อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ในสัปดาห์นี้คุณแม่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายเรื่องเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก มีตกขาว ขาเป็นตะคริว ซึ่งดูเหมือนเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติขณะตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นอาการที่สร้างความไม่สบายตัวให้กับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์อย่างมาก และเพื่อให้คุณแม่มีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง ลูกน้อยมีพัฒนาการสมบูรณ์ มีเคล็ดลับอย่างง่ายในการดูแลครรภ์สำหรับคุณแม่

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 600-750 กรัม
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ มีการพัฒนาขึ้นของลายนิ้วมือ และลายนิ้วเท้า
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่คล้ำขึ้น ได้แก่ ผิวใบหน้า ผิวคอ ผิวใต้รักแร้ และมีเส้นดำที่หน้าท้องปรากฏขึ้น
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ทารกในครรภ์เริ่มที่จะจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ตอนนี้คุณแม่อุ้มท้องมาได้อายุครรภ์ 26 สัปดาห์แล้ว ยังอยู่ในสัปดาห์การตั้งครรภ์เดือนที่ 6 สำหรับช่วงสัปดาห์นี้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • มีการพัฒนาขึ้นของขนตาและขนคิ้ว
  • จอประสาทตาของดวงตาซ้าย ขวา พัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์
  • ระบบประสาทและสมองพัฒนาขึ้น จนเริ่มจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว
  • ร่างกายเริ่มมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอกครรภ์ เช่น เสียง แสงไฟ
  • หนังศีรษะมีการพัฒนาการขึ้นของเส้นผมที่ยาวและหนา
  • เริ่มเรียนรู้การตื่นนอนและนอนหลับเป็นเวลา
  • เริ่มมีการสร้างไขมันสะสมไว้ใต้ผิวหนัง
  • เริ่มมีการฝึกการหายใจเข้า หายใจออก
  • เริ่มมีการทำงานขึ้นของปอด
  • นิ้วมือและนิ้วเท้า มีการพัฒนาลายนิ้วมือให้ปรากฏขึ้นมา
  • เปลือกตาสำหรับดวงตาซ้าย ขวา เริ่มพัฒนาให้เปิดขึ้นได้

 

ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์ ต้องพบแพทย์บ่อยแค่ไหน

ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน สูติแพทย์จะนัดคุณแม่เพื่อตรวจติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์  และสุขภาพคุณแม่เพื่อดูภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ การมาพบสูติแพทย์ตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอดประมาณ 10-12 ครั้ง สำหรับในช่วงอายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงอายุครรภ์ที่ยังไม่เกิน 28 สัปดาห์ สูติแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพครรภ์ทุก 4 สัปดาห์ เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง

 

อาการคนท้อง 26 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

มาเช็กอาการที่เกิดขึ้นช่วงท้อง 26 สัปดาห์ของคุณแม่กันสักนิด เพื่อจะได้รู้เท่าทันอาการ และหากพบความผิดปกติ จะได้แจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่ทราบค่ะ สำหรับอาการที่ถือเป็นปกติสามารถเกิดขึ้นได้ อาทิเช่น

  • ผิวคล้ำ คุณแม่จะพบว่าตัวเองในช่วงตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ผิวหน้า ผิวคอ ผิวใต้รักแร้ จะมีความคล้ำเข้มขึ้น และหากสังเกตดูดี ๆ จะเห็นว่าผิวบริเวณหน้าท้องตั้งแต่ช่วงสะดือเรื่อยลงไปจนตรงต้นหัวหน่าวจะมีเส้นดำ (Linea Nigra) ขึ้นมา ซึ่งผิวที่คล้ำเข้มมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น ส่งผลทำให้เม็ดสีผิวเข้มขึ้นได้ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะหลังคลอดจะค่อย ๆ หายไปจนเป็นสีผิวปกติ
  • ตกขาว อาการตกขาวระหว่างตั้งครรภ์  หากไม่มีกลิ่นเหม็น ตกขาวไม่เปลี่ยนสี ถือว่าตกขาวเป็นปกติ สำหรับตกขาวขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมน และปริมาณเลือดที่ส่งไปหล่อเลี้ยงตรงช่องคลอดมากขึ้น จึงส่งผลทำให้คุณแม่มีตกขาวมากได้
  • ตะคริว คุณแม่เกิดอาการตะคริวขณะตั้งครรภ์ เป็นได้จากหลายสาเหตุ สำหรับที่พบในคนท้องมักมาจากการไหลเวียนของเลือดที่ยากขึ้น ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงช่วงน่องขาได้น้อยลง จนทำให้เกิดเป็นตะคริว รวมถึงการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่พอขณะตั้งครรภ์ก็เป็นสาเหตุของการเกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน
  • ท้องผูก ขนาดตัวของทารกที่พัฒนาใหญ่ขึ้น ทำให้ไปกดทับลำไส้ใหญ่จนไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระบบขับถ่ายไม่ปกติ คุณแม่จึงมีอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

