พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน

04.03.2020

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย คุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง 

headphones

PLAYING: พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน

อ่าน 3 นาที

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน 

 

  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้ 


เด็กวัยนี้สามารถสื่อสารด้วยท่าทางมากขึ้น เช่น ชี้สิ่งที่สนใจ พยักหน้าหรือส่ายหน้า แสดงสีหน้าบ่งบอกอารมณ์ได้หลากหลายขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความสนใจร่วมกับเด็กทุกครั้งที่เขาพยายามสื่อสาร ด้วยการมองไปยังสิ่งที่เขาสนใจ แสดงความสนใจร่วมกับเขา พูดบรรยายสิ่งที่เขาเห็น รวมทั้งพูดบอกอารมณ์ความรู้สึกของเขาในขณะนั้น ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาให้เขารู้จักคำศัพท์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เขาเกิดแรงจูงใจในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรนำหนังสือที่มีพื้นผิวสัมผัสหลาย ๆ แบบ หรือกดปุ่มแล้วมีเสียง มาอ่านกับเขา เพื่อกระตุ้นความสนใจในหนังสือ บ่มเพาะนิสัยรักการอ่านในอนาคต และฝึกให้เขาทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น บ๊ายบาย จับปูดำ โดยในช่วงแรกต้องจับมือเขา หรือทำท่าทางให้เขาเลียนแบบก่อน เมื่อเขาเก่งขึ้น เขาจะทำตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องเห็นแบบ

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร  


ลูกน้อยในวัยนี้สามารถใช้มือได้เก่งขึ้น และสนุกกับการทำอะไรด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มฝึกให้เขาหยิบอาหารกิน โดยเลือกอาหารที่ถือได้เหมาะมือ ไม่เละจนเกินไป และเคี้ยวได้ง่าย เช่น แครอทต้มสุก ขนมปังที่ตัดขอบออก โดยอาจหั่นเป็นชิ้นเล็กลง เพื่อให้เด็กหัดใช้นิ้วหยิบ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังเรื่องความปลอดภัย หากเขาหยิบวัตถุชิ้นเล็กทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหารแล้วนำเข้าปาก เพราะอาจเกิดการสำลักได้ง่าย เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าวโพด เม็ดกระดุม เหรียญ เป็นต้น

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 9-10 เดือน

 

  • อาหารอะไรเหมาะกับลูก


ช่วงวัยนี้ควรกินอาหารเสริมแทนนม 2 มื้อ และกินนม 4-5 มื้อต่อวัน รวมทั้งเพิ่มความหยาบของอาหารที่กินให้มากขึ้นกว่าช่วงวัยก่อนหน้านี้ เด็กวัยนี้มักสนุกกับการโยนของและมองดูว่าของที่เขาโยนจะกลิ้งไปที่ไหน คุณพ่อคุณแม่ควรระวังไม่ให้เขาเล่นของเล่นที่แตกหักง่าย เพราะหากเขาโยนลงพื้นอาจเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ควรฝึกกระตุ้นพัฒนาการด้วยการหาภาชนะปากกว้าง เช่น กะละมัง กล่องกระดาษ ตะกร้า มารองรับสิ่งที่เขาโยน เพื่อฝึกให้เขาโยนอย่างมีเป้าหมายมากขึ้น

 

  • เคล็ดลับคุณแม่


ในวัยนี้ยังคงได้รับนมแม่ร่วมเหมือนเดิมร่วมไปกับอาหารเสริมที่มีคุณค่า อันเป็นแหล่งของไขมันหลากหลายชนิดที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและการสร้างปลอกไมอีลิน นมแม่ก็ยังเป็นอาหารหลักของลูกน้อยเช่นเดิม ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมบุตรเป็นหลักจึงควรได้รับอาหารครบถ้วน เช่น นม ชีส โยเกิร์ต รวมไปถึงเนื้อสัตว์ ไข่ ผัก เป็นต้น เพื่อให้บุตรได้รับสารอาหารสำหรับจะนำไปสร้างปลอกไมอีลินได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และส่งผลให้การพัฒนาและการทำงานของสมองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน  

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 7-8 เดือน

 

อ้างอิง

บทความโดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

บทความแนะนำ

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลฟันแท้

ลูกน้อยฟันแท้ขึ้นกี่ขวบ ฟันน้ำนมหลุดตอนอายุเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลฟันของลูกน้อยอย่างไร ให้สะอาดและแข็งแรง เมื่อลูกฟันขึ้นครบ 32 ซี่ ไปหาคำตอบพร้อมกัน

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมอง ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้องช่วยให้ฉลาดจริงไหม

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมอง ให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้องช่วยให้ฉลาดจริงไหม

เปิดเพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ช่วยกระตุ้นพัฒนาสมองได้จริงไหม คุณแม่ควรเริ่มเปิดเพลงพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่สัปดาห์ที่เท่าไหร่

แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

เพลงกล่อมนอนเด็กทารก นอกจากช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และเคลิ้มหลับง่ายแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการด้าน IQ และ EQ ให้ลูกน้อยด้วย

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น

ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน เกิดจากอะไร หนึ่งในความกังวลใจของคุณแม่มือใหม่ที่ ลูกหัวแบน แก้ไขได้เบื้องต้นอย่างไร มีวีธีป้องกันเบื้องต้นไหม ทำไมลูกหัวแบน ไปดูกัน