วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ

วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ

25.09.2019

การปฏิบัติตามวิธีการเตรียมนมและวิธีเก็บนมแม่อย่างปลอดภัยนั้น จะช่วยให้คุณแม่ให้นมบุตรและพี่เลี้ยงเด็กสามารถรักษาคุณภาพของนมแม่ที่ปั๊มออกมาได้นานมากขึ้น เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อย

headphones

PLAYING: วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ

อ่าน 5 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสิ่งที่ดีที่สุด เสริมสร้างการเจริญเติบโตให้ลูกน้อยได้อย่างสมบูรณ์ และเพื่อพัฒนาการที่ดีทางสมอง อารมณ์ และจิตใจ เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หรือต้องออกไปธุระข้างนอก ต้องการที่จะทำสต๊อกน้ำนม เพื่อให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ให้ยาวนานที่สุด คุณแม่หลายๆ ท่านอาจมีข้อสงสัยว่าจะเริ่มทำสต็อกน้ำนมได้เมื่อไหร่ และมีวิธีการเก็บรักษานมแม่ที่สต็อกไว้อย่างไร เพราะการเก็บรักษานมแม่ให้ได้คุณภาพและปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ลูกได้รับคุณค่าของนมแม่ที่ครบถ้วนอย่างต่อเนื่อง S-Mom Club จึงได้รวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์แก่คุณแม่ทุกท่านในการเก็บนมแม่ให้ได้คุณภาพและปลอดภัย ไว้แล้ว

 

การเก็บนมแม่ สำคัญอย่างไร

น้ำนมแม่ มีมีความสำคัญ เพราะมีสารอาหารที่มีคุณค่ามากกว่า 200 ชนิด การเก็บน้ำนมแม่ที่ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะคงคุณค่าของสารอาหารต่างๆ ได้อย่างยาวนานและปลอดภัยแก่ลูกน้อย

 

นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอในการเลี้ยงดูลูกน้อยได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หรือออกไปธุระข้างนอก หรือไปต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน

 

วิธีการเก็บรักษานมแม่ที่ถูกต้อง

  1. คุณแม่ควรเริ่มต้นจากการคำนวณปริมาณน้ำนมที่ต้องการเก็บรักษาให้เหมาะสมและเพียงพอต่อลูกน้อยในแต่ละวัน อาทิ ลูกต้องการทานนม 1 ออนซ์ต่อ 1 ชั่วโมง เมื่อคุณแม่ต้องออกไปทำงาน ก็จำเป็นต้องปั๊มนมเพื่อทำสต็อกเอาไว้ ประมาณ 10 – 12 ออนซ์ต่อวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้ทานในช่วงที่เราไม่อยู่กับเขา และเมื่อกลับมาจากทำงานก็ปั๊มน้ำนมคืนในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งเมื่อทำอย่างนี้เป็นประจำ จะทำให้น้ำนมเพียงพอต่อลูกน้อยได้ครบขวบปีแรก และคุณแม่อาจจะค่อยๆ ปรับลดรอบปั๊มนมลง เมื่อลูกน้อยเริ่มทานอาหารเสริมตามช่วงวัยควบคู่ไป
  2. ก่อนเริ่มปั๊มนมให้ลูกน้อย และเก็บน้ำนมแม่ คุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง
  3. อุปกรณ์ปั๊มนมควรผ่านการทำความสะอาด พร้อมนึ่งฆ่าเชื้อหรือการอบแห้งฆ่าเชื้อ รวมถึงถุงเก็บน้ำนมแม่ที่สะอาดและใช้ถุงใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรใช้ซ้ำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ
  4. คุณแม่ควรหามุมสงบ และเก้าอี้ที่นั่งสบายผ่อนคลาย จะช่วยทำให้การหลั่งของน้ำนมดีขึ้น
  5. การจัดเรียงลำดับน้ำนม โดยการบันทึกวันเวลาที่ปั๊มนม เพื่อความสะดวกในการนำมาใช้ โดยให้ใช้น้ำนมที่ปั๊มเก็บแรกสุดก่อน
  6. ไม่ควรเก็บนมแม่ ไว้ที่ช่องประตู หรือช่องเก็บไข่ เนื่องจากอุณหภูมิไม่คงที่ อาจมีผลต่ออายุการเก็บของนมแม่ได้

 

วิธีเก็บน้ำนมแม่ใส่ถุง

  1. คุณแม่ควรตรวจสอบถุงบรรจุนมแม่ว่ามีรอยรั่ว ซึมก่อนใช้งานทุกครั้ง และควรมีซิปล๊อค 2-3 ชั้น เพื่อป้องกันการรั่วซึมกรณีวางแล้วคว่ำหรือทำตกพื้น
  2. ถุงเก็บนมแม่ที่ปลอดภัย ควรเป็นผลิตภัณฑ์แบบ Food Grade และควรปลอดสาร BPA 100% (BPA - Free) เพราะพลาสติกที่มีสาร BPA อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวของลูกน้อย
  3. ถุงเก็บนมแม่ที่ใช้ต้องสะอาดและเป็นถุงใหม่เท่านั้น และคุณแม่ต้องล้างมือฟอกสบู่ก่อนสัมผัสถุงเก็บนมแม่ทุกครั้ง
  4. คุณแม่ควรบันทึกวัน เวลา ที่บรรจุนมใส่ถุงเก็บน้ำนม ก่อนนำไปวางเรียงลำดับในช่องแช่แข็ง และควรจัดวางถุงเก็บน้ำนมแม่แยกจากการแช่อาหารสดต่างๆ หรือสามารถแยกตู้เย็นเฉพาะแช่นมแม่เท่านั้นจะเป็นการดีที่สุด
  5. ควรรีดอากาศออกจากถุงเก็บน้ำนมให้มากที่สุดก่อนเก็บ และรีบนำนมเข้าช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นหืนของน้ำนมแม่ ซึ่งอาจทำให้ทารกไม่ยอมกินนมได้
  6. ควรวางแช่ถุงเก็บน้ำนมในแนวราบ เพื่อที่จะสามารถเพิ่มพื้นที่ในการเก็บสต๊อกนมแม่มากขึ้น
  7. ถ้าคุณแม่ที่มีน้ำนมในแต่ละรอบที่ปั๊มไม่มากนัก สามารถนำน้ำนมในแต่ละรอบมารวมกันได้ โดยแนะนำให้นำนมไปแช่เย็นให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันก่อนเทรวมกัน เนื่องจากการเทนมที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันรวมกัน อาจทำให้สารอาหารให้นมแม่มีการเปลี่ยนแปลงได้

