ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง นอนนานแค่ไหนถึงดี

ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง นอนนานแค่ไหนถึงดี

15.06.2020

การนอนของทารก เป็นอีกหนึ่งกิจวัตรที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กทารก ซึ่งในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อยก็จะมีชั่วโมงของการนอนหลับที่เพียงพอแตกต่างกันไป ในวันนี้เราอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มารู้จัก และเช็กตารางการนอนของทารก 0-1 ปี มาดูกันว่าควรให้เด็กทารกนอนหลับเป็นเวลาเท่าไรจึงจะดี และช่วยให้ลูกรักเติบโตอย่างเต็มที่

headphones

PLAYING: ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง นอนนานแค่ไหนถึงดี

อ่าน 9 นาที

 

สรุป

  • การนอนหลับ เป็นกิจวัตรที่สำคัญต่อเด็กวัยทารกเป็นอย่างมาก เพราะการนอนนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก 
  • เด็กทารกอายุ 0-1 ปี จะมีชั่วโมงในการนอนต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 12-16 ชั่วโมงเลยทีเดียว โดยจะแบ่งออกเป็น การนอนหลับในช่วงกลางวัน และการนอนหลับในช่วงเวลากลางคืน
  • การฝึกลูกให้นอนเป็นเวลานั้น สามารถเริ่มทำได้ และควรเริ่ม ตั้งแต่ลูกมีอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป เพราะเป็นช่วงวัยที่ลูกเริ่มที่จะมีพฤติกรรมการนอนที่เป็นรูปแบบมากขึ้นแล้ว

 

การนอนสำคัญอย่างไร ทำไมถึงควรให้ลูกนอนหลับเพียงพอตามตารางการนอนของทารก

การนอนหลับเป็นหนึ่งในกิจวัตรหลักที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน และยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีกสำหรับเด็กทารก เพราะเป็นช่วงวัยที่กำลังเติบโต และควรที่จะนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละช่วงวัย เพราะการนอนหลับที่เพียงพอของทารก จะทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง สมวัย ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในรอบด้าน ทั้งการเติบโตของร่างกาย และภูมิคุ้มกันของลูก

 

ตารางเวลานอน ของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ปีแรก

อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าการนอนของทารกนั้น จะมีชั่วโมงในการนอนหลับแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ซึ่งเราได้จัดทำออกมาเป็นตารางเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าใจได้ง่าย ดังนี้

 

ตารางการนอนของทารกวัย 0-1 ปี

อายุ

ชั่วโมงการนอนต่อวัน

ชั่วโมงการนอนในตอนกลางคืน

ชั่วโมงการนอนในตอนกลางวัน

ชั่วโมงที่ควรนอนต่อวัน

แรกเกิด

16 ชั่วโมง 8 – 9 ชั่วโมง 8 ชั่วโมง 16-18

1 เดือน 

15.5 ชั่วโมง 8 – 9 ชั่วโมง 7 ชั่วโมง 15-16

3 เดือน 

15 ชั่วโมง 9 – 10 ชั่วโมง 4 – 5 ชั่วโมง 15 

6 เดือน 

14 ชั่วโมง 10 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง 14-15

9 เดือน 

14 ชั่วโมง 11 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 15-16

1 ปี 

14 ชั่วโมง 11 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 15-16

 

ทารกควรนอนกี่ชั่วโมง

ชั่วโมงการนอนของทารกนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 14 – 16 ชั่วโมงต่อวัน และจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ซึ่งพ่อแม่จะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ในช่วงแรกเกิดนั้น ลูกน้อยจะใช้เวลาในการนอนตลอดทั้งวัน หลับ ๆ ตื่น ๆ เป็นระยะ ๆ ตามแต่ว่าทารกหิวนมเมื่อไร หรือมีการขับถ่ายก็จะตื่นขึ้นมาร้องไห้งอแงบ้าง หลังจากเสร็จกิจก็จะผลอยหลับไปนั่นเอง  

 

แบ่งการนอนอย่างไร

ชั่วโมงการนอนของทารกแม้จะฟังดูเยอะมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกจะหลับต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานถึง 16 ชั่วโมงรวด แต่ทารกนั้นจะมีการแบ่งช่วงเวลาในการนอนเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ การนอนหลับในตอนกลางคืน และการนอนหลับในช่วงกลางวัน หรือระหว่างวันนั่นเอง ซึ่งชั่วโมงการนอนในแต่ละช่วงเวลาของลูกก็จะแตกต่างไปตามช่วงวัย ในช่วงแรกเกิดนั้นก็จะมีการนอนหลับในทั้ง 2 ช่วงเวลาในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้น ก็จะค่อย ๆ ขยับไปนอนหลับในช่วงกลางคืนมากขึ้น และลืมตาตื่นมาเรียนรู้ เล่น และทำสิ่งต่าง ๆ ในช่วงเวลากลางวันมากขึ้นเช่นกัน

