ลูกอุจจาระแข็งทําไงดี ลูกถ่ายแข็งเป็นก้อน พร้อมวิธีดูแล

ลูกอุจจาระแข็งทําไงดี ลูกถ่ายแข็งเป็นก้อน พร้อมวิธีดูแล

09.03.2020

ภาวะการถ่ายแข็ง ถ่ายไม่ออก ท้องผูก เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็กทารก เพราะระบบย่อยอาหารยังไม่แข็งแรงเมื่อเทียบกับวัยผู้ใหญ่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรงอะไรนัก แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า หากปล่อยให้ลูกถ่ายแข็งต่อไปเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในอนาคตได้

 

headphones

PLAYING: ลูกอุจจาระแข็งทําไงดี ลูกถ่ายแข็งเป็นก้อน พร้อมวิธีดูแล

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ปัญหาลูกถ่ายแข็งเป็นก้อน ทารกถ่ายแข็ง อุจจาระแข็ง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารก เพราะการทำงานของระบบย่อยอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่
  • เด็กที่กินนมแม่จะขับถ่ายได้ดีเพราะนมแม่ย่อยง่าย ช่วยให้ลูกขับถ่ายง่าย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะท้องผูกในทารกได้ดีกว่าเด็กที่กินนมผง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

รู้จักอาการลูกถ่ายแข็ง คืออะไร

ลูกอุจจาระแข็งทําไงดี ปัญหาทารกถ่ายแข็ง คืออุจจาระที่ลูกถ่ายออกมามีลักษณะเป็นก้อนแข็ง แห้ง อาจเป็นเม็ดกระสุนหรือถ่ายก้อนใหญ่ โดยเด็กต้องออกแรงเบ่งมากกว่าปกติ และหลายครั้งก็มีอาการเจ็บปวดขณะขับถ่ายร่วมด้วย ซึ่งลักษณะอุจจาระแข็งนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยของคุณอาจเข้าข่ายโรคท้องผูกได้

 

ทารกขับถ่ายอย่างไร ธรรมชาติการขับถ่ายของทารก

ความถี่ในการขับถ่ายของทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับถ่ายและการให้นม ณ ช่วงเวลานั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กทารกที่กินนมแม่จะขับถ่ายมากถึง 5-10 ครั้งต่อวัน ลักษณะของอุจจาระจะนิ่ม และเป็นสีเหลืองทอง ในขณะที่เด็กกินนมผงจะขับถ่ายน้อยกว่าและอุจจาระจะมีลักษณะแข็งมากกว่า และเมื่อทารกเริ่มโตขึ้น หลัง 6 สัปดาห์ขึ้นไป ลำไส้เริ่มดูดซึมได้ดีขึ้น ความถี่ในการขับถ่ายก็จะค่อย ๆ ลดลงตามกลไกการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายที่พัฒนาขึ้น

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกถ่ายแข็ง

สาเหตุที่ทำให้ลูกถ่ายแข็งเป็นก้อน หรืออุจจาระแข็งนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และแตกต่างกันออกไป เช่น

  • เกิดจากความผิดปกติของลำไส้หรือระบบขับถ่ายของลูก
  • มีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่ถูกต้อง เช่น การฝึกให้ลูกนั่งกระโถนเร็วเกินไป
  • เกิดจากภาวะแพ้นมวัวในทารก
  • อาจมีพฤติกรรมการอั้นอุจจาระจากการกลัวเจ็บขณะขับถ่ายเข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วย

 

อาการไหนบ้างที่อาจแสดงว่าลูกถ่ายแข็ง

  • ลูกมีอุจจาระแข็ง แห้ง หรือเป็นเม็ดแข็งเล็ก ๆ คล้ายลูกกระสุน
  • ขับถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่งขณะขับถ่ายมากกว่าปกติ และมีอาการเจ็บปวดบริเวณทวารร่วมด้วย
  • ขับถ่ายน้อยกว่าปกติ แม้ความถี่ในการขับถ่ายของทารกแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่หากน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ให้พึงระวังไว้ก่อนว่าลูกของคุณอาจเข้าข่ายภาวะท้องผูกได้
  • บางครั้งมีเลือดออกมากับอุจจาระ เนื่องจากอุจจาระมีลักษณะแข็งมากจนทำให้รูทวารหนักเป็นแผลฉีกขาด
  • เพราะร่างกายไม่ได้ขับถ่ายของเสียเดิมออกมาจึงทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายท้อง และกินอาหารได้น้อยลง
  • ท้องมีลักษณะตึง แข็ง และแน่นท้อง

 

อาการไหนบ้างที่อาจแสดงว่าลูกถ่ายแข็ง ทารกถ่ายแข็ง

 

อาการไหนบ้างที่อาจแสดงว่าลูกถ่ายแข็ง ทารกถ่ายแข็ง

วิธีช่วยลูกถ่ายยาก ทารกถ่ายแข็ง ให้ลูกน้อยถ่ายได้ง่ายขึ้น

1. นมแม่ดีที่สุด

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า นมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติหยดแรก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ที่มีประโยชน์ เช่น

  • สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อกลไกการทำงานของสมอง ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดี เรียนรู้ได้เร็ว 
  • B. lactis จุลินทรีย์สุขภาพที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันในช่วงแรกของชีวิตลูกน้อย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย

