เมนูเด็ก  6 เดือน มื้อแรกของลูกเริ่มยังไง ลูกต้องกินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูเด็กวัย 6 เดือน อาหารมื้อแรกของลูกเริ่มยังไง และแค่ไหนถึงจะพอดี

03.04.2020

คุณแม่สงสัยไหมเอ่ยว่าทำไมมื้อแรกของลูกต้องหลัง 6 เดือน ง่ายๆ เลยค่ะก็เพราะว่า ช่วง 6 เดือนแรก ลูกจะได้รับสารอาหารพอเพียงจากนมแม่

 

หลังจากนั้นเจ้าตัวเล็กจำเป็นต้องได้รับพลังงาน และสารอาหารบางชนิดเพิ่มเติมจากอาหารตามวัยสำหรับ เช่น โปรตีน เหล็ก แคลเซียม สังกะสี ไอโอดีน วิตามินเอ เป็นต้น เพื่อให้การเจริญเติบโตตามปกติ ก่อนจะเริ่ม เมนูเด็กวัย 6 เดือน เราไปดูกันค่ะว่า สารอาหารที่เด็กวัยนี้ต้องได้รับนั้นมีอะไรบ้าง 

headphones

PLAYING: เมนูเด็กวัย 6 เดือน อาหารมื้อแรกของลูกเริ่มยังไง และแค่ไหนถึงจะพอดี

อ่าน 5 นาที

สารอาหารที่สำคัญในเมนูเด็กวัย 6 เดือน วัยต้องการอาหารเสริม

 

  • พลังงานและโปรตีน แหล่งอาหารในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนที่ดีที่สุดคือนมแม่ หลังจากนั้นเพิ่มเติมจากไข่แดง เนื้อสัตว์ต่าง
  • ธาตุเหล็ก  ร้อยละ 90 ของธาตุเหล็กที่ทารกต้องการได้จากอาหารเสริมตามวัย ได้แก่ ตับ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ดังนั้น หลังอายุ 6 เดือน ทารกที่ทานแต่นมแม่อย่างเดียว เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก
  • ไอโอดีน ช่วยการทำงานของต่อมไธรอยด์ ช่วยในการพัฒนาสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย  ควร ใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร
  • แคลเซียม จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ส่วนใหญ่ได้รับจากนม
  • สังกะสี   ช่วยการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ร่างกาย มีมากในเนื้อสัตว์ๆ และอาหารทะเล
  • วิตามินเอ  เสริมสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น แหล่งอาหารสำคัญคือ  ตับ   ไข่แดง  ผักใบเขียวเข้ม และผักผลไม้สีเหลืองแสด
  •  

คำแนะนำสำหรับเมนูอาหารมื้อแรกของลูกน้อยวัยหลัง 6 เดือน                                  

  1.  พอเด็กวัย 6 เดือนไปแล้ว ควรเริ่มให้อาหารทีละน้อยในระยะแรก เพื่อให้ทารกฝึกการใช้ลิ้น ริมฝีปากและการกลืน
  2. เริ่มให้ทีละอย่าง และเว้นระยะ 1-2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มให้อาหารชนิดใหม่ เพื่อสังเกตอาการแพ้
  3. จัดอาหารให้หลากหลายชนิด เพื่อสร้างความคุ้นเคย
  4. จัดชนิดเมนูอาหารให้เหมาะสมตามวัย เนื่องจากระบบการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์
  5. เนื้อสัมผัสของอาหาร  จัดให้เหมาะกับการพัฒนาการของเด็กทารกเริ่มจากอาหารเหลว กึ่งเหลว กึ่งแข็ง อ่อนนิ่มและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  6. ไม่ปรุงเมนูอาหารรสจัด เช่น หวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ด
  7. เน้นความสะอาดของวัตถุดิบและภาชนะใส่อาหาร

 

มื้อแรกของลูกหลัง 6 เดือนให้ทานแค่ไหนถึงจะพอดี 

สำหรับคุณแม่ที่กำลังเตรียมป้อนอาหารมื้อแรกให้กัลูก อาจมีคำถามว่าจะต้องให้ทานปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอเหมาพอดี คุณแม่ลองศึกษาจากตารางความจุของกระเพาะอาหารของลูกวัย 6 – 23 เดือนค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดปริมาณอาหารที่คุณแม่ควรป้อนลูกในแต่ละมื้อ 

คำแรกของลูก


อย่างไรก็ตาม ปริมาณอาหารที่ลูกควรได้รับนั้น จะถูกคำนวณจากเด็กที่ได้รับนมแม่ปริมาณปานกลางค่ะ ดังนั้นหากลูกของคุณแม่ได้รับนมแม่ปริมาณน้อยหรือมากกว่าค่าเฉลี่ย ปริมาณอาหารที่ควรได้รับก็จะเปลี่ยนแปลงไปคุณแม่ควรจะสังเกตลูกและป้อนอาหารให้เหมาะสมกับความอิ่มหรือความหิวของลูก สำหรับจำนวนมื้อตามอาหารของวัย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของพลังงานและปริมาณอาหารที่ลูกได้รับในแต่ละมื้อ โดยเฉลี่ยทารกที่กินนมแม่ 

•    ควรได้รับอาหาร 1-2 มื้อเมื่อมีอายุ 6-8 เดือน 
•    และเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2-3 มื้อเมื่อมีอายุ 9-11 เดือน
•    และ 3 มื้อเมื่อทารกอายุ 12 เดือนขึ้นไป 
•    ถ้าลูกได้รับอาหารตามวัยที่มีความเข้มข้นของพลังงานต่ำ ลูกทานอาหารแต่ละมื้อได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คุณแม่ควรเพิ่มจำนวนมื้ออาหารให้ลูกค่ะ 
 

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

คำแรกทั้งที่ต้องมีสฟิงโกไมอีลิน 

ลูกขับถ่ายดี ท้องไม่ผูก ด้วย “โอลิโกฟรุกโตส” 

 

อ้างอิง

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1325 

https://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf 

บทความแนะนำ

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดตอนอายุเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลฟันของลูกน้อยอย่างไร ให้สะอาดและแข็งแรง เมื่อลูกฟันขึ้นครบ 32 ซี่ ไปหาคำตอบพร้อมกัน

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมอง ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้องช่วยให้ฉลาดจริงไหม

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมอง ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้องช่วยให้ฉลาดจริงไหม

เปิดเพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ช่วยกระตุ้นพัฒนาสมองได้จริงไหม คุณแม่ควรเริ่มเปิดเพลงพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่สัปดาห์ที่เท่าไหร่

แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

เพลงกล่อมนอนเด็กทารก นอกจากช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และเคลิ้มหลับง่ายแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการด้าน IQ และ EQ ให้ลูกน้อยด้วย

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน เกิดจากอะไร หนึ่งในความกังวลใจของคุณแม่มือใหม่ที่ ลูกหัวแบน แก้ไขได้เบื้องต้นอย่างไร มีวีธีป้องกันเบื้องต้นไหม ทำไมลูกหัวแบน ไปดูกัน