 

1. ตารางการนอนของเด็กแรกเกิด – 6 สัปดาห์แรก

ในช่วงอายุแรกเกิด ประมาณ 6 สัปดาห์ หรือประมาณ 1 เดือนครึ่งหลังจากลูกได้ออกมาอยู่ในอ้อมอกคุณแม่แล้ว ในช่วงนี้ลูกจะนอนไม่เป็นเวลานัก ไม่มีระยะเวลาที่ตายตัว สามารถนอนได้นานทั้งช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน โดยลูกจะมีเวลานอนเฉลี่ยแล้วประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

 

2. ตารางการนอนของเด็กอายุ 2 เดือน

สำหรับเด็กวัย 2 เดือน ก็ยังคงใช้เวลาไปกับการนอนเยอะเช่นเคย โดยลูกน้อยควรนอนให้ได้เป็นเวลาประมาณ 15.5 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น นอนตอนกลางวัน 4-8 ชั่วโมง และนอนตอนกลางคืนอีก 8 ชั่วโมง

 

3. ตารางการนอนของเด็กอายุ 3 เดือน

ลูกวัย 3 เดือนควรนอนหลับให้ได้เป็นเวลาประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็น นอนกลางวัน 4 – 5 ชั่วโมง และนอนหลับตอนกลางคืน 9-10 ชั่วโมง

 

4. ตารางการนอนของเด็กอายุ 6 เดือน

ในช่วงวัยนี้ ลูกจะมีระยะเวลาในการนอนเฉลี่ยอยู่ที่ 14 ชั่วโมงต่อวัน แบ่งออกเป็นนอนตอนกลางคืน 10 ชั่วโมง และนอนในตอนกลางวัน 4 ชั่วโมง โดยประมาณ

 

5. ตารางการนอนของเด็กอายุ 9 - 12 เดือน

ในวัยนี้ ลูกควรจะได้นอนเป็นเวลา 14 ชั่วโมงต่อวันเช่นกัน แต่จะแบ่งออกเป็น นอนตอนกลางวัน 3 ชั่วโมง และนอนตอนกลางคืน 11 ชั่วโมง

 

ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ในแต่ละวันการนอนของทารกเป็นอย่างไร

 

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มฝึกลูกน้อยให้นอนหลับเป็นเวลาเมื่อไหร่ดี

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนน่าจะอยากฝึกให้ลูกนอนหลับเป็นเวลาให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการต้องตื่นตามลูกในช่วงหลังคลอด ไม่น่าจะใช่เรื่องที่สนุกสักเท่าไรนัก เพราะเด็กนอนและตื่นไม่เป็นเวลาตลอดทั้งวัน เพราะในช่วงแรกครึ่งหนึ่งของการนอนหลับของทารกนั้นจะเป็น การนอนหลับแบบที่มีการกรอกลูกตาแบบเร็ว หรือที่เรียกว่า REM Sleep และจะมีพฤติกรรมการนอนหลับที่มีรูปแบบที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงอายุ 6 เดือน และนั่นคือช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถเริ่มฝึกการนอนเป็นเวลาให้แก่ลูกได้

 

เริ่มฝึกให้ลูกน้อยแรกเกิดเริ่มนอนเป็นเวลายังไงดี

การฝึกลูกน้อยให้เริ่มนอนเป็นเวลานั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มได้ด้วยวิธีดังนี้

  • ให้ลูกสงบช่วง 10-30 นาทีก่อนนอน จะช่วยให้ลูกหลับง่ายกว่าการชวนลูกทำกิจกรรมโลดโผน เช่น ชวนเล่น ทำให้รู้สึกตื่นเต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นจะทำให้ลูกตื่นตัว และเตรียมตัวเข้านอนค่อนข้างนาน แนะนำให้หากิจกรรมที่ชวนผ่อนคลาย สงบ จะทำให้ลูกหลับได้ไวกว่า เช่น การอ่านนิทานให้ลูกฟัง เป็นต้น
  • เริ่มฝึกให้ลูกนอนตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้ลูกเริ่มนอนเป็นเวลามากขึ้นตั้งแต่ช่วงที่สามารถเริ่มฝึกเขาได้ นั่นก็คือช่วงอายุ 4 – 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การนอนของลูกจะมีรูปแบบที่ชัดเจน เป็นกิจวัตรมากขึ้นแล้ว
  • กำหนดเวลานอนที่ชัดเจน เพื่อให้ลูกคุ้นชินกับการนอนเป็นเวลา
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกกินขนมก่อนนอน แม้เด็กจะไม่ได้กินกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนแบบผู้ใหญ่ แต่ขนมบางอย่างเช่น ช็อกโกแลตก็มีส่วนผสมของคาเฟอีน ซึ่งเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไปที่สามารถกินอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่แล้ว ก็อาจจะกินเข้าไปแล้วทำให้หลับได้ยาก