 

คุณแม่สามารถป้องกันการเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์ด้วยวิธีง่าย ๆ

  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอุ่น
  • ก่อนนอนให้ยืดกล้ามเนื้อขา
  • เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้สะดวกขึ้น แนะนำให้คุณแม่นอนตะแคงซ้าย

 

คุณแม่ป้องกันการเกิดท้องผูก หรือบรรเทาอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้ง่าย ๆ

  • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ และผลไม้
  • ดื่มน้ำต่อวันให้เพียงพอ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีมากขึ้น
  • ออกกำลังกายเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้ดีมากขึ้น เช่น เดินช้า ๆ ว่ายน้ำ (ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่)

 

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

 

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

คุณแม่จะลุกนั่ง ลุกนอนทำได้ไม่ค่อยสะดวกเหมือนช่วงเดือนที่ผ่าน ๆ มาแล้ว ขนาดครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้น คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ถึงความอุ้ยอ้ายของตัวเอง ซึ่งก็เป็นเพราะการหย่อนของเส้นเอ็นตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย แนะนำให้คุณแม่ลุกนั่ง ลุกนอน หรือเดินด้วยความระมัดระวัง และเพื่อความสบายตัวไม่อึดอัด แนะนำให้สวมใส่ชุดเสื้อผ้าสำหรับคนท้อง

 

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ลูกในท้องจะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 26 สัปดาห์มีขนาดใหญ่ขึ้น เปรียบเสมือนต้นหอมหนึ่งมัดเล็ก หรือประมาณ 30-35 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 600-750 กรัม

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 26 สัปดาห์

  • ในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียง
  • เริ่มเปิดเปลือกตาได้
  • มีลายปรากฏขึ้นที่นิ้วมือและนิ้วเท้า

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์

  1. ลุกขึ้นช้า ๆ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างระมัดระวัง
  2. ดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน  จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
  3. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ป้องกันอาการท้องผูก
  4. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก จะช่วยให้สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงที่มีปริมาณมากจะยิ่งช่วยให้สามารถส่งต่อออกซิเจน แคลเซียมจากคุณแม่ไปให้ทารกในครรภ์ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  5. นอนตะแคงซ้าย จะช่วยลดการเกิดอาการปวดหลัง

 

เคล็ดลับช่วยให้ลูกในท้องมีพัฒนาการสมองการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แนะนำคุณพ่อคุณแม่คุยกับลูกในท้องทุกวัน การพูดคุยกับลูกในท้อง จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองที่ควบคุมส่วนการได้ยินของทารกพัฒนามากยิ่งขึ้น ส่วนการลูบหน้าท้องจะไปช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่ใช้ในการรับรู้ความรู้สึกให้พัฒนาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องไตรมาสแรก ภาวะเสี่ยงที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลเปาโล
  2. การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26, Siamhealth
  3. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  4. ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  5. สรีรวิทยาของการตั้งครรภ์ (Maternal Physiology), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  6. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน), โรงพยาบาลเปาโล
  7. อาการตะคริวน่องในคนท้องแก้ไขอย่างไร, คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  8. วิธีรับมืออาการท้องผูก ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  9. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์, helloคุณหมอ
  10. อยากกระตุ้นให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 13 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

รวมวิธีลดน้ำหนักหลังคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ คุณแม่หลังคลอดอยากกลับมาหุ่นสวยฟิตเหมือนเดิม ทำยังไงได้บ้าง ไปดูวิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ที่คุณแม่ทำได้ที่บ้านกัน

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐราคาเท่าไหร่ ผ่าคลอดใช้สิทธิบัตรทองได้ไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คำถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการคลอดที่คุณแม่เตรียมคลอดธรรมชาติและผ่าคลอดอยากรู้

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม กินโกโก้แล้วอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำหวาน น้ำชง คนท้องกินโกโก้ได้ไหม ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ ไปดูกัน

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

รวมเมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน เมนูสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง เมนูอาหารสําหรับคนท้อง 1-3 เดือน ทำเองได้เลยที่บ้าน