 

นอกจากนี้นมแม่ยังดีต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของทารก เพราะย่อยง่าย ทำให้ลูกขับถ่ายง่าย อุจจาระนิ่ม ลดความเสี่ยงที่ทำให้ลูกถ่ายแข็ง ถ่ายยาก หรือท้องผูก ได้ดีกว่าเด็กที่กินนมผง

 

2. ชงนมตามสัดส่วนที่แนะนำ

แม้น้ำนมแม่จะช่วยลดการเกิดปัญหาลูกถ่ายแข็งได้ดีกว่า แต่หากบ้านไหนมีความจำเป็นต้องให้ลูกกินนมผงสำหรับเด็ก คุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำบนกล่องผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด เลือกชงนมให้ลูกในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อลดอาการท้องอืดและท้องผูกให้กับลูกน้อย

 

3. เสริมด้วยน้ำ ผัก ผลไม้ ตามความเหมาะสม

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นและสามารถกินอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่ได้แล้ว คุณแม่สามารถเลือกเสริมผัก ผลไม้ และดื่มน้ำได้ ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัยของลูก เพื่อช่วยให้พวกเค้าสามารถขับถ่ายได้ดีขึ้น ลดโอกาสเกิดภาวะท้องผูกและอุจจาระแข็ง

 

ข้อควรระวังเมื่อทารกไม่ถ่าย หรือลูกถ่ายแข็ง

คุณแม่ทุกบ้านควรระมัดระวังไว้อีกอย่างหนึ่งว่า หากลูกถ่ายแข็งเป็นก้อน ควรงดการกระตุ้นการอุจจาระหรือการสวนทวารโดยใช้แท่งสวนมากเกินความจำเป็น เพราะการสวนทวารอาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักของลูกเจ็บและมีแผล รวมถึงทำให้เด็กบางคนยิ่งกลัวการขับถ่าย ส่งผลกระทบต่อจิตใจจนอาจเกิดการต่อต้านและนำไปสู่พฤติกรรมการกลั้นอุจจาระ เพราะไม่กล้าขับถ่ายได้ในที่สุด

 

หากพบว่าลูกน้อยมีปัญหาท้องผูก ลูกถ่ายแข็ง ทารกถ่ายแข็ง ควรดูแลใส่ใจ ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยเอาไว้จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกในอนาคตอีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง

  1. ลูกชอบอั้น แม่ชอบสวน, โรงพยาบาลมิติเวช
  2. How Often, How Much, What Color: Your Newborn Poop and Pee Questions Answered
  3. ‘ท้องผูกในเด็ก’ ปัญหาเรื้อรัง…ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลไทยนครินทร์ 
  4. ลูกกินนมแม่แล้วถ่ายบ่อย, มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 
  5. เด็กท้องผูก นอกจากเสียสุขภาพร่างกายแล้วยังส่งผลถึงสภาพจิตใจ, โรงพยาบาลสมิติเวช 
  6. Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72. 
  7. Floch MH, et. al. J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73.  
  8. Constipation: Causes, Symptoms, and Treatment (webmd.com)

อ้างอิง ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

 

บทความแนะนำ

ลูกอุจจาระสีเขียวอันตรายไหม อึทารกสีเขียวบ่งบอกอะไรได้บ้าง

ลูกอุจจาระสีเขียวอันตรายไหม อึทารกสีเขียวบ่งบอกอะไรได้บ้าง

อุจจาระสีเขียวอันตรายไหม อึทารกสีเขียวเกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอุจจาระสีเขียวขี้ม้าเหม็น มีวิธีรักษาอย่างไร บ่งบอกอาการของโรคอะไรได้บ้าง ไปดูวิธีรับมือที่ถูกต้องกัน

วิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย สำหรับลูกน้อยที่ท้องผูก ไม่ยอมถ่ายหลายวัน

วิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย สำหรับลูกน้อยที่ท้องผูก ไม่ยอมถ่ายหลายวัน

ลูกท้องอืดไม่ถ่ายทำไงดี รวมวิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ดูแลอาการทารกท้องอืดช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกรู้สึกไม่สบายท้อง

สีอุจจาระทารก ลักษณะอุจจาระทารกปกติแบบไหนที่แม่ควรสังเกต

สีอุจจาระทารก ลักษณะอุจจาระทารกปกติแบบไหนที่แม่ควรสังเกต

สีอุจจาระทารก ลักษณะอุจจาระทารกปกติเป็นแบบไหน ทารกถ่ายเหลวสีเหลืองอันตรายไหม สีอุจจาระทารกแบบไหนหมายถึงลูกมีสุขภาพดี แบบไหนเรียกผิดปกติ ไปดูกัน

ทารกท้องเสีย อุจจาระทารกท้องเสีย มีลักษณะอย่างไร อันตรายไหม

ทารกท้องเสีย อุจจาระทารกท้องเสีย มีลักษณะอย่างไร อันตรายไหม

ทารกท้องเสีย ทารกถ่ายเหลว เกิดจากอะไร อุจจาระทารกท้องเสียมีลักษณะเป็นแบบไหน คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ทารกท้องเสียแบบไหน ที่คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์