 

ระยะเวลาการเก็บรักษานมแม่

  • อุณหภูมิห้อง (27-32 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-4 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิห้อง (16-26 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 4-8 ชั่วโมง
  • กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา (15 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
  • ตู้เย็นช่องธรรมดา (0-4 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-5 วัน และควรเก็บไว้ด้านในสุดของตู้เย็น
  • ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูเดียว (-15 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  • ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูแยก (-18 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-6 เดือน
  • ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ (-20 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 6-12 เดือน

 

นมแม่อยู่ได้กี่ชม. สามารถเก็บไว้ได้นานสุดแค่ไหน

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง ภายหลังปั๊มนมเสร็จ น้ำนมแม่จะสามารถอยู่ในอุณหภูมิห้องได้นาน 4-6 ชั่วโมง หรือหากคุณแม่มีการบรรจุใส่ถุงเก็บน้ำนมและแช่ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บน้ำนมได้ยาวนานสูงสุด 1 ปี

 

วิธีละลายนมแม่ การนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้

  1. เมื่อต้องการนำนมแม่ที่แช่แข็งมาใช้ ให้นำลงมาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาล่วงหน้า 1 คืน (12 ชั่วโมง) และสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง ไม่ควรนำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งอีก
  2. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1-2 ชั่วโมง
  3. สามารถให้ลูกทานนมที่ละลายแล้วแบบเย็นๆ ได้เลย เนื่องจากพบว่ามีกลิ่นหืนน้อยกว่า
  4. ในกรณีต้องการอุ่นนมแม่ ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟหรือใช้น้ำร้อนจัด เพราะจะทำให้เม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่ ที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของทารกถูกทำลายได้ คุณค่าสารอาหารในน้ำนมก็จะเสียไปด้วย

 

น้ำนมแม่มีความสำคัญ สำหรับการเลี้ยงลูกน้อยโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก น้ำนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างการเจริญเติบโตให้ลูกน้อยได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกายและสมอง ดังนั้นการเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่ถูกต้องและปลอดภัย จะทำให้คุณแม่มีน้ำนมที่เพียงพอต่อลูกน้อยได้ต่อเนื่องยาวนานจนถึงวัยที่ลูกน้อยเริ่มทานอาหารได้ตามช่วงวัย

 

สำหรับคุณแม่คนไหนที่มีน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ หรือน้ำนมไม่ไหล สามารถศึกษาวิธีเพิ่มน้ำนมแม่  รวมถึงทานอาหารเพิ่มน้ำนม และสารอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณแม่มือใหม่ได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

อ้างอิง:

  1. Proper Storage and Preparation of Breast Milk, CDC

บทความแนะนำ

6 ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ให้ลูกอิ่มสบาย พร้อมวิธีป้องกันอาการท้องอืด

6 ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ให้ลูกอิ่มสบาย พร้อมวิธีป้องกันอาการท้องอืด

รวม 6 ท่าให้นมลูกและท่านนอนให้นมที่ถูกต้อง สำหรับคุณแม่มือใหม่ ท่าให้นมลูกทำตามได้ง่าย ๆ ให้ลูกน้อยกินนมอิ่ม สบายตัวและป้องกันอาการท้องอืดได้อีกด้วย

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้อง หลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้อง หลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่าย ท้องไม่อืด หลังกินนม

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

คุณแม่หลังคลอด นวดเปิดท่อน้ำนมอย่างไรได้บ้าง คุณแม่ที่มีน้ำนมน้อย จะนวดเปิดท่อน้ำนมได้อย่างไร ไปดูวิธีนวดเต้าหลังคลอด นวดกระตุ้นน้ำนมเพื่อลูกน้อยกัน

ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนม อาการแหวะนมของลูกน้อย เกิดจากอะไรได้บ้าง ลักษณะแบบไหนที่บอกว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติ พร้อมวิธีรับมือกับลูกน้อย เมื่อทารกแหวะนม

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร ทำหมันแล้วแต่ยังท้อง เป็นไปได้แค่ไหน

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร ทำหมันแล้วแต่ยังท้อง เป็นไปได้แค่ไหน

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ที่ทำหมันแล้ว มีโอกาสท้องอีกไหม สถิติทำหมันแล้วท้อง เกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบเกี่ยวกับการท้องในคนทำหมันกัน

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าง่ายขึ้น พร้อมวิธีลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ อยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส  ที่ช่วยพัฒนาสมอง