 

ตารางการนอนของทารกในขวบปีแรก ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง

 

แนะนำวิธีพาลูกน้อยเข้านอน หลับยาว นอนอิ่ม

การจะให้ลูกหลับยาวอย่างมีคุณภาพ นอนหลับเต็มอิ่มในทุกวัน มีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังนี้

  • ไม่ให้ลูกหิว หรืออิ่มเกินไปก่อนนอน โดยคุณแม่อาจเตรียมนมแก้วเล็ก ๆ ให้ลูกดื่มก่อนนอน ไม่แนะนำให้รับประทานมื้อหนัก เพราะท้องที่แน่นเกินไปจะทำให้นอนไม่หลับ
  • ห้องนอนควรมืดและสงบ เพื่อให้ลูกสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าลูกน้อยกลัวความมืด อาจเปิดไฟสลัว ๆ ไว้ให้ลูกไม่รู้สึกกลัวได้
  • ห้องนอนต้องไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ควรปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ ให้ลูกหลับสบายตลอดคืน ไม่ตื่นเพราะว่าร้อนหรือหนาว
  • ไม่ให้ลูกดูโทรทัศน์ก่อนนอน เพราะอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ต้องดูโทรทัศน์ก่อนนอนถึงจะหลับได้ 
  • ไม่ทำโทษลูก ห้ามทำให้ลูกรู้สึกว่าการนอนเป็นสิ่งที่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ หากไม่ทำตามจะโดนลงโทษ ควรให้ลูกได้รับรู้ว่าการนอนหลับคือช่วงเวลาแห่งความสุข

 

ลูกไม่ยอมนอนในลักษณะนี้ คุณพ่อคุณแม่ ควรปรึกษาแพทย์

แม้ลูกน้อยวัยทารกจะมีการนอนที่อาจดูไม่เป็นเวลาเท่าไรนัก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกให้ดี อย่าลืมว่าทารกนั้นยังพูดไม่ได้ ไม่สามารถสื่อสารเพื่อบอกความต้องการออกมาให้เราเข้าใจผ่านคำพูดได้ ดังนั้นหากลูกมีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากสาเหตุ หรือมีความผิดปกติระหว่างหลับ เช่น ร้องตกใจในตอนกลางคืนมากผิดปกติ หรือมีปัญหาเรื่องการหายใจในขณะนอนหลับ ควรพาไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และรับการรักษาที่เหมาะสม

 

เพราะการนอนคือเรื่องสำคัญของทารก เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจ และควรให้ความร่วมมือกับการฝึกลูกให้มีกิจวัตร และมีพฤติกรรมการนอนหลับเป็นเวลา เพื่อให้ลูกรักได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีพัฒนาการที่ดี และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

 

 

อ้างอิง:

  • การนอนในวัยต่างๆ, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • อยากให้ลูกนอนเป็นเวลา, โรงพยาบาลเปาโล
  • เมื่อหนูไม่ยอมนอน, Bangkok Health Research Center
  • นิทราวิทยาในเด็ก (Sleep Science in Children), ศูนย์ศรีพัฒน์
  • นอนหลับกี่ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (bumrungrad.com)
  • Infant Sleep, Stanford Medicine Children's Health

อ้างอิง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566

บทความแนะนำ

11 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

11 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

การเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน อาจดูเป็นเรื่องยากสำหรับคุณแม่ ไปดูวิธีการดูแลทารกแรกเกิดและวิธีเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นกัน

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้าง รวมทุกคำตอบที่ควรรู้

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้าง รวมทุกคำตอบที่ควรรู้

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดต้องมีอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องเดินทางไปแจ้งเกิดลูกน้อย รวมทุกคำตอบเกี่ยวกับเอกสารแจ้งเกิดที่ควรรู้

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว โพสอวดลูกสาวได้ไม่ซ้ำวัน แคปชั่นลูกสาวโดนใจ ให้คุณแม่เลือกใช้ได้ง่าย ๆ แคปชั่นรักลูกสาวบอกรักลูก ช่วยเรียกเสียงหัวเราะในโซเชียลให้ลูกรัก

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 11 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 11 เดือนและเสริมพัฒนาการเด็ก 11 เดือน ได้อย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน ทารก 10 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน ทารก 10 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 10 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 10 เดือนและเสริมพัฒนาการเด็ก 10 เดือน ได้อย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 ปี พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย

พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 ปี พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย

พัฒนาการทารกแรกเกิดจนถึง 1 ปี ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยได้อย่างไร กิจกรรมเสริมพัฒนาทารกให้สมวัย มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 9 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 9 เดือนและเสริมพัฒนาการเด็ก 9 เดือน ได้อย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