเวลาหัวเราะหรือไอ ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เป็นเพราะลูกน้อยในท้องเริ่มเคลื่อนตัวลงมาใกล้เชิงกรานมากขึ้น
  • ลูกน้อยในครรภ์จะมีขนาดใหญ่ประมาณ 47 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 2.7 กิโลกรัม ขนาดจะใหญ่พอ ๆ กับผักกาดหอมหัวหนึ่ง
  • อาการที่จะพบได้ กับคุณแม่ในช่วงสัปดาห์นี้ เช่น อ่อนล้า ปัสสาวะบ่อย เริ่มมีน้ำนมไหล
  • สัปดาห์ที่ 36 ตามความเห็นของแพทย์ ยังไม่ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการคลอด โดยทั่วไปจะถือว่า อายุครรภ์ 39 สัปดาห์จะเป็นช่วงเวลาที่ดีในการทำคลอด
  • การดูแลตัวเองของคุณแม่จะต้องเตรียมพร้อมมากขึ้น เพราะร่างกายของคุณแม่แต่ละคนอาจมีเวลาเหมาะสมสำหรับการคลอดไม่เหมือนกัน หากเตรียมตัวรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน หรือเตรียมพร้อมกับการคลอดก่อนกำหนดได้ ก็จะทำให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยปลอดภัยยิ่งขึ้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ เราอาจจะคาดคะเนคร่าว ๆ ได้แล้ว เทียบเท่ากับอายุครรภ์ 9 เดือนแล้ว ซึ่งหลายคนอาจจะเชื่อว่า ลูกน้อยพร้อมออกมาดูโลกแล้ว แต่ความเป็นจริงนั้น สำหรับคุณหมอแล้ว ช่วง 36 สัปดาห์ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่ลูกน้อยจะควรออกมาดูโลกได้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการคลอดก็คือ ตั้งแต่ 38-39 สัปดาห์ขึ้นไปเพราะทารกจะโตเต็มที่ มีพัฒนาการต่างๆ ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว    แต่คุณหมอและคุณพ่อคุณแม่เองก็ควรเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดก่อนกำหนดไว้และเตรียมของใช้เตรียมคลอด ไว้ก่อนด้วย จะได้ไม่ตื่นตระหนกเวลาเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นมาจริง ๆ

 

ท้อง 36 สัปดาห์ อาการเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด เป็นอย่างไร

สำหรับในทางการแพทย์แล้ว การคลอดก่อนกำหนด คือการคลอดในช่วงอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์ และหากคลอดก่อน 24 สัปดาห์ จะเรียกว่า แท้ง ดังนั้น การคลอดก่อนกำหนดนั้นจะเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์ โดยหากคลอดใกล้สัปดาห์ที่ 37 มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่จะเกิดกับลูกน้อยก็จะลดลงเท่านั้น โดยอาการที่จะพบได้บ่อยเมื่อคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดมีดังนี้

  1. มีอาการความดันโลหิตสูง
  2. มีอาการน้ำเดิน หรือน้ำคร่ำแตกก่อนเวลา
  3. อาจมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด   ซึ่งหมายความว่าปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเปิด

 

อาการคนท้อง 36 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

  1. มีอาการเจ็บท้องเตือน
  2. รับประทานอาหารได้น้อยลง
  3. อึดอัด ขยับตัวลำบาก
  4. อาจมีอาการปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะเล็ด
  5. มีน้ำนมไหลออกมาบ้างเป็นบางครั้ง

 

ท้อง 36 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ในช่วงนี้ ลูกน้อยของคุณจะมีขนาดตัวประมาณ 47.4 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 2.7 กิโลกรัม มีขนาดเท่ากับผักกาดหัวใหญ่ ๆ ทารกในท้องจะมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ และอวัยวะในระบบย่อยอาหารเจริญเติบโตเต็มที่ พร้อมที่จะออกมาดูโลกภายนอกที่สดใสพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่แล้ว

 

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์อายุ 36 สัปดาห์มีดังนี้

  • มีขนาดตัวประมาณ 47.4 เซนติเมตร ขนาดพอ ๆ กับผักกาดหัวใหญ่ ๆ
  • มีการเจริญเติบโตของปอด และระบบย่อยอาหารเต็มที่แล้ว
  • ในช่วงสัปดาห์นี้ เด็กบางส่วนจะเริ่มเข้าสู่ช่วง กลับหัว เพื่ออยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคลอดแล้ว

 

ใกล้ถึงเวลาคลอดแล้ว ต้องเตรียมตัวคลอดอย่างไรบ้าง

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ แม้จะยังไม่ถึงเวลาคลอด ก็ถือว่าใกล้เวลาคลอดเข้ามาทุกขณะ  การเตรียมตัวคลอดนั้นไม่ใช่การเตรียมพร้อมเกินเหตุแต่อย่างใด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด เผื่อการคลอดมาถึงหรือเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ดังนี้

  • พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ
  • เตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรง หรือจะออกกำลังเบา ๆ บริหารช่วงสะโพก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเบ่งคลอด
  • เตรียมสิ่งของจำเป็นไว้เสมอ เช่น เอกสารสำคัญ บัตรประจำตัวต่าง ๆ ใบฝากครรภ์และประวัติการตรวจครรภ์รวมไปถึงประวัติโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
  • ของใช้เตรียมคลอดและของใช้จำเป็นทั้งสำหรับคุณแม่และลูกน้อย เช่น เสื้อผ้า ผ้าอ้อม เสื้อผ้าเด็ก เตรียมพร้อมไว้ หากถึงเวลาคลอดหรือมีสัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด  ก็สามารถหยิบติดมือพร้อมนำคุณแม่ไปส่งโรงพยาบาลได้ทันที ตลอดเวลา

 

ดูแลอย่างไร ในช่วงตั้งครรภ์ รวมถึงช่วงท้อง 36 สัปดาห์

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานเมนูอาหารสำหรับคนท้อง และดื่มน้ำให้เพียงพอ หากในช่วง 36 สัปดาห์คุณแม่รู้สึกอึดอัด แนะนำให้คุณแม่แบ่งทานหลายมื้อ ทานทีละน้อย ๆ
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
  3. พยายามไม่เครียด เพราะความเครียดเองก็เป็นอีกความเสี่ยงต่อสภาพร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ด้วย
  4. อาการปวดท้อง ในช่วง 36 สัปดาห์ คุณแม่อาจจะรู้สึกปวดท้อง เพราะมีการบีบตัวของมดลูกบ้างเป็นบางเวลา เป็นอาการในการเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการคลอด แต่หากรู้สึกปวดท้องต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เป็นเวลานาน โดยไม่บรรเทาลงแม้จะเปลี่ยนท่า รวมถึงมีน้ำคร่ำหรือมูกเลือดไหลออกมาด้วย ให้ไปพบคุณหมอก่อนจะดีกว่า

 

สำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่มีอายุครรภ์ถึง 36 สัปดาห์แล้ว ร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ที่คุณแม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตัวเอง และมีอีกหลายอาการที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ได้ รวมไปถึงการท้องในสัปดาห์ที่ 36 เองก็เป็นอีกช่วงเวลาสำคัญของคุณแม่ เนื่องจากเข้าสู่ช่วงใกล้คลอดเต็มที่แล้ว และการคลอดก่อนกำหนดนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น การเตรียมตัวคลอดนั้นจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีสติ ไม่ตระหนกตกใจเกินไป และยังส่งผลให้ลูกน้อยคลอดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. Week 36, nhs
  2. You and your baby at 36 weeks pregnant, nhs
  3. 36 Weeks Pregnant: Everything You Need to Know, Healthline
  4. Are babies fully developed at 36 weeks?, MedicalNewsToday
  5. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการ คลอดก่อนกำหนด, โรงพยาบาลสมิติเวช
  6. ว่าที่คุณแม่มือใหม่ เตรียมตัวก่อนคลอดอย่างไร ให้พร้อม!, โรงพยาบาลเปาโล
  7. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้! สัญญาณเตือนแบบไหน..ที่เสี่ยง ‘คลอดก่อนกำหนด’, โรงพยาบาลพญาไท
  8. การผ่าคลอดคืออะไร, HDmall

อ้างอิง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดจากอะไร สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ภาวะเเท้งคุกคาม เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ช่วงไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม ไปดูสาเหตุ อาการและวิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคามเบื้องต้น

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน แม่ลูกอ่อนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ช่วยบำรุงครรภ์

ผลไม้ที่คนท้องควรกินและช่วยบำรุงครรภ์มีอะไรบ้าง คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดไหม คนท้องอ่อนห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง ไปดูผลไม้ที่คนท้องควรกินและมีประโยชน์กับสุขภาพกัน

วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

รวมวิธีลดน้ำหนักหลังคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ คุณแม่หลังคลอดอยากกลับมาหุ่นสวยฟิตเหมือนเดิม ทำยังไงได้บ้าง ไปดูวิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ที่คุณแม่ทำได้ที่บ้านกัน

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐราคาเท่าไหร่ ผ่าคลอดใช้สิทธิบัตรทองได้ไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คำถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการคลอดที่คุณแม่เตรียมคลอดธรรมชาติและผ่าคลอดอยากรู้

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม กินโกโก้แล้วอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำหวาน น้ำชง คนท้องกินโกโก้ได้ไหม ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ ไปดูกัน

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

รวมเมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน เมนูสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง เมนูอาหารสําหรับคนท้อง 1-3 เดือน ทำเองได้เลยที่บ้าน

คนท้องกินแตงโมได้ไหม คุณแม่กินแตงโมอย่างไรให้ดีกับลูกในครรภ์

คนท้องกินแตงโมได้ไหม คุณแม่กินแตงโมอย่างไรให้ดีกับลูกในครรภ์

คนท้องกินแตงโมได้ไหม ในแตงโมมีสารอาหารอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์กับร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ต้องกินเท่าไหร่ถึงพอดี ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่