ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้

ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้

03.03.2021

ลูกของคุณแม่กำลังหิวนมอยู่หรือเปล่าอาการทารกหิวนม เป็นอีกหนึ่งเรื่องค่อนข้างยากสำคัญคุณแม่มือใหม่ และต้องหมั่นคอยสังเกตอาการของลูกน้อยด้วยตัวเอง เพราะทารกในช่วงวัยนี้ เป็นวัยที่ยังไม่สามารถพูดได้ว่าพวกเขากำลังหิวนม อิ่มนม หรือว่าต้องการอะไรกันแน่ จึงทำได้เพียงแสดงออกผ่านการร้องไห้และท่าทางต่าง ๆ เพื่อให้คุณแม่รับรู้ได้ว่าทารกกำลังหิวนมอยู่

headphones

PLAYING: ทารกหิวนม ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม สัญญาณที่คุณแม่สังเกตได้

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อาการทารกหิวนม สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออกเท่านั้น เนื่องจากทารกยังพูดไม่ได้ คุณแม่จึงควรเฝ้าสังเกตและให้ลูกได้รับนมในปริมาณที่เหมาะสม
  • แต่หากดูแล้วไม่ใช่อาการหิวนม แต่เป็นอาการอื่น ควรสังเกตุอย่างรอบคอบ เช่น หากลูกอิ่มนม ก็ควรเว้นการให้นมไปก่อน หรือหากเป็นอาการที่คุณแม่ไม่มั่นใจ ก็ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกหิวนม ต้องการนมเพิ่ม

1. ทารกหิวนม อาการที่บ่งบอกว่า “หนูหิวนมแล้ว”

  • ขยับตัว
  • อ้าปาก
  • หันศีรษะเข้าหาหัวนม

 

2. ทารกหิวนมจริง หากแม่ยังมองสัญญาณแรกไม่ออก

  • เหยียดแขนเหยียดขา
  • ขยับตัวมากขึ้น
  • เอามือเข้าปาก

 

3. ทารกหิวนมหิวมาก คุณแม่ต้องปลอบลูกน้อยให้เงียบก่อนแล้วค่อยให้ดูดนม

  • ร้องไห้
  • ถีบแขนถีบขา
  • ร้องหน้าดำหน้าแดง

 

อาการทารกหิวนมจนร้องไห้ ไม่อยู่นิ่ง ลูกอาจกำลังส่งสัญญาณให้คุณแม่ทราบว่า “หนูหิวนมมาก ๆ แล้ว” สิ่งแรกที่ควรทำคือปลอบประโลมให้สงบลงก่อน ไม่ควรให้กินนมในทันทีขณะร้องไห้อยู่ เพราะอาจทำให้ลูกสำลักนมได้

 

การปล่อยให้ทารกร้องไห้ด้วยความหิวบ่อย ๆ ยังอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูก หากลูกร้องไห้ด้วยความหิว แม่ควรอุ้มทารกโยกไปมา เพื่อให้ลูกสงบ พร้อมกับพูดคุยกับลูกเพื่อแสดงออกว่า แม่เข้าใจสื่อความหิวที่ลูกได้สื่อสารออกมา

 

ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มแล้ว

เมื่อลูกหิวนมและดูดนมจนอิ่มแล้ว อาการของทารกที่สังเกตได้ คือ

  • ร่างกายของลูกจะผ่อนคลาย มือที่เคยกำไว้จะแบออกมา อาจเอามือไปวางไว้บนเต้านมของแม่ หรือแขนจะตก ห้อยลง ไม่แสดงออกถึงแรงต้านที่ต้องการจะดูดนมแม่อีกต่อไป
  • ก่อนทารกจะดูดนมแม่ท้องจะแฟบ แต่เมื่อดูดนมจนอิ่มแล้วท้องจะป่อง

 

คุณแม่ไม่ควรให้อาหารเสริมเร็วเกินไป

อีกหนึ่งความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ยิ่งเร่งให้อาหารเสริมเร็วเท่าไร ยิ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ทารกมากขึ้นเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่ถูกต้อง ระบบย่อยอาหารของทารกช่วงอายุก่อน 6 เดือนนั้นยังไม่แข็งแรง ลำไส้ยังดูดซึมได้ไม่ดี จึงไม่ควรให้กินอาหารอื่นนอกเหนือจากนม องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children’s Fund: UNICEF) แนะนำว่า ทารกควรได้รับน้ำนมแม่อย่างเดียว นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และควรได้รับต่อเนื่องไปจนอย่างน้อยอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามวัย เพราะน้ำนมแม่ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยคุณประโยชน์จากสารอาหารกว่า 200 ชนิดรวมทั้งวิตามินแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในทุก ๆ ด้าน เช่น

