พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน

พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูกน้อย

28.02.2020

 พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน  อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย  คุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง  

headphones

PLAYING: พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูกน้อย

อ่าน 2 นาที

 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 1-2 เดือน 

 

  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้  

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจกลัวลูกศีรษะแบน จึงมักให้ลูกนอนคว่ำหรือตะแคง แต่กุมารแพทย์มักแนะนำให้เด็กวัยแรกเกิดถึง 4 เดือนนอนหลับในท่าหงาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นหากนอนหลับในท่าคว่ำ แต่แนะนำให้จับคว่ำขณะเขาตื่นควบคู่กับการใช้ของเล่นล่อให้เขาชันคอให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการให้คอแข็งเร็วขึ้นด้วย  

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร   

เด็กวัยนี้ควรได้รับการฝึกให้สามารถนอนหลับด้วยตนเอง เมื่อสังเกตว่าลูกง่วงและกำลังจะเคลิ้มหลับ คุณพ่อคุณแม่ควรวางเขาลงบนที่นอนเพื่อให้เขาหลับต่อเอง อย่าปล่อยให้เขาดูดนมจนหลับ หรืออุ้มจนเขาหลับคาอก วิธีการเช่นนี้จะช่วยลดปัญหาการนอนในระยะยาวได้มาก 

พัฒนาการลูกวัย 1- 2 เดือน
  • ​อาหารอะไรเหมาะกับลูก 

ในวัยนี้อาหารที่เหมาะที่สุดสำหรับลูกคือนมแม่ ดังนั้นโภชนาการของคุณแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยคุณแม่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นอาหารปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง  ในระยะนี้ลูกจะมองเห็นได้ดีขึ้น เขาจะเริ่มยิ้มได้ แม้ว่าการยิ้มของลูกวัยนี้ยังเป็นการยิ้มอยู่คนเดียว คล้ายว่าอยู่ดี ๆ ก็ยิ้ม ยังไม่สื่อความหมายอะไรในรอยยิ้มนั้น แต่ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ชื่นใจได้ไม่น้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้วยการการมองหน้าสบตาลูก เอียงหน้าไปมาช้า ๆ ให้เขามองตามการเคลื่อนไหวของใบหน้าคุณพ่อคุณแม่  

 

  • เคล็ดลับคุณแม่ 

เด็กส่วนมากจะร้องมากขึ้นและนานขึ้นในช่วงอายุ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง โดยอาจร้องได้นานเป็นชั่วโมง เมื่อลูกร้อง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตท่าทีว่าเขาต้องการอะไร เช่น หิว เปียก เจ็บ ง่วง ร้อนหรือหนาวเกินไป ฯลฯ ซึ่งถ้าพบสาเหตุควรให้ความช่วยเหลือตามสาเหตุนั้น แต่หากไม่พบสาเหตุ ควรอุ้มปลอบด้วยท่าทางหรือจังหวะที่เขาชอบ จนกระทั่งเขาหยุดร้อง หากคุณแม่ดูแลคนเดียวและรู้สึกเหนื่อย ควรให้คุณพ่อหรือบุคคลอื่นในครอบครัวมาเปลี่ยนอุ้ม หรือในกรณีไม่มีใครสามารถมาผลัดเปลี่ยน คุณแม่สามารถวางเขาลงสักครู่หนึ่งเพื่อให้คุณแม่ได้หยุดพัก แล้วค่อยกลับมาดูแลเขาต่อ โดยทั่วไปการร้องจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเขาอายุประมาณ 2-3 เดือน 

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ  

พัฒนาการลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 1 เดือน 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน

อ้างอิง

โดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล  

กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช 

บทความแนะนำ

ภาวะตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลือง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ช่วงหลังคลอดและตอนที่ทารกกลับไปอยู่บ้าน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตภาวะตัวเหลืองในทารกได้ พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง

ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว

ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว

ล้างจมูกทารก ปลอดภัยสำหรับลูกแค่ไหน ล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่กี่เดือน ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีล้างจมูกทารกเมื่อลูกเป็นหวัด คัดจมูก หรือหายใจไม่ออก

รวมไอเดียทรงผมลูกชายดาราตามเทรนด์ ให้ลูกชายหล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์

รวมไอเดียทรงผมลูกชายดาราตามเทรนด์ ให้ลูกชายหล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์

ไอเดียทรงผมลูกชายดารา ทรงผมลูกชายเท่ ๆ แบบไม่ตกเทรนด์ ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกทรงผมที่เหมาะกับลูกชายวัยกำลังโตมากที่สุด เสริมหล่อให้ลูกชายกันได้เลย

รวมแคปชั่นคนท้องตื่นเต้นอยากเจอลูกน้อย ให้คุณแม่เลือกไปโพสต์ได้เลย

รวมแคปชั่นคนท้องตื่นเต้นอยากเจอลูกน้อย ให้คุณแม่เลือกไปโพสต์ได้เลย

แคปชั่นคนท้อง คำคมคนท้องน่ารักสำหรับคุณแม่ที่ตื่นเต้นและเฝ้ารออยากจะเจอเจ้าตัวเล็ก มีทั้งแคปชั่นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้คุณแม่มาเลือกไปโพสต์ลงโซเชียลได้เลย

รวมแคปชั่นลูกคือทุกอย่าง แคปชั่นรักลูก บอกรักลูกสุดซึ้ง

รวมแคปชั่นลูกคือทุกอย่าง แคปชั่นรักลูก บอกรักลูกสุดซึ้ง

แคปชั่นลูกคือทุกอย่าง แคปชั่นรักลูก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คิดชื่อแคปชั่นเกี่ยวกับลูกไม่ออก ลองมาเลือกในแคปชั่นลูกคือทุกอย่าง ที่เรารวบรวมเอาไว้ให้แล้วได้เลย

รวมแคปชั่นลูกชาย สำหรับแม่ ๆ สายโซเชียล อวดลูกชายให้โลกรู้กันไปเลย

รวมแคปชั่นลูกชาย สำหรับแม่ ๆ สายโซเชียล อวดลูกชายให้โลกรู้กันไปเลย

ไอเดียแคปชั่นลูกชาย แคปชั่นอวดลูกชาย สำหรับพ่อแม่สายโซเชียล ที่ยังคิดแคปชั่นสำหรับลูกชายตัวแสบไม่ออก ไปดูไอเดียแคปชั่นลูกชายสุดน่ารัก พร้อมอวดให้โลกรู้กัน

ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายที่พ่อแม่ควรรู้

ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายที่พ่อแม่ควรรู้

ท่านั่ง w-sitting ท่านั่งยอดฮิตในเด็กเล็ก เพราะเป็นท่าที่นั่งสบาย แต่เป็นเรื่องอันตรายมากกว่าที่คิด คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูกันว่าทำไมท่านั่ง w-sitting ถึงไม่ดีกับลูก