หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรดูแลแผลดังนี้
1
แผลผ่าตัดหลังคลอดเป็นแผลที่สะอาด หากมีการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำแล้ว คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเปิดล้างแผลยกเว้น มีการซึมของแผล สิ่งที่ต้องระวังคือ ภาวะแผลอักเสบติดเชื้อ ดังนั้น ควรระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ในระหว่างนี้แนะนำคุณแม่อาบน้ำฝักบัวแทนการแช่น้ำในอ่าง ดูแลแผลอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ และหากมีไข้ ปวด แผลบวมแดง ควรรีบไป พบแพทย์
2
หลังจากเปิดแผลแล้ว ก็ยังคงต้องเอาใจใส่ดูแลแผลต่อ เนื่องจากกระบวนการซ่อมแซมผิวยังคงดำเนินต่อไปอีกประมาณ 3-6 เดือน ดังนั้นในระหว่างนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยงการยกของหนัก, การขยับยืดตัวหรืออยู่ในท่าที่ทำให้แผลยืดจนรู้สึกตึงเกินไป
3
การใช้ซิลิโคนเจลเป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันและรักษาแผลเป็นนูน คีลอยด์ที่สามารถทำได้เองไม่ยากในระยะเริ่มแรก โดยกลไก คือ ซิลิโคนเจลจะช่วยเพิ่มความชื้น ลดการระเหยน้ำจากแผลเป็น คีลอยด์ ช่วยลดการทำงานของไฟโบรบลาส และลดการสร้าง คอลลาเจนที่ผิดปกติ โดยอาจเลือกใช้เป็นซิลิโคนเจลแผ่นแปะ ซึ่งควรแปะแผ่นซิลิโคนเจลต่อเนื่องอย่างน้อยวันละ 12 ชั่วโมง นานอย่างน้อย 6-12 เดือน และถ้าเป็นในรูปแบบเจลทา ให้เริ่มทา ตั้งแต่ตอนที่แผลแห้งและปิดสนิทมีสีชมพู ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ปาดครั้งเดียว ไม่ต้องถูไปมา หลังทาแล้วเจลจะแห้งเหมือนฟิล์มบาง ๆ เคลือบผิวไว้
หลังทาแล้วควรปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 3-5 นาที ก่อนใส่เสื้อผ้าทับ เพื่อป้องกันการลอกหลุดของเจล และหากเวลารีบด่วนอาจ ใช้ไดร์หรือพัดลมเป่าช่วยแห้งเร็วขึ้นได้
หลังทาแล้วควรปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 3-5 นาที ก่อนใส่เสื้อผ้าทับ เพื่อป้องกันการลอกหลุดของเจล และหากเวลารีบด่วนอาจ ใช้ไดร์หรือพัดลมเป่าช่วยแห้งเร็วขึ้นได้
4
การนวดแผลเป็นด้วยมอยซ์เจอไรเซอร์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วย เพิ่มความชุ่มชื้น แผลนุ่มและแบนราบได้เร็วขึ้น
5
หลีกเลี่ยงไม่ให้บริเวณแผลผ่าตัดถูกแสงแดด
6
หลีกเลี่ยงการถูหรือสัมผัสบริเวณแผล และใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น เพื่อลดการเสียดสีบริเวณแผล
7
รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ โภชนาการเพียงพอ เพื่อให้กระบวนการซ่อมแซมแผลเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็ว
8
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้แผลหายช้าได้
หากปฏิบัติตัวตามนี้แล้วประมาณ 3-6 เดือน แนวโน้มแผลเป็น คีลอยด์เป็นมากขึ้น แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปรับ การรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมตามความเหมาะสม อย่าลืมว่าโอกาสเกิดแผลเป็นคีลอยด์และการตอบสนองต่อการรักษาของผิวแต่ละ บุคคลนั้นแตกต่างกัน
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ที่ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การดูแลแผลอย่างถูกวิธีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3-6 เดือนแรก หลังเกิดแผล จึงเป็นสิ่งสำคัญจะที่ช่วยลดโอกาสการเกิดแผลเป็น คีลอยด์ในอนาคตได้
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ที่ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การดูแลแผลอย่างถูกวิธีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3-6 เดือนแรก หลังเกิดแผล จึงเป็นสิ่งสำคัญจะที่ช่วยลดโอกาสการเกิดแผลเป็น คีลอยด์ในอนาคตได้
