ลูกไม่ยอมกินนม ลูกกินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ดูดนมที่แม่แก้ได้

ลูกไม่ยอมกินนม ลูกกินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ดูดนมที่แม่แก้ได้

25.09.2019

คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจเจอปัญหาลูกไม่ยอมกินนมแม่หรือลูกกินนมน้อย ซึ่งทำให้คุณแม่กังวลใจว่าลูกน้อยในวัยทารกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและกระทบต่อพัฒนาการและการเติบโตตามวัย หากลูกไม่ยอมกินนมแม่เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่ไม่สร้างน้ำนมใหม่ และนมแม่จะค่อย ๆ  ลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้มีวิธีการแก้ไขและเทคนิคที่ทำให้ลูกกินนมน้อยกลับมากินนมแม่ได้มากขึ้น

headphones

PLAYING: ลูกไม่ยอมกินนม ลูกกินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ดูดนมที่แม่แก้ได้

อ่าน 4 นาที

ลูกไม่ยอมกินนม ปัญหาหนักใจที่คุณพ่อคุณแม่แก้ไขได้

การที่ลูกกินนมน้อยหรือไม่ยอมกินนม อาจเกิดได้จากทั้งตัวลูกน้อย หรือตัวคุณแม่ รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อม ที่เริ่มต้นแก้ไขได้ทันที โดยเริ่มต้นค้นหาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากปัจจัยใด


ค้นหาสาเหตุที่ลูกกินนมน้อย หรือ ลูกไม่ยอมกินนมแม่

การที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่ อาจเป็นสิ่งสะท้อนถึงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับลูก โดยลูกกำลังสื่อสารให้คุณแม่ได้รับรู้ถึงสาเหตุที่ลูกกินนมน้อย นั่นคือ


1. ปัญหานมแม่หรือการให้นม

การที่ลูกไม่ยอมกินนมหรือลูกกินนมน้อย อาจมีสาเหตุจากคุณแม่ให้นมไม่ถูกวิธี คุณแม่ควรให้นมลูก ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ทำให้ลูกไม่สบายตัวหรือดูดนมได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้อาจยังเกิดจากปริมาณนมแม่ที่ลดลง ลูกดูดนมแม่น้อยลงส่งผลให้ต่อมน้ำนมผลิตนมน้อยลงไปด้วย   หรือการที่คุณแม่มีน้ำนมมากและไหวเร็ว ก็ทำให้ลูกกินไม่ทันและสะบัดหน้าหนีได้เช่นกัน


2. ลูกน้อยไม่สบาย 

ความเจ็บป่วยเป็นหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกกินนมน้อยหรือลูกไม่ยอมกินนมแม่ ซึ่งเป็นได้ทั้งอาการเจ็บปาก เจ็บคอ หรือกลืนนมแล้วเจ็บ จากการเป็นหวัด เป็นไข้ ติดเชื้อในหู ติดเชื้อในลำคอ มีแผลในช่องปาก หรือปัญหาลิ้นติด มีพังผืด ใต้ลิ้น นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่ทารกอาจรู้สึกเจ็บและคันเหงือกเพราะฟันเริ่มขึ้น คุณแม่ควรสังเกตอย่างใกล้ชิดว่ามีสาเหตุจากสิ่งไหนที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินนม หรือควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ


3. ลูกน้อยอยู่ในช่วงเริ่มกินอาหารบด 

เมื่อเข้าสู่วัยที่เริ่มกินอาหารบดได้ ทารกบางคนอาจติดใจรสชาติอาหารชนิดใหม่ที่แปลกไปจากเดิม ทำให้คุณแม่ประสบปัญหาลูกไม่ยอมกินนมเหมือนเดิม หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่คุณแม่ให้ทารกกินอาหารบดมากเกินไปจนอิ่มและไม่อยากกินนม


4. การกระตุ้นจากปัจจัยบางอย่าง

อาจเป็นไปได้ว่ามีสิ่งอื่นที่น่าสนใจอยู่รอบตัว ทำให้ทารกเบี่ยงเบนความสนใจจากการดูดนมแม่ เช่น เสียงดัง หรือเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยที่รู้จักการเล่น การดูโทรทัศน์ หรือการเล่นแท็บเล็ต ก็ทำให้ทารกสนใจสิ่งเหล่านี้มากกว่าได้ นอกจากนี้การที่เปลี่ยนเครื่องใช้ที่ให้กลิ่นใหม่ เช่น สบู่ แชมพู หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม ก็ทำให้ทารกไม่คุ้นชินจนเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินนมแม่ได้เช่นกัน