  • DHA: มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของสมอง เนื่องจาก DHA ช่วยในการมองเห็น และระบบประสาท
  • สฟิงโกไมอีลิน: มีความสำคัญต่อกลไกการทำงานของสมอง ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดี เสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ได้เร็ว
  • B. lactis: จุลินทรีย์สุขภาพที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันในช่วงแรกของชีวิตลูกน้อย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ลูกแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย

 

คุณแม่ไม่ควรให้อาหารเสริมเร็วเกินไป

 

ระวัง Overfeeding การกินนมมากเกินไป

นอกจากจะร้องไห้เพราะหิวนมแล้ว คุณแม่สงสัยไหมว่าทารกกินไม่รู้จักอิ่มหรือลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ทารกสามารถร้องไห้เพราะอิ่มนมได้อีกด้วย การเฝ้าสังเกตอาการของทารกจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของพวกเขาอย่างถูกจุด หากลูกอิ่มนมแล้วก็ไม่ควรให้นมเพิ่ม เพราะหากลูกกินนมเข้าไปในปริมาณที่มากเกิน จะทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายตัว รวมถึงอาเจียนออกมา เพราะมีนมในกระเพาะปริมาณมากเกินไป เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า Overfeeding

 

วิธีสังเกตว่าลูกของคุณแม่มีอาการ Overfeeding

คุณแม่สามารถสังเกต อาการที่บ่งบอกถึงภาวะ Over breastfeeding หรือกินนมเยอะเกินไปได้

  • ลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ลูกอาจมีอาการอาเจียน แหวะนม นมไหลออกจากปากหรือจมูก หรือสำลักนม แน่นท้อง ท้องป่องมาก ลูกร้องงอแงหลังกินนม
  • มีปัญหาลูกไม่ยอมกินนม ดูไม่สบายตัว ทั้ง ๆ ที่เริ่มดูดนมได้ดี
  • มีน้ำหนักตัวขึ้นเร็วมากกว่าปกติ (โดยปกติน้ำหนักลูกจะขึ้นประมาณ 20-60 กรัมต่อวัน)
  • ไม่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ทีเป็นสาเหตุให้เกิดอาการทารกแหวะนม อาเจียน ปวดท้อง หรือร้องงอแง

 

ไม่อยากให้ลูกมีอาการ Overfeeding ต้องทำอย่างไร

การ Overfeed แม้อาจไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ก็อาจจะส่งผลให้ทารกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว เขาโตขึ้นได้ ดังนั้น หากไม่อยากให้ลูกมีอาการ Overfeeding คุณแม่จึงควรปฏิบัติดังนี้

  • เฝ้าสังเกตอาการอยู่เสมอ หากทารกแสดงสัญญาณว่าอิ่มแล้ว ควรหยุดให้นมทันที
  • ให้ทารกกินนมในปริมาณที่เหมาะสม พิจารณาจากช่วงวัยและน้ำหนักตัวของเขา
  • หากทารกมีอาการร้องขอกินนมตลอดเวลาหรือทารกกินไม่รู้จักอิ่ม ทั้งที่เพิ่งกินไป คุณแม่หากิจกรรมอื่น ๆ มาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น พาอุ้มเดิน
  • หากพบว่าทารกมีอาการแหวะนมหรืออาเจียน ให้หยุดการให้นมไว้ก่อน และอย่าเพิ่งให้นอนราบในทันที

 

การสังเกตพฤติกรรมของทารกเป็นสิ่งจำเป็นและคุณแม่ทุกบ้านควรให้ความสำคัญ เพื่อที่จะได้ตอบสนองปฏิกิริยาและความต้องการของพวกเขาอย่างถูกต้อง หากทารกได้รับนมแม่ในปริมาณที่เหมาะสมสม่ำเสมอ ไม่มีอาการหิวนมหรือขาดนม ทารกก็จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนจากน้ำนมแม่ เติบโตอย่างสมบูรณ์รอบด้าน สุขภาพดี แข็งแรงสมวัย เป็นพื้นฐานพัฒนาการที่ดีให้กับพวกเขาต่อไปในอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง

  1. WHO และ UNICEF สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, SDG Move
  2. These signs can indicate if you’re overfeeding your baby, healthshots
  3. SIGNS YOUR BABY IS HUNGRY, WIC Breastfeeding Support
  4. สัญญาณหิวของทารก, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  5. DHA สารอาหารสำคัญในนมแม่ จุดเริ่มต้นพัฒนาสมองของลูกน้อย, S-MOM Club
  6. ลูกกินนมแบบไหนเรียก Over breastfeeding, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

บทความแนะนำ

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม ?  คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไร

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารก ตารางให้นมทารก ลูกน้อยควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณและความถี่ที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

คุณแม่ให้นมลูกเอง น้ำนมแม่ถือเป็นวัคซีนเข็มแรกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ลูกไม่ป่วยง่าย คุณแม่ควรศึกษาวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมเคล็ดลับเพิ่มน้ำนม