 

เคล็ดลับการรับมือเมื่อลูกไม่ยอมกินนมแม่

การรับมือกับปัญหาลูกไม่ยอมกินนมแม่ ทำได้หลายวิธี สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย และลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ 

  • เมื่อลูกกินนมน้อย ควรปรับเปลี่ยนท่าป้อนนม เพื่อให้ทารกรู้สึกสบายตัวและกินนมได้ง่ายขึ้น
  • กอด สัมผัส ปลอบโยน และโอบอุ้มทารกระหว่างให้นม เพื่อให้ทารกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ดูดนมแม่ได้อย่างสบายใจ
  • ให้นมลูกน้อยในห้องที่เงียบและไม่มีสิ่งอื่นมารบกวนหรือเบี่ยงเบนความสนใจ
  • ควรให้นมตรงเวลาเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัด และนำไปสู่ท่อน้ำนมอุดตัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินนมแม่
  • กำหนดปริมาณนมและอาหารสำหรับทารกในแต่ละมื้ออย่างเหมาะสม รวมถึงรอเวลาที่ทารกรู้สึกหิวและอยากนม จึงค่อยป้อนนม
  • พยายามยื่นเต้าให้ลูกทุกครั้งที่ลูกมีท่าทีว่าต้องการดูดนม หรือหากลูกไม่ยอมกินนม ควรหยุดและลองทำใหม่อีกครั้งเมื่อลูกจะนอนหรือง่วงมาก

 

เคล็ดลับการรับมือเมื่อลูกไม่ยอมกินนมแม่หรือลูกกินนมน้อย

 

เทคนิคช่วยให้ลูกทานนมแม่ได้ง่ายขึ้น

การให้ลูกน้อยทานนมแม่ได้ง่ายขึ้น ควรเริ่มจากหลักการให้นมที่ถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม โดยใช้หลัก ดูดเร็ว ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี ดังนี้

 

  1. ดูดเร็ว - คุณแม่ควรให้นมลูก ด้วยการให้ลูกน้อยลูกดูดนมตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังคลอด จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้น
  2. ดูดบ่อย - การให้นมลูกในช่วงแรกเกิด - 1 เดือน ลูกควรได้ดูดนมแม่ทุกครั้งเมื่อต้องการ อย่างน้อย 8 ครั้งหรือมากกว่า ภายในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าลูกหลับนานกว่า 3 ชั่วโมง ควรปลุกลูกให้ดูดนมแม่ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เด็ก จะดูดนมแต่ละมื้อได้มากขึ้น และปรับตัวมากินนมในช่วงกลางวันบ่อยกว่า กลางคืน
  3. ดูดถูกวิธี - การให้นมลูก ด้วยการเอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี จะทำให้ลูกดูดนมได้เต็มที่ คุณแม่ไม่เจ็บ

 

เพราะนมแม่  คือ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และการให้นมของคุณแม่ยังเป็นการแสดงความรัก สร้างความผูกพันที่ดี คุณแม่จึงควรหาสาเหตุของการที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่หรือลูกกินนมน้อย และช่วยให้ลูกน้อยดื่มนมแม่ได้อย่างสบายกายและใจจนครบวัยให้นม
 

บทความแนะนำ

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าง่ายขึ้น พร้อมวิธีลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ อยู่ดี ๆ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส  ที่ช่วยพัฒนาสมอง

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม ?  คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไร

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารก ตารางให้นมทารก ลูกน้อยควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณและความถี่ที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

คุณแม่ให้นมลูกเอง น้ำนมแม่ถือเป็นวัคซีนเข็มแรกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ลูกไม่ป่วยง่าย คุณแม่ควรศึกษาวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมเคล็ดลับเพิ่มน้ำนม

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

คุณแม่รู้ไหม นมส่วนหน้าและนมส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร น้ำนมคุณแม่มีทั้งหมดกี่ระยะ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน